อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
- EUR/USD เนื่องจากไม่ใช่แค่เงินปอนด์เท่านั้นที่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เบร็กซิต แต่เงินยูโรก็ด้วยเช่นกัน อันดับแรกเราจะกล่าวถึงสถานการณ์การแยกตัวของสหราชอาณาจักรออกจากอียูในช่วงสัปดาห์ก่อนกำหนดวันแยกตัว (หาดเกิดขึ้นจริง) และดูเหมือนว่าสถานการณ์ ณ ตอนนี้ดูไม่ต่างอะไรจากวงจรอุบาทว์
ในทางหนึ่ง นายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน ปฏิเสธที่จะถอนร่างข้อตกลงการแยกตัวออกจากอียูจนกว่าสภาจะให้ความเห็นชอบในการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 12 ธันวาคม แต่สภากลับไม่เห็นชอบเนื่องจากฝ่ายค้านต้องการให้นายจอห์นสันหมดสิทธิ์ในทางเลือกการแยกตัวแบบไร้ช้อตกลงกับอียู รวมถึงให้อียูเห็นชอบกับการเลื่อนกำหนดการแยกตัวออกไปอีก ในส่วนทางฝั่งอียูก็อยู่ระหว่างการรอความเห็นชอบ (หรือไม่เห็นชอบ) จากรัฐสภาที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะอนุญาตให้เลื่อนเบร็กซิตออกไปนานเท่าใด
ทุกอย่างมีความชัดเจนแล้ว? หรือไม่? เมื่อพิจารณาการตอบสนองของตลาด ยังเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่เป็นเรื่องยากยิ่งกว่าที่จะคาดคะเนใดๆ ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่เห็นราคาดีดตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในสัปดาห์ที่แล้ว เงินยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อยต่อเงินดอลลาร์ แต่เป็นแนวโน้มลดลงเพียง 100 จุด และราคาปิดตลาดรอบห้าวันทำการที่ 1.1080
นอกเหนือไปจากความไม่แน่นอนอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของเบร็กซิตแล้ว เงินยูโรยังได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากสภาวะเศรษฐกิจยุโรปที่ชะลอตัว แม้ว่าด้วยความพยายามของธนาคารกลางยุโรป ระดับเงินเฟ้อก็ยังไม่ถึงเป้าหมายที่ 2% เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ธนาคารกลางยุโรปได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือเป็น -0.5% และประกาศการเริ่มใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ ประธานธนาคารฯ คนปัจจุบันจะพ้นจากตำแหน่ง และมีความเป็นไปได้ที่การเข้ารับตำแหน่งของนางคริสตีน ลาการ์ด ว่าที่ประธานคนใหม่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางส่วนในนโยบายของธนาคารกลางยุโรป แต่ ณ ตอนนี้ จากมุมมองของนักลงทุน ข้อได้เปรียบยังคงอยู่ที่ฝั่งเงินดอลลาร์ โดยอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเฟดสหรัฐฯ เป็นบวกอยู่ที่ 2% - GBP/USD ดังนั้นแทนที่จะมีความชัดเจนมากขึ้น การลงมติในสภาอังกฤษว่าด้วยข้อตกลงเบร็กซิตเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมากลับทำให้สถานการณ์ดูน่าสับสนมากขึ้นไปอีก ด้วยเหตุนี้ “สุดยอดวันเสาร์ “ จึงไม่ทำให้ราคาพุ่งทะยานในตลาดการเงิน และกลับทำให้เงินปอนด์อ่อนค่าขยับลงมาอย่างเรียบๆ ที่ประมาณ 200 จุด กลับสู่ระดับเดิมของเจ็ดวันก่อนหน้าที่โซน 1.2825
- USD/JPY เมื่อให้คำทำนายสำหรับคู่นี้ในสัปดาห์ที่แล้ว เราสังเกตได้ถึงความสับสนอย่างชัดเจนและความเห็นที่ขัดแย้งกันในหมู่นักวิเคราะห์และเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิค ดูเหมือนว่านักเก็งกำไรจะหมดความสนใจในเงินญี่ปุ่นชั่วคราว ส่งผลให้ราคาขยับด้านข้างที่ 108.45-108.75 เกือบตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความพยายามของฝั่งตลาดหมีสองครั้งที่จะพลิกสถานการณ์แต่ก็ไ่ม่เป็นผลเท่าใดนัก เพราะราคากลับตัวอย่างรวดเร็วเข้าสู่ช่องแคบมากๆ ที่กว้างเพียง 30 จุด โดยราคาปิดตลาดใกล้กับกรอบด้านบนที่ 108.65
