อันดับแรกเป็นการรีวิวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา:
- EUR/USD เกือบตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาคู่นี้อยู่ที่ระดับเดิมซ้ำๆ ตลอดทั้งสัปดาห์ ทั้งเดือน รวมถึงสองหรือสามเดือนที่ผ่านมา นอกจากการตัดทะลุของราคาในระยะสั้นที่นานๆ จะเกิดขึ้นทีแล้ว ราคาก็ไม่สามารถตัดทะลุช่องระยะกลางที่ 1.1300-1.1500 ได้สำเร็จ หากเราขยายช่องดังกล่าวให้สุด ช่องนี้จะกว้างขึ้นเล็กน้อยโดยอยู่ที่ 1.1215-1.1570.
สิ่งนี้เป็นผลจากการขาดความชัดเจนทั้งในประเด็น Brexit และการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ-จีน กอปรกับความต้องการระงับการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเฟ็ด และอีกด้านหนึ่งก็คือสถิติที่อ่อนแอจากทางฝั่งเศรษฐกิจเยอรมนีและยูโรโซน โดยทันทีที่ค่าเงินดอลลาร์เริ่มแข็งค่าขึ้น ก็ปรากฏข่าวลือจากธนาคารยุโรปเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการเริ่มใช้มาตรการต้านวิกฤติ LTRO (Long Term Refinancing Operation) อีกทั้ง บทความจากนักวิเคราะห์ที่เชื่อถือได้กล่าวว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอยู่ในภาวะถูกซื้อมากเกินไป (overbought) และกำลังมีแนวโน้มว่าเทรนด์จะเข้าข้างกับฝั่งยูโรอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ ค่าเงินดอลลาร์จึงไม่สามารถตัดทะลุผ่านกรอบด้านล่างในสัปดาห์ที่ผ่านมาและปิดตลาดที่ 1.1335 - GBP/USD แม้ว่าจะมีการพูดถึงอย่างไม่หยุดหย่อนเกี่ยวกับสถานการณ์ที่โกลาหรของ Brexit ค่าเงินปอนด์ก็แสดงถึงอัตราการเติบโตที่น่าประทับใจในวันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แม้แต่คำตอบของ Fitch เกี่ยวกับการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอังกฤษก็ไม่ส่งผลใดๆ ต่อตลาดกระทิง ราคาได้ขยับผ่านระดับทางจิตวิทยาที่ 1.3000 และค่าเงินปอนด์ฟื้นสูงขึ้นมาอีก 100 จุด ตามมาด้วยการรีบาวด์ ก่อนที่ราคาจะขยับต่อไปที่ช่วง 1.3000 และปิดที่ 1.3050 ในช่วงเที่ยงคืนวันศุกร์
- USD/JPY ในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญต่างพูดถึงแนวโน้มขาลงของดัชนี SP500 ซึ่งสัมพันธ์กับอัตราแลกเปลี่ยนคู่นี้และส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของเงินเยนญี่ปุ่น ตลอดจนคำถามว่าการเจรจารอบถัดไประหว่างสหรัฐฯ-จีนจะส่งผลต่อค่าเงินญี่ปุ่นอย่างไร? ราคาคู่นี้จะได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มผลตอบแทนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และรัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดอายุ 10 ปี หรือไม่?
