บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซี ประจำวันที่ 11 - 15 กุมภาพันธ์ 2019

อันดับแรกเป็นการรีวิวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา:

  • EUR/USD หนึ่งในสถานการณ์ที่พัฒนาขึ้นซึ่งเป็นที่คาดการณ์โดยผู้เชี่ยวชาญเพียง 30% ชี้ให้เห็นว่าราคาน่าจะปรับตัวลงมาที่กรอบด้านล่างของช่องด้านข้างระยะกลาง 1.1300-1.1500 และนี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง: ราคาถอยลงมาประมาณ 130 จุด และปิดที่จุดต่ำสุดของสัปดาห์ที่ระดับ 1.1320
    สาเหตุที่ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและส่งผลให้ราคาคู่นี้ปรับตัวลดลง คือ ปัจจัยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากทัศนคติแง่ลบต่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และสถานการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในยูโรโซนที่ดูไม่สู้ดีนัก ดังนั้น เมื่อพูดถึง “ความเสี่ยงที่สำคัญ” คณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้ปรับลดคำทำนายอัตราการเติบโตของ GDP จาก 1.9% เป็น 1.3% ในปี 2019 และจาก 1.7% เป็น 1.6% ในปี 2020 การปรับตัวเลขดังกล่าวส่งผลเป็นแรงกดดันอย่างยิ่งต่อค่าเงินยูโร ซึ่งช่วยให้ตลาดเข้าใจว่าไม่ควรคาดการณ์การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
  • GBP/USD พร้อมกันกับคณะกรรมาธิการยุโรป ธนาคารกลางยุโรปก็ได้ประกาศว่าคำทำนายก่อนหน้านี้นั้นเป็นคำทำนายที่ดีเกินความเป็นจริง และการขาดความชัดเจนในประเด็น Brexit ส่งผลเป็นภาระต่อเศรษฐกิจประเทศ ผู้เชี่ยวชาญของธนาคารคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตจะต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี ดังนั้น คำทำนายตัวเลข GDP ของสหราชอาณาจักรสำหรับปี 2019 จึงถูกปรับลดลงจาก 1.7% เป็น 1.2%
    ค่าเงินปอนด์อ่อนตัวลงท่ามกลางข่าวเชิงลบต่างๆ ตามที่ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 65% ได้คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ราคาขยับมาที่ี 1.2850 จากนั้นจึงปรับตัวขึ้นเล็กน้อยตามบทความเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในความคืบหน้าการเจรจาประเด็นการแยกตัวออกจากอียูของ Brexit และเงื่อนไขพิเศษสำหรับไอร์แลนด์ จากนั้นราคาก็ถอยตัวลงอีกครั้งและปิดตลาดห้าวันทำการที่ 1.2940
  • USD/JPY นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ (70%) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยการวิเคราะห์กราฟในกรอบ D1 ได้คาดการณ์การผันผวนของราคาอย่างรุนแรงและการลดตัวของราคาลงมาที่โซน 108.00-108.55 หลังจากนั้นราคาน่าจะกลับมาที่ระดับ 110.00 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์จริงกลับตรงกันข้ามกับคำทำนาย โดยราคาได้เคลื่อนที่อย่างนิ่งสงบและช่วงการเคลื่อนที่อยู่ไม่เกิน 60 จุด เป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกันที่ราคากลับมายังโซน 109.55-110.0 และครั้งนี้อีกครั้งที่ราคาเริ่มต้นที่ 109.55 และปิดที่ระดับ 109.75
  • คริปโตเคอเรนซี เราแบ่งผู้เชี่ยวชาญออกเป็นสองกลุ่มในสัปดาห์ที่แล้ว กลุ่มแรกคือผู้ที่เชื่อว่าความสงบนิ่งในปัจจุบันคือภาวะนิ่งสงบก่อนพายุจะเกิดขึ้น ในขณะที่กลุ่มที่สองเชื่อว่าจะเป็นความนิ่งสงบก่อนความเงียบสงัดยิ่งกว่าเดิม โดยตลอดทั้งสัปดาห์ ราคาบิทคอยน์ค่อยๆ ถอยลงมาอย่างต่อเนื่องและขยับถึงระดับต่ำสุดที่ $3,400 เมื่อวันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากนั้นราคาขยับ “ด้านข้าง” อย่างช้าๆ และในช่วงบ่ายวันศุกร์ ราคาได้ “ดีดตัว” สูงขึ้นกว่า 12% และขยับถึงระดับ $3,800
    หรือนี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของพายุ? หากพิจารณากราฟในกรอบ H1 ก็ดูเหมือนจะใช่ อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างดูไม่ค่อยดีนักในกรอบรายวัน: ราคาได้กลับไปอยู่เส้นหลัก (จุดวกกลับ) ซึ่งเป็นบริเวณที่ราคาเคลื่อนที่มาตลอด 11 สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2018
    สาเหตุการเติบโตของราคาคือบทความที่ลงใน Tweeter ของหนึ่งในผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ SEC นายโรเบิร์ต แจ็คสัน ซึ่งกล่าวว่าคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ อาจยังคงอนุญาตให้มีการจัดตั้งกองทุน Bitcoin-ETF
    ตามมาพร้อมกับบิทคอยน์ (BTC/USD) คริปโตเคอเรนซีสกุลติดอันดับที่เหลือก็มีราคาสูงขึ้นเช่นกัน อัตราการเติบโตสูงสุดเป็นของ Litecoin (LTC/USD) ซึ่งราคาเพิ่มสูงสุดถึง 40% และขยับถึงระดับ $46.0 ในขณะที่ Ethereum ขยับถึงที่ระดับ $124.70 และ Ripple (XRP/USD) ขยับถึง $0.3250

