บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2019

ช่วงสูงสุดของฤดูพักร้อนใกล้เข้ามาซึ่งมักเป็นช่วงที่ปริมาณกิจกรรมทางธุรกิจลดลง รวมถึงกิจกรรมในตลาดการเงิน ในทางหนึ่ง แนวโน้มความผันผวนที่ลดลงในคู่สกุลเงินหลักซึ่งปกติก็ต่ำอยู่แล้วนั้นจะทำให้ผลกำไรลดลง แต่ในอีกทางหนึ่งก็เป็นการลดโอกาสขาดทุนในกรณีที่ตำแหน่งล้มเหลวเช่นกัน

ในบทวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ หลายครั้งที่เราได้กล่าวถึงสงครามการค้านำโดยประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐฯ กับจีนและยุโรป และความเป็นไปได้ในการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกและภาวะถดถอย อีกทั้งเหตุการณ์เบร็กซิตและความเสี่ยงทางการเมืองอื่นๆ แนวโน้มการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารเฟดและการปรับใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณในยูโรโซน ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายซึ่งสามารถส่งอิทธิพลต่อทั้งเทรนด์ระยะสั้นและระยะยาว และหากเราต้องพูดถึงภาวะอารมณ์ของผู้เชี่ยวชาญในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะสามารถแข็งค่าขึ้นเทียบกับสกุลเงินผู้นำอื่นๆ ของโลกได้

  • EUR/USD ในที่นี้มีนักวิเคราะห์ 75% ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยดัชนี 80% บนกรอบ MN เชื่อว่าราคาจะพยายามทำสถิติต่ำสุดของฤดูใบไม้ผลิปี 2019 อีกครั้งอย่างแน่นอนและราคาจะสามารถตัดทะลุแนวรับที่โซน 1.1100 ได้สำเร็จในที่สุด โดยมีเป้าหมายตลาดหมีที่ 1.0900 และ 1.0800 (โดยต้องไม่ลืมพิจารณามาร์จินที่ช่วง ± 25÷35 จุดด้วยเช่นกัน) ในส่วนความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 25% ที่เหลือเห็นว่าโซน 1.1100 เป็นกรอบจำกัดของขาลงและราคาจะกลับไปอยู่ที่โซน 1.1530-1.1650 ในขณะที่ดัชนีเทรนด์และออสซิลเลเตอร์ในกรอบ W1 ส่วนใหญ่ให้สัญญาณเป็นสีเขียวด้วยเช่นกัน

  • USD/CHF เงินยูโรและฟรังก์สวิสมีความสัมพันธ์กันอย่างค่อนข้างใกล้ชิด: ยูโรอ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และสกุลเงินสวิสก็เสียตำแหน่งในเวลาเดียวกัน นี่คือเหตุผลว่าทำไมในกรณี EUR/USD ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (75%) ถึงชื่นชอบฝั่ง “อเมริกัน” มากกว่า โดยพวกเขาคาดว่าราคาคู่นี้จะขยับสูงขึ้นในตอนแรกไปที่ระดับ 1.0130 และจากนั้นจะขึ้นไปอีก 100 จุดที่ 1.0230 นอกจากนี้มีสัญญาณ 15% จากออสซิลเลเตอร์ในกรอบ W1 และ MN บ่งชี้แล้วว่าราคาถูกขายมากเกินไป ในขณะที่อีกมุมมองทางเลือกเป็นของผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่งในสี่ที่ยังคงไม่เห็นภาพดอลลาร์ไต่ขึ้นเหนือระดับเชิงสัญลักษณ์ที่ 1.0000 พวกเขามองว่าราคาฟรังก์ที่ไม่เกิน 0.9600-0.9700 จะเป็นของฝั่ง “อเมริกัน” ในช่วงครึ่งหลังของฤดูร้อนนี้
  • NZD/USD และ AUD/USD เรากล่าวถึงคู่นี้เฉพาะในบทวิเคราะห์ครั้งนี้ โดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอนาคตของคู่ดังกล่าวเป็นไปดังนี้ สำหรับคู่ NZD/USD มีผู้เชี่ยวชาญ 85% โหวตให้กับเทรนด์ตลาดหมี หากคำทำนายปรากฏออกมาถูกต้อง เงินดอลลาร์นิวซีแลนด์อาจตกลงมา ณ จุดต่ำสุดของวันที่ 10/08/2018 ที่โซน 0.6420 ในส่วน 90% ของออสซิลเลเตอร์ในกรอบเวลาทั้ง W1 และ MN เห็นด้วยกับกับคำทำนายนี้เช่นกัน
    ตลาดหมีได้รับการสนับสนุนน้อยกว่าเมื่อพูดถึงแนวโน้มในอนาคตของค่าเงิน “เพื่อนบ้าน” ของนิวซีแลนด์ ซึ่งก็คือดอลลาร์ออสเตรเลีย  ผลปรากฏว่ามีผู้เชี่ยวชาญสนับสนุนเพียง 60% จริงอยู่ที่มีดัชนีเทรนด์และออสซิลเลเตอร์กว่า 85% ในกรอบ W1 และ MN สนับสนุนเทรนด์ตลาดหมี โดยเป้าหมายของตลาดหมีคือการทำตำแหน่งต่ำสุดของวันที่ 17 มิถุนายนที่โซน 0.6750-0.6800 ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญอีก 20% คาดการณ์ว่าราคาจะขยับขึ้นไปที่ระดับ 0.7300 และอีก 20% ได้ทำนายการเคลื่อนที่ที่นิ่งสงบที่บริเวณจุดวกกลับ 0.7000
  • นอกจากนี้ยังมีอีกสองคู่สกุลเงินที่เรารู้สึกว่าบทวิเคราะห์ของสองคู่นี้ค่อนข้างมีความน่าสนใจ ทั้งสองคู่ดังกล่าวสัมพันธ์กับเงินปอนด์อังกฤษ ซึ่งก็คือคู่ GBP/JPY และ EUR/GBP
    นักวิเคราะห์จำนวน 70% เชื่อว่าคู่ GBP/JPY ได้ขยับถึงกรอบด้านล่างที่ 135.65 และขณะนี้คาดว่าจะขยับขึ้นไปในตอนต้นที่ระดับ 141.50 จากนั้นยังมีโอกาสที่จะไต่ขึ้นไปเหนือระดับ 143.75 อีกด้วย ในส่วนผู้เชี่ยวชาญที่คาดการณ์การแยกตัวเบร็กซิตแบบเด็ดขาดจากอียูโดยไร้ข้อตกลงมองว่าราคาน่าจะอยู่ที่ 131.00
    แม้ว่าค่าเงินปอนด์อังกฤษจะอ่อนค่าลงต่อยูโรตลอดเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่กลับมีมุมมองที่ค่อนข้างดีต่ออนาคตของเงินปอนด์ อย่างเช่นในกรณีของคู่ GBP/JPY มีนักวิเคราะห์ 70% โหวตให้กับแนวโน้มขาขึ้นของเงินปอนด์และราคาที่ลดลงของคู่ EUR/GBP ไปที่โซน 0.8600-0.8680 ในส่วนเป้าหมายถัดไปคือจุดต่ำสุดของเดือนมีนาคมปี 2019 ที่บริเวณ 0.8470 สำหรับฝั่งตลาดหมีตั้งเป้าว่าจะขยับขึ้นไปเหนือจุดสูงสุดของวันที่ 01/01/2019 โดยทำสถิติบนความสูงที่ 0.9100

 

โรมัน บุทโก, NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้

กลับ กลับ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายคุกกี้ ของเรา