บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 08 - 12 มิถุนายน 2020

อันดับแรกเป็นการรีวิวเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:

  • EUR/USD ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม คู่ยูโรดอลลาร์ขยับขึ้นเป็นเวลาเก้าวันติดต่อกัน ซึ่งจากการประเมินโดย Dow Jones นี่เป็นแนวโน้มขาขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2011
    การตัดสินใจของธนาคารกลางยุโรปมีผลให้สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นถึงระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2020 โดยขึ้นถึงระดับ 1.1385 ธนาคารกลางยุโรปที่นำโดย คริสติน ลาการ์ด ดำเนินมาตรการอย่างเหนือความคาดหมายของตลาด โดยการเพิ่มโครงการจัดซื้อฉุกเฉินในช่วงภัยโรคระบาด (PEPP) กว่า €600 พันล้านถึง €1.350 ล้านล้านยูโร โปรแกรมนี้จะมีผลจนถึงเดือนมิถุนายนปี 2021 และจำนวนเงินที่ได้รับจากพันธบัตรจะนำไปเข้าสู่กระบวนการลงทุนใหม่จนถึงปลายปี 2022 ธนาคารกลางยุโรปรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยการให้สินเชื่อที่ระดับศูนย์และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ -0.5% ดังนั้น ธนาคารกลางยุโรปจึงกลายเป็นธนาคารกลางแห่งเดียวที่ยังคงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในสัปดาห์ที่แล้ว รวมถึงเป็นหนึ่งในธนาคารฯ ไม่กี่แห่งที่จะยังคงใช้มาตรการดังกล่าวนี้ในเดือนมิถุนายน
    ตามความเห็นของ คริสติน ลาการ์ด โครงการฉีดอัดเงินฉุกเฉินจะช่วยแก้ไขปัญหาสองประการในเวลาเดียว ได้แก่ การช่วยให้เศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวจากภาวะการแพร่ระบาดของ COVID-19 และเป็นมาตรการในการเอาชนะภาวะตึงเครียดในตลาด
    รายงานเศรษฐกิจในยูโรโซนซึ่งประกาศออกมาในสัปดาห์นี้ก็ส่งผลดีต่อเงินยูโรด้วยเช่นกัน ซึ่งตัวเลขส่วนใหญ่ในรายงานดูน่าประทับใจ รวมถึงดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
    สำหรับค่าเงินดอลลาร์เริ่มอ่อนค่าลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความต้องการถือสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงขึ้นที่เพิ่มขึ้น และหากสถิติจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ไม่ช่วย คู่สกุลเงินนี้มีทุกโอกาสที่จะทาสีให้แท่งเทียนรายวันให้เป็นสีเขียวเป็นวันที่สิบ อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 13.3% ในเดือนพฤษภาคมจาก 14.7% ในเดือนเมษายน และจำนวนตำแหน่งงานใหม่นอกภาคการเกษตร (NFP) ขยับสูงขึ้นเป็น +2509K จากตัวเลขที่ลดลงเกือบ 21 ล้าน (-20.678K) หนึ่งเดือนก่อนหน้านี้
    ด้วยเหตุนี้ คู่ EUR/USD จึงปิดตลาดห้าวันทำการในโซนสีแดง โดยหยุดอยู่ที่ระดับ 1.1290
  • GBP/USD เงินปอนด์เดินตามรอยยูโรเป็นเวลาสามสัปดาห์ติดต่อกัน หนึ่งในข้อแตกต่างก็คือ แท่งเทียนของวันศุกร์ที่ 5 มิถุนายนปรากฏเป็นสีเขียวบนกราฟเช่นกัน โดยเริ่มที่ 1.2075 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ราคาได้ตัดทะลุกรอบด้านล่างที่กรอบ 1.2165-1.2650 จนเปลี่ยนแนวต้านเป็นระดับแนวรับ และขยับถึงกรอบด้านบนของราคา ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นมาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ถึงระดับ 1.2730 จึงเพิ่มขึ้นมาอีก 655 จุดในสามสัปดาห์ ในตอนท้ายราคาปรับตัวอีกครั้ง และปิดตลาดที่ระดับ 1.2665
  • USD/JPY หลังจากช่วงเวลาที่ค่อนข้างเงียบสงบสำหรับมาตรฐานของคู่นี้ เป็นเวลาสามสัปดาห์จากข่าวความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-จีน ราคาก็ได้ขยับขึ้นในช่วงเวลาห้าวันที่ผ่านมา
    ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศเลวร้ายลง หลังจากจีนเห็นชอบกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติในฮ่องกงและมาเก๊าเมื่อเดือนที่ผ่านมา ขั้นตอนสุดท้ายคือการตัดสินใจของปักกิ่งที่จะสั่งแบนสายการบิน United Airlines และ Delta Air Lines ไม่ให้กลับมาเปิดเที่ยวบินเข้าประเทศจีน ซึ่งเป็นมาตรการตอบโต้วอชิงตันที่สั่งระงับเที่ยวบินจากจีนเข้าสู่สหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน
    และตรงกันข้ามกับยูโรและเงินปอนด์ที่เทียบกันแล้ว ดอลลาร์สูญเสียตำแหน่งนั้น ราคาขยับขึ้น 180 จุดเทียบกับเงินเยนในรอบห้าวันทำการ โดยมีช่วงความผันผวนสูงสุดของคู่นี้อยู่ที่ 245 และในวันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน ราคาเกือบขยับถึงระดับสัญลักษณ์ที่ 110.00 แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ก่อนที่จะปิดตลาดที่ 109.60
  • คริปโตเคอเรนซี อันดับแรกเกี่ยวกับอาชญากรรม รายงานจากบริษัทวิเคราะห์ CipherTrace ระบุว่า จำนวนเหรียญเงินคริปโตที่ถูกโจรกรรมไปคิดเป็นมูลค่ารวมแล้วทั้งสิ้น $1.36 พันล้านเหรียญตลอดช่วงเวลาห้าเดือนในปี 2020 ปรากฏว่าเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ในขณะเดียวกันนั้น CiperTrace พบว่า ประเทศอันดับแรก ๆ ที่เป็นเจ้าของเหรียญเงินคริปโตที่สกปรกนี้คือ .. ประเทศฟินแลนด์ โดย 12% ของเหรียญบิทคอยน์ที่เข้าสู่กระเป๋าของประเทศยุโรปขนาดเล็ก ๆ ที่เงียบสงบในทางตอนเหนือของยุโรปนี้เป็นเหรียญที่มีแหล่งที่มาผิดกฎหมาย อันดับที่สองคือ รัสเซีย ที่ 5.23% ตามมาด้วยตลาดแลกเปลี่ยนอังกฤษที่ 0.69% ส่วนสัดส่วนของเหรียญเงินคริปโตผิดกฎหมายในตลาดแลกเปลี่ยนเยอรมัน ญี่ปุ่น และอเมริกันนั้นต่ำกว่า 0.1%
    ตอนนี้มาพูดถึงข่าวไฮไลท์ในช่วงที่ผ่านมา ในข่าวแรก ชุมชนเงินคริปโตตื่นเต้นกับข่าวการโอนเงินบิทคอยน์จำนวน $94 พันล้านเหรียญ หรือเป็นจำนวน 94,504 BTC ทันใดนั้นเองก็เกิดการโต้เถียงกันเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของจำนวนบิทคอยน์ที่น่าประทับใจดังกล่าว นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อมโยงเหตุการณ์นี้กับการเปิดตัวบิทคอยน์ฟิวเจอร์สบนแพล็ตฟอร์ม Bakkt อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางท่านเชื่อว่า ธุรกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งค่าและการปรับปรุงข้อผิดพลาดในระบบของ Bakkt
    เหตุการณ์ที่สำคัญมากที่สุดของสัปดาห์ คือ ราคาบิทคอยน์ตัดผ่านระดับ $10,000 เมื่อคืนวันอังคารที่ 2 มิถุนายน ราคาของบิทคอยน์ขยับขึ้นถึง $10,400 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม ความสุขของฝั่งตลาดกระทิงเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ราคาทะยานขึ้นบนเทรนด์ที่ไม่มั่นคง และเป็นเพียงการเก็งราคาชั่วคราวเท่านั้น หลังจาก 14 ชั่วโมงผ่านไป ในช่วงเปิดตลาดซื้อขายฝั่งอเมริกา ราคาบิทคอยน์ขยับลดลงมาต่ำกว่า $9,500 ภายในเวลาไม่กี่นาที และแตะถึงที่ระดับ $9,130 ในบางช่วง บนตลาดแลกเปลี่ยน BitMEX แห่งเดียวมีการขายธุกรรมขนาด $150 ล้านเหรียญในเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น หลายคนสังเกตว่าในขณะนั้นเกิดรูปทรง Bart Simpson บนกราฟ BTC/USD
    จากนั้น ราคาจึงค่อย ๆ ขยับขึ้นถึงโซน $9,500-9,850 และอยู่ที่บริเวณดังกล่าวนี้จนถึงช่วงเย็นวันศุกร์ โดยปรับเพิ่มขึ้น 3.35% ในรอบเจ็ดวัน
    กราฟของมูลค่ารวมในตลาดเงินคริปโตทำให้นึกถึงกราฟ BTC/USD เป็นอย่างมาก โดยมีการก่อตัวรูปทรง Simpson เดียวกันนี้ในวันที่ 2 มิถุนายน โดยมูลค่ารวมในตลาดเพิ่มขึ้นถึง $285 พันล้านเหรียญและจากนั้นก็ทรุดลงมา 6% ณ ขณะเวลาที่เขียนบทวิเคราะห์นี้ ตัวเลขมูลค่ารวมอยู่ที่ประมาณ $275 พันล้าน และอยู่ในระดับที่สูงกว่าเจ็ดวันก่อนหน้า ดัชนี Crypto Fear & Greed Index ยังคงตัวอยู่ในระดับตรงกลางของโซนปานกลาง โดยหากดัชนีเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมอยู่ที่ 48 ในวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา ดัชนีอยู่ที่ 53 จาก 100
    อัลท์คอยน์ส่วนใหญ่เดินตามรอยคู่ BTC/USD เป็นหลัก Ripple (XRP/USD) แสดงแนวโน้มขาขึ้นที่ใกล้เคียงกับของบิทคอยน์ที่ 3.24% ในขณะที่ Litecoin และ Ethereum ขยับเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากที่: LTC/USD - +6.6%, ETH/USD - +10.9%.