 

สำหรับบทวิเคราะห์ของสัปดาห์นี้ เราได้สรุปความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์มากมาย รวมถึงคำคาดการณ์ที่วิเคราะห์จากพื้นฐานทางเทคนิคและสถิติกราฟต่างๆ โดยเราสามารถสรุปผลวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้:

  • EUR/USD ชัดเจนว่าหลังจากราคาขยับลงทิศใต้มาตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีส่วนใหญ่ให้สัญญาณเป็นสีแดง อย่างไรก็ตาม ออสซิลเลเตอร์ 25% บนทั้งกรอบ H4 และ D1 ให้สัญญาณว่าราคาอยู่ช่วงถูกขายมากเกินไป ซึ่งหมายความว่าอย่างน้อยจะมีการปรับตัวของราคาครั้งใหญ่เกิดขึ้น หรืออาจจะเป็นการกลับตัวของเทรนด์ก็เป็นได้
    การวิเคราะห์กราฟสำหรับห้าวันทำการข้างหน้านี้ชี้ให้เห็นว่าราคาจะขยับด้านข้างในช่วง 1.1285-1.1400 หลังจากนั้น ราคาน่าจะกลับมาที่กรอบด้านบนของช่องระยะกลางในโซน 1.1500 ภายในสิ้นเดือนนี้
    ชุมชนผู้เชี่ยวชาญยังคงไม่ตัดสินใจแน่ชัด: 50% ของผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าราคาจะขยับลดลง อีก 50% คาดการณ์แนวโน้มขาขึ้น ซึ่งเกิดจากการขาดความชัดเจนทั้งในประเด็น Brexit และการเจรจาสหรัฐฯ-จีน นอกจากนี้ เหตุการณ์ในสัปดาห์นี้อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเราควรคำนึงถึงการประกาศข้อมูล GDP ประเทศเยอรมนีและของสหภาพยุโรปในวันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ รวมถึงข้อมูลระดับเงินเฟ้อและการค้าปลีกในสหรัฐฯ ในวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์
    นอกจากนี้ ในวันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์นี้ ตลาดจะมองหาสัญญาณจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟ็ดสหรัฐฯ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ในขณะเดียวกัน การคาดการณ์ภาวะถดถอยในสหรัฐฯ ขยับขึ้นไป 20% และมีความเป็นไปได้ว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอาจถูกเลื่อนออกไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ธนาคารยุโรปและอังกฤษต่างพูดถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งอาจนำไปสู่การใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน
    ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่าสาเหตุนี้ทำให้ควรซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เพราะอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในขณะที่ค่าเงินอ่อนค่าอาจนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น จึงควรให้ความสนใจกับการลงทุนในพอร์ตหุ้นบริษัทที่น่าเชื่อถือและมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีซึ่งให้บริการลูกค้าโดยบริษัทโบรกเกอร์ NordFX
