อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
- EUR/USD อ้างอิงจากสถิติของกรมแรงงาน มีความเห็นในแง่บวกชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัวอย่างมีน้ำหนัก ตลาดแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นและอาจจะผ่านระยะที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤติไปแล้ว การว่างงานในเดือนกรกฎาคมลดลง 10.2% (จากระดับสูงสุดในเดือนกรกฎาคมที่ 15%) คน 1.8 ล้านคนกลับมาทำงานในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ติดต่อกันเป็นเวลาสามเดือน
แต่ในทางกลับกัน ตัวเลขตำแหน่งงานที่ฟื้นตัวขึ้นมา 9 ล้านตำแหน่งในช่วงสามเดือนนี้คิดเป็นเพียง 43% ของจำนวนคนที่ตกงานกว่า 21 ล้านคนในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน และชาวอเมริกัน 15.51ล้านคนยังคงได้รับสวัสดิการว่างงาน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่าช่วงวิกฤติโลกครั้งก่อนหน้ามากกว่าถึงสองเท่า (6.6 ล้าน)
ตลาดกำลังรอมาตรการ QE รอบใหม่ ซึ่งก็คือการฉีดอัดเศรษฐกิจด้วยสภาพคล่องและมาตรการกระตุ้นทางการคลังอื่น ๆ แต่พรรคเดโมแครตและรีพับลีคกันยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ในสภาคองเกรส ประธานาธิบดีทรัมป์ไม่อยากจะใช้มาตรการช่วยเหลือชาวอเมริกันมากเกินไปจนเกิดภาวะเงินเฟ้อ โดยเชื่อว่ามาตรการเหล่านี้จะทำให้คนเคยชินกับการรอความช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่เขาพร้อมที่จะประนีประนอมกับฝั่งเดโมแครตเพื่อแลกกับการยกเลิกการโหวตทางไปรษณีย์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะถึงนี้
การเจรจาเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า และในสถานการณ์ที่คลุมเครือดังกล่าว ตลาดยังต้องรอและดูสถานการณ์ต่อไป แม้ว่าดัชนี S&P500 จะขยับขึ้น แต่ก็ดูไม่คึกคักเท่าใดนัก ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 30 ปีดูมากขึ้นหลังจากการประมูลที่อ่อนแอ แต่จากนั้นก็ลดต่ำลงหลังจากภาวะความเสี่ยงลดลงในยุโรป ซึ่งเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ย่ำแย่ลงและสถิติแรงงานที่อ่อนแอ ความผิดหวังในสถิติเศรษฐกิจมหภาคล่าสุดจากจีนไม่ได้ช่วยหนุนให้สถานการณ์ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
โดยทั่วไป ความไม่แน่นอนยังคงปกคลุม ดังนั้นทั้งตลาดกระทิงและหมีต่างไม่มีท่าทีที่ชัดเจน และใช้เวลาในเดือนที่แล้วแน่นิ่งเป็นหลัก EUR/USD ไม่สามารถตัดทะลุช่องด้านข้างที่ 1.1700-1.1910 มาตลอดสามสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ความผันผวนยังแคบลงกว่าเดิมอยู่ที่ 1.1710-1.1865 ความผันผวนสูงสุดไม่เกิน 155 จุด และปิดตลาดสัปดาห์ที่เงียบสงบนี้ที่ 1.1840 - GBP/USD คำทำนายซึ่งประกาศไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ปรากฏว่าแม่นยำเกือบทั้งหมด GDP สหราชอาณาจักรในไตรมาสที่ 2 ลดลง 20.5% (เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจยูโรโซน ลดลง 12.1% ในช่วงเวลาเดียวกัน) อย่างไรก็ตาม นี่ยังไม่ส่งผลต่อราคาเงินปอนด์ อย่างที่เคยกล่าวไปแล้ว คู่ GBP/USD ได้หยุดเคลื่อนที่อย่างอิสระและขณะนี้เดินตามรอย EUR/USD อย่างแข็งขัน ดังนั้น ราคาจึงขยับในช่องด้านข้างที่ 1.2980-1.3185 เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว และขณะนี้กำลังซื้อขายในช่วงแคบ ๆ ที่ 1.3000-1.3140 และปิดตลาดที่ 1.3085
