อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
- EUR/USD 60% ของนักวิเคราะห์พยายามที่จะให้ความสำคัญกับดอลลาร์อีกครั้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยหวังว่า EUR/USD จะยังคงสามารถตัดผ่านแนวรับที่ 1.1700 ได้สำเร็จ ในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่เหลือจำนวน 40% คาดว่าราคาจะขยับอยู่ในกรอบด้านข้างที่ 1.1700-1.1910 ซึ่งเป็นคำคาดการณ์ที่เกิดขึ้นจริง นอกจากนี้ ราคายังปิดตลาดใกล้กับกรอบด้านบนของช่วงดังกล่าว
ราคาที่ขยับสูงขึ้นและดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงถูกโยนความผิดให้กับถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟด ในการประชุมที่เมืองแจ็คสันโฮล ซึ่งนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าเป็นถ้อยแถลงสำคัญครั้งประวัติศาสตร์ ธนาคารเฟดฯ ได้ตัดสินใจอย่างจริงจังมากที่สุดในการดำเนินนโยบายทางการเงินเริ่มตั้งแต่ปี 2012 ในตอนนั้นมีการประกาศเป้าหมายว่าจะคง “อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ 2%” นี่หมายความว่า ธนาคารฯ จะไม่ใช้นโยบายการเงินที่รัดเข็มขัด แม้ว่าระดับเงินเฟ้อขยับเกิน 2% ดังกล่าว
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าธนาคารฯ จะดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนปรนในช่วงหลายเดือนหรืออาจหลายปีข้างหน้า และที่สำคัญ นักลงทุนไม่ต้องคาดหวังว่าจะได้เห็นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของดอลลาร์ เจอโรม พาวเวลล์ ยังเน้นด้วยว่า เศรษฐกิจของประเทศซึ่งกำลังฟื้นตัวจากภาวะถดถอย จำเป็นต้องรักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ
ด้วยเหตุนี้ ดอลลาร์จึงอ่อนค่าลง เกิดเป็นสัญญาณการเทขายหนี้ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการเทขายที่ไม่ใช่แค่ในระยะยาวเท่านั้น แต่รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นด้วยเช่นกัน เมื่อรวมกันแล้วจึงเกิดเป็นวงจรอุบาทว์อย่างหนึ่ง เนื่องจากเมื่อความสนใจในตราสารหนี้เหล่านี้หมดไป ก็จะส่งผลเป็นแรงกดดันต่อเงินดอลลาร์ ซึ่งอาจทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินคู่แข่ง
ความตระหนักรู้ของตลาดในสถานการณ์เช่นนี้ทำให้ราคา EUR/USD เมื่อช่วงวันพฤหัสบดี-ศุกร์ ขยับขึ้นไปยังกรอบด้านบนของช่อง 1.1700-1.1910 และปิดตลาดรอบสัปดาห์ที่ 1.1900 - GBP/USD เงินปอนด์ยังคงไต่ขึ้นสู่ระดับสูงสุดของปี 2019 ที่ 1.3515 และเข้าใกล้กับเป้าดังกล่าวตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว จึงทำราคาขึ้นมา 280 จุดจนถึง 1.3350 เงินปอนด์ยังคงได้รับแรงหนุนจากปัจจัยทั้งดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และบทบาทที่อ่อนแอลงของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ
หนังสือพิมพ์ The Times รายงานว่า นายบอริส จอห์นสัน กำลังประสบปัญหาจากผลที่ตามมาของโรค COVID-19 และด้วยเหตุนี้ เขาอาจลาออกจากตำแหน่งในช่วงปลายการเปลี่ยนผ่าน Brexit ซึ่งก็คือสิ้นปีนี้ และเนื่องจากนายจอห์นสันสนใจที่จะก้าวออกจากตำแหน่งในจังหวะที่รุ่งโรจน์มากที่สุด การแยกตัวของสหราชอาณาจักรออกจากอียูอาจเป็นไปอย่างราบรื่น โดยอังกฤษไม่เสียการเข้าถึงตลาดเดี่ยวของยุโรปและสหภาพศุลกากร และเหตุการณ์นี้ก็จะส่งผลให้เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นโดยปริยาย - USD/JPY ราคาคู่นี้ซื้อขายในช่วง 105.10-107.00 มาเป็นเวลาสี่สัปดาห์ติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ความผันผวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงไม่กี่วันล่าสุด และเหตุผลหลักไม่ใช่เพราะถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดแต่อย่างใด หากแต่เป็นรายงานข่าวที่ระบุว่า นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่นจะลาออกจากตำแหน่งเนื่องด้วยเหตุผลทางสุขภาพ