 

สำหรับบทวิเคราะห์ของสัปดาห์นี้ เราได้สรุปความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์มากมาย รวมถึงคำคาดการณ์ที่วิเคราะห์จากพื้นฐานทางเทคนิคและสถิติกราฟต่างๆ โดยเราสามารถสรุปผลวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้

  • EUR/USD แม้ว่าเงินยูโรจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างน่าประทับใจในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เทรนด์ขาขึ้นยังคงเป็นที่กังขา ในทางหนึ่ง นักวิเคราะห์จากธนาคารพาณิชย์ชั้นนำหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ABN Amro, JP Morgan, Banque Pictet & Cie และ Nordea เชื่อว่า ธนาาคารกลางยุโรปจะขยายมาตรการ QE ออกไปจนถึงเดือนกันยายน-ธันวาคม อันเนื่องมาจากหนี้รัฐบาลที่เพิ่มขึ้น แต่อีกทางหนึ่ง ความแตกต่างระหว่างธนาคารกลางยุโรปและธนาคาร Bundesbank ของเยอรมนียังคงไม่หายไป แม้ว่าคริสติน ลาการ์ด จะเคยประกาศว่า การตัดสินใจเพิ่มปริมาณพิมพ์ธนบัตรนั้นเป็นการตัดสินใจโดยคณะกรรมการบริหารอย่างเป็นเอกฉันท์ จากรายงานของ Financial Times เจนส์ ไวด์มานน์ ประธานธนาคารกลางเยอรมนีออกมาเตือนลาการ์ดว่า หากมาตรการนี้ยังมีผลต่อไป ธนาคารกลางยุโรปอาจถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายอียูที่ห้ามอย่างเคร่งครัดไม่ให้อุดหนุนเงินสดรัฐบาลประเทศสมาชิก
    นอกจากนี้ การแข็งค่าขึ้นของยูโรจะถูกยับยั้งโดยแนวโน้มขาลงของ GDP ยูโรโซน จากการประเมินของธนาคารกลางยุโรป เศรษฐกิจยูโรโซนในปีนี้จะหดตัว 8.7% (และในกรณีที่มีการระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกที่สองจะอยู่ที่ 12.6%) และในปีหน้า GDP จะเติบโตขึ้นเพียง 5.2% เท่านั้น แต่ในทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผู้เชี่ยวชาญจาก Wall Street มองว่า ในปี 2020 เศรษฐกิจจะตกต่ำเพียง 6.6% และจะฟื้นฟู 5% ในปี 2021
    สำหรับอนาคตระยะใกล้ นักวิเคราะห์ 65% เชื่อว่า ความต้องการความเสี่ยงจะลดลง และความสนใจในเงินดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยจะเพิ่มสูงขึ้น และคู่ EUR/USD จะขยับลงทิศใต้ไปที่โซน 1.1000-1.1100
    โดยมีแนวรับถัดไปที่ 1.0885 การวิเคราะห์กราฟในกรอบ H4 และออสซิเลเตอร์ 15% ให้สัญญาณว่าราคาคู่นี้อยู่ในโซน overbought ในกรอบ H4 และ D1 และเห็นด้วยกับคำคาดการณ์ในทิศทางนี้
    ส่วนผู้เชี่ยวชาญที่เหลือ 35% มองว่า ตลาดกระทิงยังคงมีเรี่ยวแรงเพียงพอที่จะผลักดันราคาขึ้นไปยังระดับ 1.1400 และหากสำเร็จ ราคาจะทะลุเป้าหมายที่ระดับสูงสุดของเดือนมีนาคมที่ 1.1500
    ในส่วนเหตุการณ์สำคัญในสัปดาห์นี้ คุณควรให้ความสนใจกับสถิติการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเยอรมนีที่จะประกาศในวันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน และการประกาศ GDP ยูโรโซนในวันอังคารที่ 9 มิถุนายน การประกาศสถิติตลาดผู้บริโภคสหรัฐฯ ในวันพุธที่ 10 มิถุนายน และการประกาศสถิติอัตราการว่างงานในสหรัฐฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน นอกจากนี้ ในวันที่ 10 มิถุนายน จะมีการประชุมของธนาคารเฟดสหรัฐฯ ซึ่งจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ตามมาด้วยการแถลงข่าวที่สำคัญของผู้บริหารธนาคารฯ ภายหลังการประชุม