เมื่อพิจารณากราฟ USD/JPY เราจะเห็นได้ว่าตลาดมีท่าทีที่เฉื่อยชาต่อการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยทั้งหมดข้างต้น ด้วยมีแรงตลาดกระทิงครอบครองมากกว่าเล็กน้อย ราคาได้รักษาการเคลื่อนที่อยู่ในช่วงแคบๆ ที่ 110.45-110.95 ก่อนที่จะกลับมาอยู่โซนตรงกลางที่ 110.66 ภายในช่วงปลายสัปดาห์ - คริปโตเคอเรนซี ตลาดมีข่าวดีในช่วง 7 วันที่ผ่านมา จากการที่ธนาคาร JPMorgan ซึ่งเป็นหนึ่งในธนาคารแห่งแรกของสหรัฐฯ ได้สร้างและทดสอบเหรียญดิจิทัลเป็นของตนเองอย่างสำเร็จเรียกว่า JPMCoin ซึ่งวางแผนไว้ว่าจะใช้เหรียญนี้ในการทำข้อตกลงร่วมกับสถาบันการเงินขนาดใหญ่ต่างๆ และแม้ว่า JPM Coin จะเป็นเหรียญคู่แข่งกับเงินคริปโต แต่ค่าเงิน Bitcoin ก็ขยับสูงขึ้น นักวิเคราะห์จาก DataLight สรุปผลว่า ราคาบิทคอยน์ที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลให้จำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน และราคากลับมาสู่ราคาของเดือนเมษายนปี 2018
อย่างไรก็ตาม ทัศนคติเชิงบวกไม่ได้หมายความเทรนด์จะกลับตัวอย่างสุดโต่งและตลาดคริปโตจะเริ่มเข้าสู่ภาวะการเติบโตอย่างคงที่อีกครั้ง จริงอยู่ที่ปริมาณเงินหมุนเวียนตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นประมาณ 10% แต่ภายหลังจากที่ราคา BTC ขยับถึงระดับ $4,000 ผู้เล่นหลายคนก็ได้ตัดสินใจถอนกำไรออกมา ส่งผลให้มูลค่ารวมในตลาดลดลง 2% ดังนั้น สถานการณ์ที่ราคา BTC/USD จะแข็งตัวอยู่ที่ $3,700 ยังคงอยู่ในความเป็นไปได้
ทั้งนี้ สัดส่วนของบิทคอยน์ในฐานะ “ผู้นำหลัก” ในตลาดขณะนี้มีมากกว่า 58% สำหรับอัลท์คอยน์สกุลติดอันดับอื่นๆ เริ่มมีแนวโน้มสัดส่วนที่ลดลงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2018 ดังนั้น ส่วนแบ่งของ Ripple (XRP/USD) ในวันนี้อยู่ที่ 11.52%, Ethereum (ETH/USD) ที่ 9%, และ Litecoin (LTC/USD) ที่ 1.51% แต่เป็นที่ “ความเบาบาง” ดังกล่าวช่วยให้ราคามีช่วงความผันผวนที่เป็นพลวัตมากขึ้น ดังนั้น ช่วงความผันผวนของสัปดาห์สำหรับ Ripple จึงอยู่ที่ 25% และ Ethereum ที่ 22% ซึ่งแน่นอนว่าเป็นที่ดึงดูดใจต่อบรรดานักเทรด
สำหรับบทวิเคราะห์ของสัปดาห์นี้ เราได้สรุปความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์มากมาย รวมถึงคำคาดการณ์ที่วิเคราะห์จากพื้นฐานทางเทคนิคและสถิติกราฟต่างๆ โดยเราสามารถสรุปผลวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้:
- EUR/USD ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้เต็มไปด้วยการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคหลักและถ้อยแถลงที่สำคัญไม่แพ้กันจากบรรดานักการเมืองและบุคคลสำคัญในโลกเศรษฐกิจ ดังนั้น ตลาดกำลังรอคอยการกล่าวถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟ็ดสหรัฐฯ ต่อหน้าที่ประชุมสภาคองเกรสในวันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ และหากเขามีท่าทีชัดเจนว่าธนาคารเฟ็ดจะไม่เร่งรีบปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย สิ่งนี้จะส่งผลเป็นแรงกดดันค่อนข้างมากต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม มีนักวิเคราะห์เพียง 30% ที่คาดการณ์ว่าท่าที “ผ่อนคลาย” ดังกล่าวอาจนำไปสู่การเติบโตของราคาไปยังจุดกลับตัวที่ระยะกลางในโซน 1.1400 และจะส่งผลให้ราคาขยับขึ้นต่อไปอีกที่กรอบด้านบนในช่อง 1.1500 ในส่วนผู้เชี่ยวชาญส่วนมาก (70%) กลับมีท่าทีที่ตรงกันข้าม โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจที่กำลังอ่อนตัวของทางฝั่งยุโรปและความโกลาหลในเหตุการณ์ Brexit จะช่วยถ่วงสมดุลเป็นผลดีต่อค่าเงินดอลลาร์ และราคาจะกลับมาสู่จุดต่ำสุดในรอบไม่กี่เดือนที่ผ่านมาในช่วง 