หายนะทางการเงิน 2019-2020

รอคอยจุดจบทางการเงินโลก 

โลกเริ่มหยุดชะงักท่ามกลางการคาดหมายวิกฤติการณ์ทางการเงินโลก นักวิเคราะห์บางกลุ่มทำนายว่าหายนะจะเกิดขึ้นในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ในขณะที่นักวิเคราะห์อีกกลุ่มเชื่อว่าวิกฤติจะชะลอตัวออกไปจนถึงช่วงปลายปี 2020 - ต้นปี 2021 แต่ทั้งสองกลุ่มก็ต่างเห็นภาพการมาถึงของวิกฤติที่ค่อนข้างรุนแรง ราคาน้ำมัน ทองแดง และเหล็กจะตกต่ำ ตลาดหุ้นและสกุลเงินทรุดตัว การเลิกจ้างพนักงาน และภาวะล้มละลาย

นาย Nouriel Roubini หนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเชื่อว่าวิกฤติจะเริ่มต้นขึ้นเร็วๆ นี้ในช่วงปลายปี 2019-2020 ซึ่งคำทำนายของเขาในครั้งที่แล้วแม่นยำมาก และในครั้งนี้ในบทความเรื่อง Project Syndicate ของนาย Roubini ได้อ้างถึงหลากหลายสัญญาณว่าหายนะกำลังจะมาถึง หนึ่งในสัญญาณดังกล่าวนอกเหนือไปจากสงครามการค้าที่สหรัฐฯ ก่อกับจีน อียู และประเทศอื่นๆ ก็คือการตัดสินใจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารเฟดสหรัฐฯ และภาวะถดถอยที่จะเกิดขึ้นโดยการหยุดใช้มาตรการกระตุ้นทางการคลัง

ด้วยเหตุผลเหล่านี้ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจอเมริกาอาจชะลอตัวที่ 1% ซึ่งจะส่งผลให้สหรัฐฯ ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนงานและปัญหาการว่างงาน โดยเราไม่ควรลืมว่าปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศของประเทศส่วนใหญ่เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น วิกฤติในเศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงมีแนวโน้มสูงเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจรอบโลกทรุดตัว

 

แต่สถานการณ์จะเลวร้ายจริงหรือไม่?

อันดับแรกสิ่งที่แน่ใจได้ก็คือภาวะวิกฤติเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและเกิดขึ้นเป็นวัฎจักร หากเราพิจารณาทฤษฎีวัฎจักรทางเศรษฐกิจระยะกลาง เราจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่เมื่อปี 1929 วิกฤติเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นทุกๆ 7-12 ปี

วิกฤติแรกในศตวรรษที่ 21 คือฟองสบู่แตกดอทคอม (บริษัทอินเทอร์เน็ตสัญชาติอเมริกันเป็นหลัก) เมื่อปี 2000 โดยตั้งแต่ปี 1994 ดัชนี NASDAQ เติบโตขึ้นกว่า 500% และเมื่อวันที่ 10 มีนาคมปี 2000 ดัชนีหุ้นทรุดตัวหนักกว่าหนึ่งเท่าครึ่งภายในวันเดียว และส่งผลเป็นตลาดขาลงจนถึงปี 2003

วิกฤติถัดมาเกิดขึ้นในปี 2008 อันเนื่องมาจากฟองสบู่แตกในสินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐฯ และ ณ ขณะนี้เรากำลังเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ เข้าสู่จุดเดือดใหม่ ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่คุกรุ่นในอเมริกาเสริมด้วยการขาดเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก ในฤดูร้อนปีที่แล้ว ดัชนี S&P500 ซึ่งรวบรวมบริษัทที่มีมูลค่าในตลาดมากที่สุดจำนวน 500 บริษัทได้แตะถึงระดับสูงสุดที่ 3,000 โดยในเดือนมกราคมปี 2010 ดัชนีนี้ต่ำกว่าระดับดังกล่าวถึง 3 เท่าที่ 1,000 กล่าวคือเกือบสิบปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องในเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งนาย Michael Taylor นักเศรษฐศาสตร์หัวหน้า ACCA มองว่านี่คือช่วงเวลาการเติบโตที่ต่อเนื่องและยาวนานมากที่สุดในรอบ 150 ปี และหากเราให้ความสำคัญกับทฤษฎีว่าด้วยธรรมชาติของวิกฤติที่เป็นวัฎจักร ก็นับว่าถึงเวลาสำหรับวิกฤติรอบถัดไปที่จะเริ่มขึ้น

 

แล้ววอชิงตันล่ะ?