- USD/JPY เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ซึ่งสนับสนุนโดยการวิเคราห์กราฟบนกรอบ H4 ได้คาดการณ์ว่า ราคาจะพยายามทดสอบระดับ 106.40 อีกครั้ง และหากทำสำเร็จ จะไม่หยุดแค่นั้นและจะขยับขึ้นต่อ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ราคาได้ขยับขึ้นหลังจากผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 30 ปีเพิ่มขึ้น และตัดผ่านแนวต้านที่ 106.40 ถึง 107.00 อย่างไรก็ตาม ไม่นานการเติบโตของดอลลาร์ก็หยุดลง และราคาก็ดีดกลับลงมา จนปิดตลาดรอบห้าวันในโซนแนวรับ/แนวต้านระยะกลางที่สำคัญที่ 106.60
- คริปโตเคอเรนซี บิทคอยน์ไม่สามารถปักหลักเหนือ $12,000 เป็นเวลาสองสัปดาห์ติดต่อกัน มีความพยายามอีกครั้งในคืนวันอาทิตย์ขึ้นวันจันทร์แต่ก็ล้มเหลว หลังจากนั้นก็มีความพยายามอีกครั้งหนึ่ง และมีการตีกลับของราคาลงมา ทำให้ BTC/USD ขยับถึงระดับ $11,000 เมื่อวันพุธที่ 12 สิงหาคม เราเคยเขียนไว้แล้วก่อนหน้าว่า ระดับดังกล่าวกลายเป็นแนวรับที่สำคัญสำหรับบิทคอยน์ ซึ่งจะเป็นภารกิจที่ยากสำหรับบิทคอยน์ที่จะยืนเหนือแนวต้านที่ $12,000
แนวโน้มขาลงของบิทคอยน์มาถึงหลังจากผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกัน มูลค่าของทองคำก็ปรับลดลง 10% ในขณะเดียวกันนั้น ภาพรวมทั่วไปของ BTC ดูเหมือนจะดูสดใส มูลค่ารวมในตลาดเงินคริปโตเพิ่มขึ้น $13 พันล้านในเจ็ดวัน ใกล้กับ $370 พันล้านดอลลาร์ กองทุน Grayscale ที่เดียวได้เพิ่มระดมทุน $1 พันล้านใน 10 วัน ซึ่งมากกว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ทั้งหมดของปี 2020 บริษัท MicroStrategy Incorporated ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักด้านความฉลาดทางธุรกิจได้ประกาศให้บิทคอยน์เป็นสินทรัพย์สำรองหลัก และจัดซื้อ 21,454 BTC เป็นจำนวนเงินถึง $250 ล้านเหรียญ นายไมเคิล เซย์เลอร์ ซีอีโอของบริษัทแสดงความเห็นต่อท่าทีนี้ว่า “ในมุมมองของพวกเขา บิทคอยน์ คือ สื่อกลางที่น่าเชื่อถือสำหรับการออมเงินและการลงทุนที่น่าดึงดูดสำหรับการเติบโตระยะยาวและมีศักยภาพที่ดีกว่าการถือเงินสด"
ในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม ราคาบิทคอยน์ได้ดีดกลับมาอีกครั้งยังระดับที่เคยซื้อขายเมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้วที่โซน $11,750 โดยการเติบโตคิดเป็นศูนย์ แต่สำหรับ Ethereum แนวโน้มที่เราได้ให้ความสนใจหลายครั้งนั้นเริ่มเป็นที่น่าพอใจสำหรับนักลงทุน โดยราคาปรับขึ้นมา 13% และยืนเหนือระดับ $400 นอกจากนี้ กองทุน Grayscale ยังได้แสดงความสนใจเป็นพิเศษในอัลท์คอยน์ดังกล่าว โดยได้ส่งคำขอไปยังตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ เพื่อจดทะเบียนกองทุนทรัสต์สำหรับ Ethereum
สำหรับบทวิเคราะห์ของสัปดาห์นี้ เราได้สรุปความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์มากมาย รวมถึงคำคาดการณ์ที่วิเคราะห์จากพื้นฐานทางเทคนิคและสถิติกราฟต่างๆ โดยเราสามารถสรุปผลวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้:
- EUR/USD หากราคาตัดทะลุกรอบ 1.1700-1.1910 ในทางใดทางหนึ่งเท่านั้น เราถึงจะได้สัญญาณชัดเจนว่าเทรนด์ที่กำหนดชะตาคือทิศทางใด ในระหว่างนี้ ท่ามกลางกิจกรรมที่ลดลง อินดิเคเตอร์เทรนด์ยังคงให้ภาพทิศเหนือ ซึ่งมีจำนวน 100% ในกรอบ H4 และ 85% ในกรอบ D1 สำหรับออสซิลเลเตอร์ภาพแตกต่างกันเล็กน้อย แม้ว่า 75% ของออสซิลเลเตอร์ในกรอบ H4 และ 70% บนกรอบ D1 ให้สัญญาณสีเขียว ส่วนที่เหลือกลับให้สัญญาณว่าราคาอยู่ในโซนที่แรงซื้อมากเกินไป (overbought) ซึ่งเป็นสัญญาณที่ค่อนข้างชัดเจนว่าเทรนด์จะมีการกลับตัวหรือเป็นการปรับฐานลงครั้งใหญ่
การวิเคราะห์กราฟในกรอบ H4 ให้ภาพการเคลื่อนที่ด้านข้างต่อเนื่องในช่วง 1.1700-1.1910 แต่จากคำคาดการณ์ในกรอบ D1 ราคาได้ผลักออกจากแนวรับที่ 1.1700 และอาจขยับขึ้น โดยในตอนต้นจะไปที่ 1.1960 และจากนั้นจะไปสู่ระดับ 1.2100
ผู้เชี่ยวชาญ 30% ยังคงคาดการณ์ว่าดอลลาร์จะอ่อนค่าลงต่อไปและราคาคู่นี้จะขยับขึ้น นักวิเคราะห์ 25% เห็นด้วยกับคำคาดการณ์ของการวิเคราะห์กราฟในกรอบ H4 ส่วน 45% ที่เหลือยังคงรอให้ราคากลับมายังแนวรับที่ 1.1450 ก่อนในตอนแรก และจากนั้นไปที่โซน 1.1240 สิ่งนี้จะเกิดขึ้น แต่จะไม่เกิดขึ้นทันที โดยอาจใช้เวลาสองสามสัปดาห์ นอกจากนี้ ในระยะกลาง นักวิเคราะห์ถึง 60% ประเมินสถานการณ์ในทิศทางดังกล่าวเช่นกัน - GBP/USD. “ยูโรด้วยและปอนด์ก็ด้วย” นี่คือสิ่งที่คำคาดการณ์สำหรับ GBP/USD ในสัปดาห์นี้ แม้ว่าทั้งสองค่าเงินจะไม่เหมือนกันแต่ก็ดูมีท่าทีคล้ายกัน ในกรณีของ EUR/USD ผู้เชี่ยวชาญ 45% โหวตว่าราคาจะปรับลงในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า และ 60% โหวตในระยะกลาง 20% โหวตเทรนด์ด้านข้าง และ 35% โหวตว่าราคาจะปรับขึ้นต่อไป
สำหรับอินดิเคเตอร์เทรนด์มี 90% บนกรอบ H4 และ 95% บนกรอบ D1 ที่ให้สัญญาณสีเขียว ในส่วนออสซิลเลเตอร์บนกรอบ H4 มีสีเขียวเพียง 60% และอีก 40% ให้สัญญาณเทากลาง ในส่วน D1 60% ให้สัญญาณสีเขียวเช่นกัน 35% เป็นสีเทากลาง และ 5% เป็นสีแดง
แนวรับ ได้แก่ 1.3045, 1.2980, 1.2900, 1.2765 และ1.2670 และแนวต้านอยู่ที่ 1.3125, 1.3185, 1.3200 และ 1.3285 - USD/JPY ในวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม จะมีการประกาศ GDP ญี่ปุ่นในไตรมาสที่สอง ซึ่งจากคำคาดการณ์คาดว่าจะลดลง 7.6% เท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่ดีที่สุดในบรรดาประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมด และจะเป็นสิ่งยืนยันอีกครั้งว่า ทั้งเงินเยนญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่นโดยรวมนั้นเป็นที่หลบภัยที่ยอดเยี่ยมจากความโกลาหลทางเศรษฐกิจและการเงิน ณ ขณะนี้ ผู้เชี่ยวชาญ 100% ทำนายว่า ดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นและราคาคู่นี้จะขยับขึ้นมาในตอนแรกที่ 107.55 และขึ้นต่อไปที่ 108.10 ทั้งนี้ โซน 106.00-108.10 คือช่วงที่ราคาได้มีการซื้อขายมาเป็นเวลา 75% ของ 20 สัปดาห์ที่ผ่านมา และชัดเจนว่าด้วยเหตุนี้เอง ผู้เชี่ยวชาญจึงเชื่อว่าราคาจะยังคงขยับในช่วงดังกล่าวอยู่อีกสักระยะ อย่างไรก็ตาม ออสซิลเลเตอร์ 15% ในกรอบ D1 ให้สัญญาณแล้วว่าราคาอยู่ในโซน overbought และข้อเท็จจริงนี้ควรพิจารณาถึงเมื่อเปิดคำสั่งใด ๆ
นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องคำนึงอีกด้วยว่า คำคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม - ต้นเดือนกันยายนเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน นักวิเคราะห์ 55% กำลังรอให้เทรนด์กลับตัวและราคาเข้าสู่ขาลง โดยมีเป้าอยู่ที่ 105.30 และ 104.20
- คริปโตเคอเรนซี อย่างที่คุณทราบอยู่แล้ว มีเพียงสองวิธีเท่านั้นสำหรับชะตาของบิทคอยน์ ก็คือขาขึ้นหรือขาลง
จากความเห็นของนายแม็ก ไคเซอร์ นักวิเคราะห์และรายงานข่าวในทีวีชื่อดัง มองว่า การเติบโตของราคาบิทคอยน์นั้นได้รับแรงหนุนจากการไหลออกของเงินทุนจากเอเชีย ท่ามกลางความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น และยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนเลวร้ายลงเท่าใด ประชาชนชาวจีนจะยิ่งมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นที่จะเคลื่อนย้ายเงินทุนไปนอกประเทศ และทางที่ง่ายที่สุดก็คือการใช้คริปโตเคอเรนซี
อีกหนึ่งปัจจัยพื้นฐานที่มีบทบาทเข้าข้างบิทคอยน์ก็คือ เงินจำนวน $10 ล้านล้านเหรียญที่ไหลเข้ามาในเศรษฐกิจโลกในรูปแบบของมาตรการการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่สองที่ผ่านมา GDP สหรัฐฯ ปรากฏว่าลดลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ติดลบที่ 32.9% ซึ่งชีให้เห็นว่า ช่วงเวลาที่จำเป็นต้องใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนปรนมากที่สุดนั้นน่าจะมีผลต่อไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2020 และในขณะเดียวกัน เงินบางส่วนที่ได้รับจากกรอบมาตรการ QE จะไหลเข้าตลาดเงินคริปโต ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่าสิ่งนี้จะทำให้ราคา BTC/USD ทะยานขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น นายรอล พาล อดีตเจ้าหน้าที่วอลสตรีท เชื่อว่าบิทคอยน์อาจขยับถึง $100,000 ในเวลาสองปีข้างหน้า และในที่นี้ ตัวชี้วัดที่สำคัญอาจเป็นการสิ้นสุดลงของความสัมพันธ์ระหว่างบิทคอยน์กับดัชนีหุ้น เช่น Nasdaq และ S&P500
แต่ก็ยังมีสถานการณ์ในทางตรงกันข้ามให้พิจารณาเช่นกัน ลองดูที่กราฟ BTC/USD เมื่อหนึ่งปีที่แล้ว ในเดือนสิงหาคม 2019 ราคาบิทคอยน์ตัดทะลุ $11,00 และขยับถึง $12,300 แต่หลังจากความพยายามที่จะตัดทะลุหลายครั้ง ราคาได้ตกลงมาที่ $10,000 ก่อนที่จะทรุดลงหนักจนถึงราคาต่ำสุดที่ $3,800 ในครั้งนี้อาจไม่มีหายนะดังกล่าว แต่ราคาก็ปรับฐานลงมาที่ $10,000 ให้เราเห็นแล้วจริง ๆ นอกจากนี้ ดัชนี Crypto Fear & Greed Index อยู่ที่ระดับ 77-78 มาเป็นเวลาสามสัปดาห์ติดกัน ซึ่งจากความเห็นของพัฒนาหลายท่ามองว่า ตลาดกำลังยื้อกับแรง overbought และมีความจำเป็นที่จะต้องปรับฐาน
ที่น่าสนใจเมื่อเราพูดถึงคำคาดการณ์รายสัปดาห์ ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (55%) ค่อนข้างเชื่อว่า คู่ BTC/USD จะสามารถฝ่าทะลุแนวต้าน $12,000 และจะขยับขึ้นไปที่โซน $12,500-13,000 อย่างไรก็ตาม เมื่อปรับมาที่การวิเคราะห์รายเดือน นักวิเคราะห์ 60% เชื่อว่าราคาจะตกลงมาที่ $9,500-10,000 อีกครั้งและแนะนำให้เปิดตำแหน่งซื้อในจุดนี้
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