บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซี ประจำวันที่ 18 - 22 กุมภาพันธ์ 2019

อันดับแรกเป็นการรีวิวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา:

  • EUR/USD ในสัปดาห์ที่แล้ว บรรดาผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถให้ความเห็นที่ชัดเจนในการเคลื่อนที่ของราคาคู่นี้ เนื่องจากการขาดความแน่นอนในทั้งประเด็น Brexit และการเจรจาระหว่างจีน-สหรัฐฯ นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ต่างรอคอยการประกาศข้อมูล GDP ของเยอรมนีและสหภาพยุโรป รวมถึงข้อมูลระดับเงินเฟ้อและดัชนีการค้าปลีกในสหรัฐฯ และหากยุโรปมีอัตราการเติบโตตามที่คาดไว้ที่ 1.2% และเยอรมนีที่ 0.2% (จาก -0.2% เป็น 0.0%) ข้อมูลฝั่งสหรัฐฯ จะยิ่งส่งผลให้เกิดความตื่นตระหนักอย่างยิ่งในตลาด ในความเป็นจริง ตัวเลขดัชนีการค้าปลีกลดลงมา 1.2% ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 10 ปี ทำให้ดัชนีฝั่งดอลลาร์ชะลอการเติบโตชั่วคราวและเคลื่อนตัวออกจากระดับสูงสุดในรอบสองเดือน
    ค่าเงินดอลลาร์หยุดเติบโตเทียบกับค่าเงินยูโรเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากเราสรุปผลลัพธ์ตลอดทั้งสัปดาห์ห้าวันทำการที่ผ่านมา ชัยชนะแน่นอนว่ายังคงตกเป็นของฝั่ง “อเมริกัน” โดยราคาเริ่มเปิดตลาดที่ระดับ 1.1320 และปิดที่ระดับ 1.1295
  • GBP/USD ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงมาเป็นเวลาสามสัปดาห์ติดต่อกัน ปัญหาเกี่ยวเนื่องกับประเด็น Brexit ประกอบกับผลดัชนีเศรษฐกิจมหภาคที่มีค่าต่ำที่บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศ อัตราการเติบโตของ GDP ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าจาก 0.6% เป็น 0.2% และดัชนีราคาผู้บริโภคมีตัวเลขลดลง 0.3% ส่งผลให้ราคาคู่นี้ตกมาอยู่ที่จุดต่ำสุดของสัปดาห์ที่ 1.2770 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
    จากนั้นสถิติจากทางฝั่งสหรัฐฯ ได้ประกาศออกมาและส่งผลให้ทิศทางของเทรนด์กลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้น ด้วยเหตุนี้ ค่าเงินปอนด์อังกฤษจึงฟื้นระดับขึ้นมา 115 จุดต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ และปิดที่ 1.2885
  • USD/JPY ค่าเงินเยนญี่ปุ่นอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยขยับถึงระดับ 111.12 เยนต่อดอลลาร์ แต่จากนั้น ท่ามกลางตลาดหุ้นขาลงเนื่องด้วยตัวเลขที่อ่อนค่าจากดัชนีฝั่งสหรัฐฯ และปัญหาการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่มาถึงทางตันอีกครั้ง ส่งผลให้ราคากลับตัวอย่างฉับพลัน ในขณะที่ความต้องการของการลงทุนที่ปลอดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้ส่งผลให้ราคาปรับลดลงมาที่ระดับ 110.25 หลังจากนั้นก็มีการปรับตัวของราคาและปิดที่ 110.45
  • คริปโตเคอเรนซี ในสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อพูดถึงคำถามว่าการที่ราคาบิทคอยน์ดิ่งตัวขึ้นไปที่ $3,800 ถือว่าเป็นสัญญาณของพายุครั้งใหญ่หรือไม่นั้น เราสังเกตเห็นว่าราคาได้กลับมาสู่เส้นแข็งตัว (หรือจุดกลับตัว) ซึ่งได้ขยับอยู่ในช่วงดังกล่าวมาเป็นเวลาตลอด 11 สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2018 และเราก็คิดถูกต้อง ภาวะแข็งตัวยังคงดำเนินต่อไป และราคาได้ขยับอยู่ในช่วงแคบๆ ที่ $3,630-3,750 ตลอดสัปดาห์ที่ 12
    มูลค่ารวมของตลาดคริปโตแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ โดยมูลค่ารวมอยู่ที่ระดับ $121.78 พันล้านดอลลาร์เมื่อวันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ และเจ็ดวันต่อมา มูลค่ารวมอยู่ที่ $120.16 พันล้าน สำหรับอัลท์คอยน์สกุลหลักมีการเคลื่อนที่ที่ดูตรงกันข้ามกับบิทคอยน์ โดยมีความผันผวนมากกว่าเล็กน้อย เช่น ช่วงความผันผวนของ Litecoin (LTC/USD) อยู่ที่ประมาณ 15% และของ Ripple (XRP/USD) ประมาณ 7%

 

สำหรับบทวิเคราะห์ของสัปดาห์นี้ เราได้สรุปความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์มากมาย รวมถึงคำคาดการณ์ที่วิเคราะห์จากพื้นฐานทางเทคนิคและสถิติกราฟต่างๆ โดยเราสามารถสรุปผลวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้:

  • EUR/USD ในทางหนึ่งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของยุโรปกำลังอยู่ในช่วงที่ไม่ค่อยราบรื่นดีนัก ในอีกทางหนึ่งก็มีภาวะตกต่ำของดัชนีหุ้นและสงครามการค้าของสหรัฐฯ สำหรับ JP Morgan และที่ปรึกษาเศรษฐกิจมหภาคต่างได้ปรับลดการทำนายตัวเลขอัตราการเติบโต GDP ของสหรัฐฯ ในส่วน Merrill Lynch ในสังกัดธนาคารกลางอเมริกา และ Bloomberg ได้ปรับเพิ่มตัวเลขที่ทำนายของยูโรโซน ในความเห็นของพวกเขามองว่า อัตราการเติบโต GDP ในเยอรมนีที่เป็นศูนย์เป็นปัจจัยเพียงชั่วคราว และในกรณีที่สถานการณ์ Brexit คลี่คลายลงและเศรษฐกิจจีนพัฒนาในทางที่ดีขึ้น เยอรมนีและยุโรปทั้งหมดจะกลับมาสู่ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนอีกครั้ง ทั้งหมดนี้ประกอบกับความต้องการของธนาคารเฟ็ดสหรัฐฯ ให้ยุตินโยบายตึงตัวชั่วคราว เป็นเหตุให้เชื่อได้ว่ามาตรการของธนาคารฯ นั้นล่าช้าเกินไป และภาวะถดถอยของสหรัฐฯ ยังอยู่อีกไม่ไกลและความสมดุลนี้จะส่งผลต่อยุโรปโดยตรง ในกรณีนี้ ความกดดันจะเพิ่มขึ้นกับค่าเงินดอลลาร์ในอนาคต
    ส่วนในระหว่างนี้ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 70% ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยดัชนีในกรอบ D1 คาดการณ์ว่าค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น และเส้นเทรนด์ขาลงของ EUR/USD จะดำเนินต่อไป โดยมีเป้าหมายใกล้ที่สุดอยู่ที่ 1.1200 ตามมาด้วยเส้นแนวรับในโซน 1.1085-1.1115
    ความเห็นที่ตรงกันข้ามเป็นของนักวิเคราะห์จำนวน 30% พร้อมด้วยการวิเคราะห์กราฟในกรอบ D1 ที่เชื่อว่าปัญหาในเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะบังคับให้ค่าเงินดอลลาร์สูญเสียตำแหน่งในอนาคตอันใกล้ ในกรณีดังกล่าว ราคาจะกลับไปสู่กรอบจำกัดที่ช่องระยะกลาง 1.1300-11.1500 และจะเร่งตัวไปที่ตรงกลางและจากนั้นต่อไปที่กรอบด้านบน
  • GBP/USD คำทำนายของคู่นี้สำหรับสัปดาห์ที่มาถึงคล้ายคลึงกับคำทำนายของคู่ EUR/USD ในที่นี้ มีผู้เชี่ยวชาญจำนวน 70% ประกอบกับสัญญาณ 90% จากออสซิลเลเตอร์และดัชนีเทรนด์ในกรอบ D1 คาดการณ์ว่าราคาจะปรับตัวลดลง และอีก 30% ประกอบกับการวิเคราะห์กราฟชี้ว่าราคาจะเติบโตขึ้น ในเรื่องการแยกตัวของอังกฤษออกจากอียูยังคงอยู่ในภาวะที่ขาดความแน่ชัดจึงเข้ากันกับคำทำนายแรก ในส่วนคำทำนายที่สองยังคงมีความเกี่ยวเนื่องกับปัญหาสหรัฐฯ ที่ระบุไว้แล้วข้างต้น โดยมีระดับแนวรับที่ 1.2830, 1.2715, 1.2655 และแนวต้านที่ 1.2925, 1.3000 และ 1.3065

  • USD/JPY หากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ดูดีเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโรและเงินปอนด์ แต่ไม่ใช่กับค่าเงินเยนญี่ปุ่น การใช้เงินเยนญี่ปุ่นเป็นสกุลเงินลี้ภัยยังคงดำเนินต่อไปท่ามกลางการทรุดตัวลงของภาวะเศรษฐกิจโลก และความต้องการในความเสี่ยงที่ลดลง
    ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญแบ่งออกเป็นครึ่งต่อครึ่งว่าด้วยอนาคตอันใกล้ของราคาคู่นี้ แต่เมื่อพิจารณาคำทำนายในรอบเดือน มีนักวิเคราะห์จำนวน 65% โหวตให้กับการแข็งค่าขึ้นของเงินเยน โดยมีระดับแนวรับที่ 110.00, 109.60, 109.10, 108.50 และระดับแนวต้านที่ 110.65, 111. 25, 112.30, 113.70
  • คริปโตเคอเรนซี นักวิเคราะห์กล่าวว่าไม่มีปัจจัยสำคัญที่อธิบายการดีดตัวของราคาบิทคอยน์ไปที่ $3,800 ดังนั้น เทรนด์ขาขึ้นนี้ไม่น่าจะพัฒนาตัวอีกต่อไป ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 65% เชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่การเคลื่อนที่ของคู่ BTC/USD จะอยู่ในช่วง 3,500-3,300 โดยจะค่อยๆ ลดลงมาที่ระดับ $3,000 ในขณะที่นักวิเคราะห์จำนวน 35% มีความเห็นในทางตรงกันข้ามและคาดการณ์ว่าราคาจะสามารถขยับถึงที่ระดับ $4,000 ได้อย่างน้อยอยู่สักระยะหนึ่ง

 

โรมัน บุทโก, NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้

กลับ กลับ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายคุกกี้ ของเรา