- คริปโตเคอเรนซี อย่างที่นักวิเคราะห์กล่าวไว้ว่าประธานบริษัท Facebook “ตอกตะปูเม็ดสุดท้ายลงบนฝาโลงคริปโตเคอเรนซี” ในสัปดาห์ที่ผ่านมา กล่าวคือ นายซัคเคอร์เบิร์กและบรรดาวุฒิสมาชิกได้ช่วยกันตอกฝาโลกในช่วงการไต่สวนต่อหน้าคณะกรรมาธิการการบริการทางการเงินในสภาผู้แทนฯ สหรัฐฯ บรรดาสมาชิกวุฒิสภาไม่เพียงแต่แสดงความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ขยายของสกุลเงินคริปโตโดยทั่วไป และโดยเฉพาะโครงการ Libra พวกเขายังกล่าวด้วยว่าเงินคริปโตเป็นภัยคุกคามต่อตลาดเงินตราและอาจถูกใช้งานเพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่ผิดกฎหมายและการฟอกเงิน นอกจากนี้ ในระหว่างการไต่สวนยังมีการเสนอให้จัดทำร่างกฎหมายเพื่อสั่งแบนคริปโตเคอเรนซีอย่างสิ้นเชิง
สำหรับนายมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เขากล่าวว่า Libra จะไม่มีการเปิดตัวจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากทางการ และโดยทั่วไปสำหรับเขาแล้ว Libra เป็นโครงการที่มีความเสี่ยง และเขาเองก็ไม่มั่นใจเหมือนกันว่าโครงการนี้จะนำมาซึ่งกำไรได้จริงหรือไม่
ก่อนหน้านั้นไม่นาน ท่ามกลางข่าวปัญหาในแง่ประเด็นกฎหมายในอเมริกา บริษัท Telegram “ได้หันหัวเรือกลับเต็มกำลัง” และสั่งเลื่อนการเปิดตัวเงินคริปโต TON
เราได้เขียนไว้หลายครั้งแล้วว่าตลาดเงินคริปโตจะมีความผันผวนขึ้นอยู่กับข่าวสารต่างๆ เป็นหลัก และข่าวจากสภาคองเกรสสหรัฐฯ นี้ทำให้ราคาบิทคอยน์ทรุดตัวลงเมื่อวันพุธที่ 23 ตุลาคม ตกลงมาที่ราคาต่ำสุดในรอบห้าเดือนกว่า $1,000 ในวันเดียว โดยลดลงมาที่ระดับ $7,330
แต่ข่าวเซอร์ไพรส์ในวงการเงินคริปโตไม่จบเท่านี้ ผลปรากฏว่ายังคงเร็วเกินไปที่จะขุดหลุมฝังตลาดนี้ โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม ตลาดได้บูมขึ้นมาอีกครั้ง และอัตราแลกเปลี่ยนของบิทคอยน์พุ่งขึ้นไปกว่า $3,000 ดอลลาร์ เพิ่มมูลค่าสูงสุดถึง 40% โดยไต่ขึ้นมาที่ระดับ $10,500
นี่เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 2014 และเป็นผลมาจากข่าวเช่นเดียวกัน ซึ่งรายงานว่าประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนได้ให้ความสนับสนุนการพัฒนาบล็อกเชน ในขณะเดียวกัน บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ People’s Daily ของจีนที่รายงานข่าวนั้นไม่มีการระบุถึงเงินบิทคอยน์หรือคริปโตเคอเรนซีโดยรวมแต่อย่างใด แต่ตลาดกระทิงก็ไม่สนใจ
เหรียญอัลท์คอยน์ 100 อันดับแรกเกือบทั้งหมดก็ขยับขึ้นตามบิทคอยน์เช่นกัน Ethereum (ETH/USD) พุ่งขึ้นกว่า 30% Ripple (XRP/USD) – 31% และ Litecoin (LTC/USD) – 35%
ด้วยเหตุนี้ ผู้เป็นเจ้าของเหรียญและนักเทรดที่ได้เปิดตำแหน่งซื้อไว้กับบิทคอยน์และสกุลเงินอื่นๆ จึงได้รับกำไรอย่างงาม ส่วนผู้ที่ “กระโดดขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย” ก็ขาดทุนไม่มาก โดยราคา BTC/USD กลับตัวอย่างรวดเร็วและลงมาอยู่ที่ระดับ $9,055 ซึ่งเป็นระดับแนวรับสำคัญมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมิถุนายน
สำหรับบทวิเคราะห์ของสัปดาห์นี้ เราได้สรุปความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์มากมาย รวมถึงคำคาดการณ์ที่วิเคราะห์จากพื้นฐานทางเทคนิคและสถิติกราฟต่างๆ โดยเราสามารถสรุปผลวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้:
- EUR/USD นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าสัปดาห์ที่จะถึงนี้อาจเป็นช่วงที่ “ร้อนแรงที่สุด” ของปีนี้ นอกเหนือไปจากข่าวที่สหราชอาณาจักรอาจแยกตัวจากสหภาพยุโรปในวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม หนึ่งวันก่อนหน้าในวันพุธ ธนาคารเฟดสหรัฐฯ อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเงินดอลลาร์จาก 2.0% เป็น 1.75% ดูเหมือนว่านายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟดจะยินยอมต่อการคะยั้นคะยอของประธานาธิบดีทรัมป์ รัฐบาลของเขาได้เริ่มนโยบายสั่งซื้อสินทรัพย์ต่อเดือนที่ $60 พันล้านเหรียญแล้วในเดือนตุลาคม และขณะนี้ก็กำลังเดินการอีกหนึ่งขั้นตอนเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาฯ ในอเมริกา นายพาวเวลล์เองไม่ต้องการเรียกนโยบายปัจจุบันว่าเป็นการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ด้วยเหตุผลบางประการ แต่บางทีเขาอาจจะคิดถูก: ผู้เชี่ยวชาญจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าจะมีการปล่อยธนบัตรเงินดอลลาร์ครั้งใหญ่อีกครั้งและจะมีความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินที่ไม่ปลอดภัย มีความเป็นไปได้ที่มีการใช้มาตรการนี้เพราะการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในสหรัฐฯ และนายทรัมป์เองก็หวังที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง จึงพยายามกดดันให้ธนาคารเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงเหลือศูนย์
ก่อนการประชุมธนาคารเฟดไม่นานในวันที่ 30 ตุลาคม จะมีการประกาศข้อมูลเบื้องต้นของ GDP สหรัฐฯ และตามคำทำนายคาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะมีการชะลอตัวในไตรมาสที่สามจาก 2.0% เหลือ 1.6% หากเป็นเช่นนั้น นายทรัมป์จะยิ่งมีแรงกดดันเพิ่มขึ้นต่อนายพาวเวลล์ และธนาคารเฟด
สำหรับเหตุการณ์อื่นๆ ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ นักเทรดควรให้ความสำคัญกับตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นของอัตราการเติบโต GDP และระดับเงินเฟ้อในยูโรโซน ซึ่งจะประกาศในวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม ตลอดจนรายงานจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ (รวมถึงดัชนี NFP) และดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจจาก ISM ที่จะมีการประกาศในวันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน
เมื่อสรุปคำทำนายของผู้เชี่ยวชาญในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ก็ยังไม่สามารถให้ความเห็นที่ชัดเจนได้ 50% เห็นด้วยกับราคาขาลงของคู่นี้ อีก 50% โหวตให้กับแนวโน้มขาขึ้น ความเห็นที่ไม่ลงรอยกันเห็นได้จากผลการอ่านดัชนีในกรอบ D1 เช่นเดียวกัน ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากความไม่แน่นอนในการตัดสินใจในอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเฟดฯ สหรัฐฯ และการแยกตัว/ไม่แยกตัวของสหราชอาณาจักรออกจากอียู