“ทั้งผู้นำธนาคารเฟดและประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ต่างตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี” กล่าวโดยนาย John Gordon นักวิเคราะห์ชั้นนำจากโบรกเกอร์ NordFX และตรงนี้เองเราต้องคำนึงว่าในปี 2020 ปีหน้าคือปีแห่งการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนถัดไปในสหรัฐฯ หากนายทรัมป์ต้องการที่จะเป็นผู้นำประเทศเป็นสมัยที่สอง (และแน่นอนว่าเขาต้องการชนะอีกครั้ง) ไม่มีทางที่เขาจะยอมให้เศรษฐกิจอเมริกาทรุดตัว ให้รายได้หดหาย หรือปัญหาการว่างงานเพิ่มมากขึ้น เพราะคนที่โหวตเลือกนายทรัมป์ก็จะไม่ให้อภัยหากเป็นเช่นนั้น ดังนั้น เราจึงพอสังเกตได้ว่าในช่วงหลังๆ นายทรัมป์มักจะเพิ่มแรงกดดันต่อผู้บริหารธนาคารเฟดสหรัฐฯ โดยยืนกรานให้ใช้นโยบายทางการเงินที่ผ่อนปรน และดูเหมือนว่าธนาคารเฟดอาจปฏิบัติตามคำขอของประธานาธิบดี

ดังนั้น หากธนาคารเฟดฯ ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจาก 2.25% เป็น 2.5% ในเดือนธันวาคมปีนี้ ก็อาจจะการปรับเพิ่มขึ้นอีกสามหรือสี่ครั้งภายในกลางปี 2020 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดเป็นไปในทางตรงกันข้ามโดยเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมปี 2019 ที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยคงตัวที่ 2.25% อีกครั้ง และนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดกล่าวในที่ประชุมทางเศรษฐกิจประจำปีที่เมืองแจ็คสันโฮล (สหรัฐฯ) เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่าธนาคารเฟดพร้อมที่ออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมในกรณีที่มีการชะลอตัวในการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วนธนาคารกลางประเทศอื่นๆ รวมถึงธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก็มุ่งเน้นในการปรับใช้นโยบายผ่อนปรนเช่นกัน ผู้นำจีนก็ประกาศสนับสนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงพอมีความหวังว่าความพยายามร่วมกันเช่นนี้อาจเพียงพอที่จะป้องกันการเกิดวิกฤติ หรือสามารถชะลอวิกฤติออกไปยังปี 2021 เป็นอย่างน้อย

 

เยน บิทคอยน์ ทองคำ: สามเหลี่ยมด้านเท่า

บริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ หลายแห่งเริ่มเตรียมความพร้อมโดยสะสมแหล่งทุนและปรับข้อกำหนดในการชำระเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น ยิ่งทำให้เราคิดอีกครั้งว่า: แล้วถ้าวิกฤติปะทุขึ้นในไม่กี่เดือนที่จะถึงนี้ล่ะ? เราควรจะทำอย่างไร? ควรจะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดเพื่อที่จะไม่หมดตัว?

สกุลเงินเช่นเงินเยนญี่ปุ่นอาจถือว่าเป็นสกุลเงินลี้ภัย แต่ก็ยังเป็นสกุลเงินที่พึ่งพิงตลาดน้ำมันและผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก เงินเยนญี่ปุ่นจะพอเป็นตัวช่วยพยุงได้อยู่สักระยะหนึ่ง แต่หากวิกฤติมีความรุนแรงและยืดเยื้อมากพอ ชะตากรรมของเงินเยนก็คงหลีกเลี่ยงไม่พ้นจากหายนะเช่นกัน

มีทางเลือกอื่นใดหรือไม่? ผู้สนับสนุนเงินคริปโตเช่นนาย Tom Lee นักวิเคราะห์จาก Fundstrat หรือนาย Anthony Pompliano ผู้ร่วมก่อตั้ง Morgan Creek เสนอให้ลงทุนในเงินบิทคอยน์ โดยโน้มน้าวนักลงทุนว่าเหรียญดิจิทัลนี้ได้ผันตัวมาเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยจากความเสี่ยงของสกุลเงินทั่วไป อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านยังคงมองว่าการออมเงินด้วยวิธีดังกล่าวยังคงมีข้อกังขาอยู่มาก “ลองตอบคำถามด้วยตนเอง” กล่าวโดยนาย John Gordon จาก NordFX “ว่าบิทคอยน์มีความน่าเชื่อถือแค่ไหนซึ่งในช่วงระหว่างวันที่ 8-15 สิงหาคม เงินดิจิทัลนี้เสียมูลค่ามากกว่า 20% ทรุดตัวลงจาก $12,000 เหลือ $9,500? และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยปราศจากวิกฤติใดๆ!”

ด้วยความผันผวนที่สุดโต่งนี้ทำให้บิทคอยน์ไม่ใช่สกุลเงินลี้ภัย แต่เป็นเครื่องมือที่เพอร์เฟ็คสำหรับการเก็งกำไรแบบมีความเสี่ยงสูง แต่ก็เป็นสกุลเงินที่ปลอดภัยได้เช่นกัน แต่ไม่ใช่ความปลอดภัยจากตลาดการเงินคลาสสิกทั่วไปแต่เป็นความปลอดภัยจากสกุลเงินอื่นๆ ในตลาดดิจิทัล อัลท์คอยน์เริ่มมีความสนใจที่ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่าในช่วงเวลาแห่งวิกฤติราคาคริปโตสกุลหลักจะขยับขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่มันก็สามารถทรุดตัวลงได้อย่างรวดเร็วไม่ต่างกัน โอกาสอยู่ที่ 50/50 หากเรากำลังมองหาสินทรัพย์ที่น่าเชื่อถือได้จริง ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน สินทรัพย์นี้ก็คงหนีไม่พ้นทองคำ

 

ตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ราคาทองคำปรับขึ้นจาก $275 ต่อออนซ์ในเดือนกันยายน ปี 2000 เป็น $1,550 ในเดือนกันยายนปี 2019 ทำกำไรให้กับนักลงทุนถึง 460%

ตามความเห็นของนาย Harry Wagner และผู้ผลิตหนังสือพิมพ์รายวัน The Gold Forecast ระบุว่าคลื่นขาขึ้นครั้งใหญ่ล่าสุดเริ่มขึ้นเมื่อช่วงปลายปี 2015 ภายหลังจากราคาปรับตัวขึ้นที่ $1,040 และชี้ว่าราคาทองคำจะทดสอบระดับสูงสุดของปี 2011 อีกครั้ง โดยราคาจะขยับถึง $2,070-2,085 ต่อออนซ์ในปี 2020

ในช่วงปีที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2018 ราคาทองคำขยับขึ้นมากว่า 30% ตามรายงานของสภาทองคำโลก (WGC) เผยว่าความต้องการของทองคำในช่วงหกเดือนแรกของปี 2019 ขยับขึ้นถึงราคาสูงสุดในรอบสามปี (2181 ตัน) สาเหตุหลักคือการสั่งซื้อทองคำโดยบรรดาธนาคารกลางซึ่งเริ่มแปลงเงินสำรองดอลลาร์สหรัฐให้เป็นสินทรัพย์อื่นที่น่าเชื่อถือมากกว่า

“แน่นอนว่าตัวเลขข้างต้นอาจดูน่าประทับใจ” กล่าวโดยนักวิเคราะห์ NordFX และพฤติการณ์ของธนาคารกลางอาจถือว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งได้ อย่างไรก็ตาม เราต้องคำนึงว่าในสถานการณ์ที่ภาวะถดถอยมาถึง ความต้องการถือทองคำและราคาจะเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อเศรษฐกิจกลับมามีเสถียรภาพ ราคาอาจจะปรับลดลง นอกจากนี้ ภาวะทรุดตัวอาจเป็นไปอย่างค่อนข้างรุนแรง และนักลงทุนจะต้องมีความอดทนเพื่อรอให้ราคาปรับขึ้นอีกครั้ง ซึ่งอาจใช้เวลาถึง 5 ปี 10 ปีหรือมากกว่า ในกรณีนี้เมื่อเราพูดถึงความเสี่ยงทางการเงินในช่วงวิกฤติโลก ทองคำอาจถูกเลือกให้เป็นสินทรัพย์ที่เป็นที่โปรดปรานมากกว่า แต่สำหรับกางเก็งกำไรในระยะสั้นหรือระยะกลางเรื่องนี้จะเป็นอีกประเด็นหนึ่งและต้องอาศัยแนวทางในการวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน และต้องอธิบายแยกต่างหาก อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ทองคำสามารถกลายเป็นแหล่งทำกำไรชั้นดีได้เช่นกัน”

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้

กลับ กลับ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายคุกกี้ ของเรา