1.1215-1.1240 - GBP/USD เหตุการณ์สำคัญที่จะกำหนดเทรนด์ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้คือถ้อยแถลงของนางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ในวันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ และการลงคะแนนเสียงโหวตของรัฐสภาอังกฤษเพื่อพิจารณาข้อตกลงกับอียูในวันอังคาร หากข้อเสนอของเมย์ถูกปฏิเสธอีกครั้ง เธอจะต้องตัดสินใจว่าจะออกจากอียูโดยปราศจากข้อตกลงหรือจะเลื่อน Brexit ออกไปอีก และเมื่อพิจารณาอารมณ์ของตลาดแล้ว นักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าน่าจะเป็นทางเลือกอย่างหลัง (หรือนักเทรดต่างอยากจะเชื่ออย่างนั้น) ไม่ว่าทางเลือกจะเป็นแบบไหน ผู้เชี่ยวชาญ 40% เชื่อว่าค่าเงินปอนด์น่าจะตั้งหลักอยู่ที่ระดับใกล้กับ 1.3000 และอีก 35% เชื่อว่าราคาจะเติบโตขึ้นไปที่ 1.3200 ในขณะที่มีเพียง 25% ของนักวิเคราะห์ทั้งหมดที่โหวตให้กับแนวโน้มขาลงของราคาไปที่โซน 1.2770-1.2830
แรงหนุนเพิ่มเติมสำหรับค่าเงินปอนด์อาจมาจากราคา “น้ำมัน” ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าเงินปอนด์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับราคาน้ำมัน - USD/JPY ค่าเงินเยนญี่ปุ่นหยุดนิ่งและรอคอยพัฒนาการต่างๆ ในตลาด สถิติเศรษฐกิจมหภาคที่แย่ลงจากทางฝั่งสหรัฐฯ และเยอรมนี ซึ่งแทบจะเป็นภาวะถดถอย กอปรกับสงครามทางการค้าของนายทรัมป์กับยุโรปและจีน อัตราการเติบโตของ GDP ที่ชะลอตัวที่สุดของจีนในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา ปัจจัยทั้งหมดนี้ส่งผลให้นักลงทุนมีทัศนคติในแง่ลบเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในอนาคต ดูเหมือนว่าในสถานการณ์ดังกล่าว เริ่มมีความสนใจในการถือค่าเงินเยนเป็นสกุลเงินลี้ภัยเพิ่มมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ปรากฏความต้องการถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงแต่ให้กำไรสูงเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้น ตามข้อมูลของ EPFR เงินทุนไหลเวียนเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนาผ่านกองทุน ETF ในตลาดหลักทรัพย์สูงถึง 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ต้นปีนี้
ในสถานการณ์เช่นนี้ ดัชนีส่วนใหญ่และการวิเคราะห์กราฟในกรอบ D1 เห็นพ้องกันกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 70% โดยโหวตว่าค่าเงินเยนจะอ่อนตัวลดลงและราคาคู่นี้จะขยับขึ้นมาที่ 111.50 และจะไต่ขึ้นไปอีก 100 จุด ในอีกมุมมองหนึ่งเป็นของฝั่งนักวิเคราะห์ 30% ซึ่งเชื่อว่าราคาคู่นี้จะตกลงมาที่โซน 109.60-110.00
- คริปโตเคอเรนซี ภายหลังจากที่ JPMorgan ได้เริ่มเปิดตัวเหรียญดิจิทัล JPM Coin ชุมชนแวดวงคริปโตต่างคาดหวังท่าทีเดียวกันจากบริษัท Facebook, Amazon และบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกต่างๆ แต่ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเรื่องของอนาคตที่ยังมีความคลุมเครือ ในระหว่างนี้ ตลาดเช่น SEC และ CFTC จะต้องดำเนินการหลายขั้นตอนเพื่อให้เกิดระเบียบในตลาดเงินคริปโต
สำหรับเทรนด์ในสัปดาห์ที่จะถึง ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีดังต่อไปนี้: 40% เห็นด้วยกับแนวโน้มขาขึ้นต่อไปของ Bitcoin ที่โซน $4,200-4,400 โดยไม่ตัดโอกาสการขยับสู่ระดับราคาสูงสุดของเดือนพฤศจิกายน 2018 ที่ $4,485 ในขณะที่อีก 35% มองว่าราคาจะขยับด้านข้างที่ช่อง $3,900-4,100 และผู้เชี่ยวชาญที่เหลืออีก 25% คาดการณ์ว่า BTC/USD จะกลับมาสู่โซน $3,500-3,800
โรมัน บุทโก, NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