  • GBP/USD ตามที่นายไมเคิล บาร์เนียร์ ผู้นำการเจรจาของฝั่งอียูเคยกล่าวไว้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า การเจราระหว่างสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรไม่มีความคืบหน้าสำคัญใด ๆ และทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันเรื่องประเด็นการประมง หรือประเด็นการแข่งขันทางการค้าที่เปิดเสรีและเท่าเทียม ด้วยเหตุนี้ เขามองว่า ทั้งสองฝ่ายยังคง “อยู่ห่างไกลจากเป้าหมาย” ในมิติสังคม สิ่งแวดล้อม และเรื่องภาษี ซึ่งความร่วมมือและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคตของทั้งสองฝ่ายล้วนขึ้นอยู่กับประเด็นเหล่านี้
    น่าเสียใจเช่นกันที่อังกฤษปฏิเสธที่จะขยายระยะเวลาเบร็กซิต แม้ว่าอียูจะยินยอมให้ขยายเวลาออกไปได้อีกหนึ่งหรือสองปี เพื่อให้มีเวลาการเจรจาเพิ่มมากขึ้น “แต่หากไม่มีการตัดสินใจร่วมกันเกี่ยวกับการขยายเวลานี้” กล่าวโดยนายไมเคิล บาร์เนียร์ “สหราชอาณาจักรจะออกจากตลาดเดี่ยวและสหภาพศุลกากรภายในเจ็ดเดือน ซึ่งก็คือ วันที่ 31 ธันวาคม ปีนี้”
    ความดื้อดึงของสหราชอาณาจักรจากปัญหาเศรษฐกิจส่งผลให้ ไม่มีผู้เชี่ยวชาญท่านใดในคราวนี้โหวตว่าราคาจะขยับขึ้นในขาขึ้น ผู้เชี่ยวชาญครึ่งหนึ่งโหวตให้กับแนวโน้มด้านข้าง และอีกครึ่งหนึ่งมองว่า ดอลลาร์จะแข็งค่า และเงินปอนด์จะอ่อนค่าลง
    เป็นที่ชัดเจนว่า อินดิเคเตอร์ 100% ในขณะที่กำลังเขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ส่งสัญญาณเป็นสีเขียว แต่ในบรรดาออสซิลเลเตอร์ทั้งหมด 15% บนกรอบเวลาทั้งสองให้สัญญาณ oversold ของคู่นี้ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ค่อนข้างชัดเจนว่าราคาจะเข้าสู่เทรนด์ขาลง
    การวิเคราะห์กราฟในกรอบ H4 หันลงทิศใต้เช่นเดียวกัน และในกรอบ D1 ให้ภาพการเคลื่อนที่ด้านข้างที่ 1.2570-1.2845 แนวรับอยู่ที่ระดับ 1.2465, 1.2365 และ 1.2160 ระดับแนวต้านคือ 1.2725, 1.2845 และ 1.2950
    สำหรับการประกาศสถิติเศรษฐกิจมหภาค นอกเหนือจากของฝั่งเงินดอลลาร์ข้างต้นนี้ สถิติที่น่าสนใจ ได้แก่ การผลิตในภาคอุตสาหกรรม และ GDP ของสหราชอาณาจักร ซึ่งจะประกาศในวันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน
  • USD/JPY ผลการวิเคราะห์อินดิเคเตอร์เหมือนกันกับคู่ของ GBP/USD: ทั้งกรอบ H4 และ D1 อินดิเคเตอร์เทรนด์ 100% และออสซิลเลเตอร์ 85% อยู่ทางฝั่งสีเขียว และมีเพียง 15% ที่อยู่ฝั่งสีแดงและให้สัญญาณว่าดอลลาร์อยู่ในโซน overbought
    ในบรรดานักวิเคราะห์ทั้งหมด ยังไม่มีอะไรชัดเจนนัก 30% ของนักวิเคราะห์โหวตให้กับขาขึ้นของราคา และคาดว่าราคาจะแข็งตัวเหนือระดับ 110.00 และ 70% สนับสนุนโดยการวิเคราะห์กราฟในกรอบ H4 ยังคงรอคอยให้ราคากลับมาสู่โซน 107.00-108.00