ทั้งนี้ควรคำนึงว่าแม้จะไม่มีการแยกตัวโดยไร้ข้อตกลง และเบร็กซิตถูกเลื่อนออกไป ก็ยังคงส่งผลกระทบในทางลบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรได้เช่นกัน ทั้งหมดนี้จะทำให้ราคาขยับไปที่จุดต่ำสุดของวันที่ 1 ตุลาคมที่ช่วง 1.0880 ซึ่งอาจขยับได้ถึงในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ 70% เห็นด้วยกับคำทำนายดังกล่าว และระดับแนวรับหลักอยู่ที่ระดับ 1.1065, 1.1000 และ 1.0940
การลงนามในข้อตกลงกับอียูซึ่งสนับสนุนโดยรัฐสภาสหราชอาณาจักร จะช่วยผลักราคาให้ขึ้นไปที่โซน 1.1350-1.1400 โดยระดับแนวต้านอยู่ที่ 1.1180, 1.1240 และ 1.1300 - GBP/USD ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (60%) ไม่คาดการณ์แนวโน้มที่ดีใดๆ กับเงินปอนด์ในอนาคตอันใกล้ เช่นเดียวกับผลการวิเคราะห์กราฟในกรอบ D1 และดัชนี 80% ในกรอบ H4 ที่รอคอยให้ราคาตกลงมายังระดับ 1.2500 แนวรับอยู่ที่ 1.2770 และ 1.2580
ในอีกด้านหนึ่ง มีออสซิลเลเตอร์ 20% ในกรอบ H4 ที่ให้สัญญาณแล้วว่าราคาอยู่ในช่วงถูกขายมากเกินไป และ 90% ของสัญญาณในกรอบ D1 ปรากฏเป็นสีเขียว 85% ของดัชนีเทรนด์ในกรอบ D1 ให้สัญญาณชี้ไปยังทิศเหนือเช่นกัน โดยมีเป้าหมายที่ระดับความสูง 1.3200
มีผู้เชี่ยวชาญเพียง 30% ที่เข้าข้างแนวโน้มฝั่ง “สีเขียว” ในสัปดาห์นี้ ส่วน 10% ที่เหลือปฏิเสธที่จะให้คำทำนายใดๆ และบางทีพวกเขาอาจจะคิดถูก: นักการเมืองอังกฤษอาจพลิกคำคาดคะเนและคำทำนายใดๆ ทั้งปวงได้โดยสิ้นเชิง - USD/JPY ในทางทฤษฎี เป้าหมายของเงินเยนยังคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง โซนแนวรับอยู่ที่ 107.00, 106.65 และ 105.70 แนวต้านอยู่ที่ 109.00 และ 109.85 แต่นี่เป็นเพียงทฤษฎี ในความเป็นจริง พันธบัตรระยะยาวที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับเงินเยนญี่ปุ่นนั้นยังคงมีค่าต่ำอยู่ในช่วงแคบๆ ไม่ดึงดูดต่อความกระหายในความเสี่ยงของนักลงทุน แน่อนว่าเหตุการณ์สำคัญต่างๆ รวมถึงการตัดสินใจในอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคมนี้ อาจจะกระตุ้นความสนใจในเงินเยนขึ้นมาบ้าง แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงทฤษฎี และมีความน่าจะเป็นเกือบ 100% ที่ธนาคารกลางฯ จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ไม่เปลี่ยนแปลงที่ -0.1%
น่าสนใจที่นักวิเคราะห์ที่ J.P. Morgan Chase เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่เป็นลบของธนาคารกลางเป็น “ไอเดียที่แย่” ซึ่งป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากภาวะถดถอย ผู้เชี่ยวชาญจากแบบสำรวจ 80% เห็นด้วยกับพวกเขา โดยคาดการณ์ว่าเงินเยนจะอ่อนค่าลงต่อไป แต่ในที่สุดราคาจะตัดทะลุระดับด้านบนที่ 108.45-108.75 และขยับขึ้นเล็กน้อยไปยังทางทิศเหนือ แต่การวิเคราะห์กราฟบน H4 ทำนายแนวโน้มด้านข้างที่จะดำเนินต่อไปอย่างน้อยในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ - คริปโตเคอเรนซี ดังนั้น ในช่วงสัปดาห์ราคา BTC/USD สูญเสียมูลค่ากว่า $1,000 และจากนั้นก็ขยับขึ้นอย่างรวดเร็วไปที่ $3,000 ก่อนที่จะทรุดตัวลงมาอีกครั้ง โดยราคาหดตัวกว่า $1,445 การพยายามให้คำทำนายใดๆ กับความผันผวนเช่นนี้จึงเป็นงานที่ยากลำบาก การให้ความสำคัญกับเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน สิ่งสำคัญคือการปล่อยให้ตลาดได้พักสงบสักระยะและค่อยทำความเข้าใจว่าที่ประธานาธิบดีจีนพูดนั้นหมายความถึงอะไรกันแน่
โรมัน บุทโก, NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