  • GBP/USD ในวันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ จะมีการประกาศข้อมูล GDP และในวันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ จะมีการประกาศข้อมูลระดับเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักร โดยมีแนวโน้มสูงว่าจะมีการพูดถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศตามที่ระบุไว้ข้างต้น ดังนั้น ตามคำทำนายแล้ว การเติบโตของ GDP จะลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าจาก 0.6% เป็น 0.2% แต่เช่นเดียวกันกับหลายเดือนที่ผ่านมา ข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับ Brexit จะมีผลอย่างยิ่งต่ออัตราแลกเปลี่ยนคู่นี้
    มีข่าวลืออีกด้านหนึ่งรายงานว่าบริษัทระหว่างประเทศบางบริษัทกำลังกว้านซื้อค่าเงินปอนด์อังกฤษ ซึ่ง Bloomberg ให้สัญญาณว่าน่าจะเป็นแรงหนุนให้กับค่าเงินปอนด์ได้ส่วนหนึ่ง
    ในขณะนี้ นักวิเคราะห์จำนวน 60% ได้โหวตให้กับการแข็งค่าขึ้นของเงินปอนด์และการขยับขึ้นของราคามาที่ระดับ 1.3040 และจากนั้นขึ้นไปอีก 80-100 จุด ในทางกลับกัน ผู้เชี่ยวชาญอีก 40% ที่เหลือคาดการณ์ว่าราคาจะถอยลงมาที่ระดับ 1.2830 เป็นอย่างน้อย แต่การวิเคราะห์กราฟในกรอบ H4 ดูเป็นกลางมากกว่า โดยระบุว่าราคาน่าจะถอยลงมาก่อนในตอนแรกที่ระดับ 1.2830 และจากนั้นราคาถึงจะขยับขึ้นไปที่ 1.3040
  • USD/JPY สัญญาณที่ครอบคลุมสำหรับคู่นี้เป็นสีเทากลางทั้งจากฝั่งผู้เชี่ยวชาญและดัชนี เป็นการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์สหรัฐต่อสกุลเงินหลักต่างๆ อยู่ด้านหนึ่ง และอีกด้านหนึ่งก็มีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงความตึงเครียดอีกรอบจากการค้าจีน-สหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้ความต้องการถือสกุลเงินลี้ภัยสูงขึ้น อย่างเช่น เงินเยนญี่ปุ่น เป็นต้น โดยราคาคู่นี้ได้ขยับในช่วงแคบๆ ที่ 109.55-110.15 มาตลอดทั้งสัปดาห์ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความไม่แน่นอนในตลาดและยังไม่ช่วยให้เกิดคำทำนายใดๆ ได้ในขณะนี้
  • คริปโตเคอเรนซี การสัมภาษณ์ฉบับเต็มของกรรมการตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ นายโรเบิร์ต แจ็คสัน จะเปิดตัวออกมาในสัปดาห์นี้ และเนื้อหาอาจส่งผลให้ราคาขยับสูงขึ้นหรืออาจจะมีการตอบสนองที่ตรงกันข้าม อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ มีเวลาเกือบ 240 วันในการทำการตัดสินใจสุดท้ายเรื่องการก่อตั้ง กองทุน Bitcoin-ETF และในช่วงระหว่างนี้ยังสามารถมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อีกอยู่เป็นระยะ
    ในระหว่างนี้ ผู้เชี่ยวชาญเรียกการเคลื่อนที่ในช่วง $3,250-3,800 ว่าเป็นระดับหลักของคู่ BTC/USD อย่างไรก็ตาม ยังไม่ตัดโอกาสความเป็นไปได้ที่ราคาอาจตัดผ่านกรอบด้านบนในระยะสั้นนี้และราคาอาจขยับขึ้นถึงระดับ $4,000

 

โรมัน บุทโก, NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้

กลับ กลับ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายคุกกี้ ของเรา