  • คริปโตเคอเรนซี เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจการของตน นักขุดเหรียญหลายแห่งถูกบังคับให้ขายสินทรัพย์เงินคริปโตภายหลังจากการฮาล์ฟเหรียญ นอกจากนี้ พวกเขายังต้องขายเพิ่มขึ้นและเร็วกว่าที่ขุดได้ ซึ่งสร้างแรงกดดันให้กับบิทคอยน์เป็นอย่างมาก
    อย่างไรก็ตาม ความเห็นของนิโคลัส พานิเกิร์ตโซกลา นักยุทธศาสตร์จาก JPMorgan มองว่า การฮาล์ฟเหรียญส่งผลให้มูลค่าภายในพื้นฐานของบิทคอยน์เพิ่มขึ้นสองเท่า และปรับตัวเข้ากับราคาตลาดคริปโตเคอเรนซีในที่สุด ต้นแบบจาก JPMorgan วิเคราะห์บิทคอยน์ในฐานะสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ต้องคิดพิจารณาถึงต้นทุนการผลิต พลังงานที่ใช้จากอุปกรณ์ และต้นทุนกระแสไฟฟ้า
    ผลกระทบที่เป็นบวกในราคา BTC อาจมาจากราคาน้ำมันที่ลดลง ซึ่งทำให้ราคาค่าไฟฟ้าลดลง นายอันเดรียส อันโตโนโปโลส นักวิเคราะห์เงินคริปโต มองว่ารัฐน้ำมันขนาดใหญ่ของอเมริกา คือ รัฐเท็กซัส เป็นแหล่งที่ตั้งของสถานที่ขุดเหมืองใหม่ขนาดใหญ่ที่สุด “ผมสงสัยว่านี่ “ไม่น่า” จะใช่เรื่องบังเอิญ” เขากล่าวในช่อง YouTube ของเขา
    จากความเห็นของ นายยาซุโอะ มัตซุดะ นักยุทธศาสตร์อาวุโสที่ตลาดแลกเปลี่ยนเงินคริปโต FXCoin ระบุว่า การก่อนค่าลงของเงินหยวนจีนก็ส่งผลดีต่อบิทคอยน์เช่นกัน “จีนคือประเทศที่มีการกำกับเศรษฐกิจอย่างเคร่งครัดเสมอ”  กล่าวโดยนักยุทธศาสตร์จาก FXCoin “แต่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะขาลง โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยสหรัฐฯ ขณะนี้ประชาชนในประเทศมีแรงจูงใจที่จะถอนสินทรัพย์ออกจากจีน และการซื้อเหรียญ BTC เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ราคา BTC ในตลาดปรับตัวสูงขึ้น”
    โดยทั่วไป สถานการณ์สำหรับนักลงทุนดูค่อนข้างเป็นบวกในขณะนี้ จากรายงานของศูนย์การวิเคราะห์ Glassnode พบว่า บิทคอยน์เกือบ 79% เหรียญที่หมุนเวียนในตลาดนั้นยังคงทำกำไรได้ ราคาของเหรียญในขณะนี้สูงกว่า ณ ขณะเวลาการทำธุรกรรมล่าสุด นอกจากนี้ Glassnode ได้รายงานไม่นานนี้ว่ามี BTC 60% ที่ไม่มีการเคลื่อนไหวตลอดปี และครั้งสุดท้ายที่พบว่ามีดัชนีใกล้เคียงกันนี้เกิดขึ้นก็เป็นช่วงก่อนการเกิดวัฏจักรกระทิงครั้งถัดไป
    ณ ตอนนี้ ผู้เชี่ยวชาญ 70% เชื่อว่า คู่ BTC/USD จะสามารถตั้งหลักในโซน $10,000-11,000 ในเดือนมิถุนายน และมีเพียง 30% เท่านั้นที่รอให้ราคาปรับลดลงมายังระดับ $8,000-8,500

 

กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้

กลับ กลับ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายคุกกี้ ของเรา