สารข้อความดังกล่าวทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้น 175 จุด เพราะอะไร? คำถามนี้ค่อนข้างซับซ้อน นักวิเคราะห์บางส่วนอธิบายว่า นายอาเบะเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เขาและนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ประธานธนาคารกลางญี่ปุ่น ได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อกันไม่ให้เงินเยนแข็งค่าขึ้น ทั้งการคงอัตราดอกเบี้ยติดลบ ซึ่งนโยบายดังกล่าวเรียกขานว่าเป็น “อาเบะโนมิกส์” (Abenomics) แม้ว่าหลายคนอาจมองว่าควรจะเรียกว่า “คุโรดะโนมิกส์” น่าจะถูกต้องมากกว่าก็ตาม
นายชินโซ อาเบะ จะลงจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรีและยุค “อาเบะโนมิกส์” อาจจะจากไปตามเขาด้วยเช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่านโยบายการคลังที่เข้มงวดนั้นจะเริ่มผ่อนปรนมากขึ้นและเงินเยนจะแข็งค่าขึ้น
ในระหว่างนี้ ตามที่เราได้ระบุไปข้างต้น ยังไม่มีอะไรที่จริงจังเกิดขึ้น เงินเยนยังคงเทรดในกรอบของเดือนสิงหาคมและปิดตลาดรอบห้าวันทำการที่ 105.35 - คริปโตเคอเรนซี แม้ว่าเมื่อช่วงหนึ่งปีที่แล้ว บิทคอยน์ไม่สามารถยืนเหนือ $12,000 ได้สำเร็จ สถานการณ์ยังคงดูสดใสสำหรับบิทคอยน์ เหตุผลประการแรกก็คือ นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของบรรดาธนาคารกลางต่าง ๆ ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไร ประการที่สองคือ เราได้เห็นแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องของจำนวนบริษัทและบริการที่เริ่มรับคริปโตเคอเรนซีเป็นสื่อกลางในการชำระเงิน ทัศนคติต่อสินทรัพย์ดิจิทัลและธนาคารกลางหลายแห่งเริ่มเป็นไปในทางที่ดีมากขึ้น ในที่นี้ นักวิเคราะห์มองว่า การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง เพราะทำให้ชีวิตส่วนใหญ่ของเราอยู่บนโลกออนไลน์เป็นหลัก ดูเหมือนว่าแม้แต่ FATF (คณะทำงานด้านการเงิน Financial Action Task Force) ก็เริ่มยอมรับอุตสาหกรรมเงินคริปโตบ้างแล้ว
การเทรดคริปโตเคอเรนซีผ่านแอปมือถือเพิ่มขึ้น 81% เทียบกับเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว โดยจากรายงานล่าสุดของบริษัทวิเคราะห์ Apptopia ระบุว่า ธุรกรรมประเภทดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละเดือนทั้งในส่วนจำนวนผู้ใช้งานประจำและผู้ลงทะเบียนรายใหม่ แอปมือถืออย่าง Coinbase และ Crypto.com ก็รายงานสถิติผู้ใช้งานต่อวันสูงสุดถึง 969,000 และ 576,000 ตามลำดับเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม
จำนวนนักลงทุนระยะยาวรายใหญ่ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จากรายงานของ Glassnode ปัจจุบันมีวอลเล็ตจำนวน 2,190 วอลเล็ตที่มีเหรียญ BTC อยู่ในกระเป๋ามากกว่า 1,000 เหรียญขึ้นไป โดยรวมแล้ว กระเป๋าวอลเล็ตเหล่านี้บรรจุบิทคอยน์เกือบ 8 ล้านเหรียญคิดเป็นเงินรวมแล้วมากกว่า $90 พันล้านดอลลาร์ และนี่ถือเป็นแรงจูงใจที่เข้มแข็งสำหรับศักยภาพการเติบโตของ BTC/USD
ในระหว่างนี้ บิทคอยน์ยังคงอยู่ที่ระดับ Pivot Point ของสัปดาห์ที่แล้วที่ $11,500 ซึ่งราคาได้เคลื่อนที่ตามกรอบดังกล่าวมาตลอดสัปดาห์ BTC/USD อยู่เหนือเส้นดังก่ลาวในช่วงแรกของรอบเจ็ดวัน จากนั้นก็ขยับลงมายังแนวรับที่ $11,000 แต่ไม่นานนักก็กลับขึ้นมาอีก $400 สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะการแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟดในการประชุมที่แจ็คสันโฮล ซึ่งทำให้ดอลลาร์อ่อนค่า และราคาสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ เติบโตขึ้น รวมถึงทองคำและบิทคอยน์
มูลค่ารวมในตลาดของบิทคอยน์ลดลงในรอบเจ็ดวันแต่ไม่มากเท่าใดนัก จาก $366 พันล้าน เหลือ $360 พันล้านเหรียญ ดัชนี Crypto Fear & Greed Index ขยับออกจากไตรมาสสุดท้าย จาก 81 จุดมาที่ 74 จุด นักพัฒนาดัชนีนี้ชี้ว่า สัญญาณดังกล่าวแปลว่าช่วง overbought ของ BTC กำลังจะค่อย ๆ เลือนหายไป ดังนั้นตอนนี้อาจเป็นเวลาที่อันตรายที่จะเปิดตำแหน่งขาย
สำหรับบทวิเคราะห์ของสัปดาห์นี้ เราได้สรุปความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์มากมาย รวมถึงคำคาดการณ์ที่วิเคราะห์จากพื้นฐานทางเทคนิคและสถิติกราฟต่างๆ โดยเราสามารถสรุปผลวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้:
- EUR/USD การกล่าวในที่ประชุมแจ็คสันโฮลของนายเจอโรม พาวเวลล์ จริง ๆ แล้วนั้นไม่ต่างอะไรกับการเฉือนปีกของดอลลาร์ เขาพูดอย่างชัดเจนว่า อัตราดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไปแม้ว่าในกรณีที่มีแรงกดดันจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ชัดเจนว่านี่คือสัญญาณตลาดหมีสำหรับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งยิ่งเป็นการเสริมความน่าจะเป็นที่ยูโรหรือสกุลเงินหลักอื่น ๆ จะแข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์
ในทางกลับกัน ธนาคารเฟดยังไม่มีแผนการที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าระดับศูนย์ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยบวกปานกลางสำหรับอัตราแลกเปลี่ยน USD นอกจากนี้ยังควรคำนึงว่า ธนาคารกลางอื่น ๆ อาจดำเนินกา่รตามทิศทางของธนาคารเฟดสหรัฐฯ โดยไม่มีการปรับลด แต่ยังคงเพิ่มและขยายมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไป ตัวอย่างเช่น ธนาคารกลางยุโรปอาจมีท่าทีที่ใกล้เคียงกับธนาคารเฟด ซึ่ง ณ ตอนนี้ นายฟรังซัวส์ วิลล์รอย เดอ กัลอาว ประธานธนาคารกลางฝรั่งเศส ได้พูดถึงเป้าหมายระดับเงินเฟ้อที่ใกล้เคียงกัน ธนาคารกลางประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มยูโรโซน ซึ่งกำลังประสบกับยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ก็เข้าร่วมเป็นเสียงเดียวกันเช่นกัน ดังนั้นภาวะอ่อนค่าลองของเงินดอลลาร์ก็ยังอาจไม่ชัดเจนตามที่มองเห็นในแวบแรก
ณ ตอนนี้ หากคุณดูที่อินดิเคเตอร์ สถานการณ์ยังคงไม่เข้าข้างดอลลาร์เท่าใดนัก 85% ของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ H4 และ D1 เป็นสีเขียว 15% อยู่ในโซน overbought ในบรรดาอินดิเคเตอร์เทรนด์มีสัดส่วนที่เห็นด้วยว่า EUR/USD จะขยับขึ้นถึง 100% ในกรอบ H4 และ 95% ในกรอบ D1
อย่างไรก็ตาม ในความเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลับให้ภาพที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง 60% ของผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าราคาจะคงตัวในช่วงราคา 1.1700-1.1910 และเนื่องจากราคาปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วที่กรอบด้านบน นี่หมายความว่าการกลับตัวของเทรนด์และราคาอาจกลับมายังที่ระดับ 1.1700 ส่วนนักวิเคราะห์ 40% ที่เหลือโหวตว่าราคาจะตัดทะลุกรอบด้านบน และดอลลาร์จะอ่อนค่าลงต่อไป ทำให้ราคาขยับขึ้นไปในตอนต้นที่ 1.1950 และจากนั้นจะขยับไปที่ระดับสำคัญคือ 1.2000
การวิเคราะห์กราฟก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ในกรอบ D1 ให้การคาดการณ์ของเดือนกันยายนดังนี้: ในตอนแรกราคาจะปรับลงมาที่ 1.1700 จากนั้นดีดขึ้นไปที่ 1.2035 ตามมาด้วยการขยับในกรอบด้านข้างที่ 1.1900-1.2035
เรามาพูดถึงเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจมหภาคที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้านี้เล็กน้อย ในวันอังคารที่ 1 กันยายน เราจะได้ทราบข้อมูลตลาดผู้บริโภคของยูโรโซน ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจของ ISM สหรัฐฯ ซึ่งจะประกาศขึ้นในวันที่ 1 และ 3 กันยายน และในวันศุกร์ที่ 4 กันยายน ตามธรรมเนียมนั้น เราจะได้ทราบภาพรวมของตลาดแรงงานในสหรัฐฯ รวมถึงจำนวนตำแหน่งานใหม่นอกภาคการเกษตร (NFP) - GBP/USD ชัดเจนว่าอินดิเคเตอร์เทรนด์ 100% ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาให้สัญญาณทางทิศเหนือ แต่ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บน H4 และ D1 มี 25% ให้สัญญาณแล้วว่าเงินปอนด์อยู่ในโซน overbought ส่วนผู้เชี่ยวชาญจำนวน 55% ก็สนับสนุนแรงฝั่งกระทิงเช่นกัน นอกจากนี้ เมื่อเราปรับจากการคาดการณ์รายสัปดาห์เป็นรายเดือน ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 80% โดยมีโซนแนวรับที่ 1.3275, 1.3155 และ 1.3050
คู่ GBP/USD ได้ปิดตลาดล่าสุดที่ 1.3350 ซึ่งเป็นระดับแนวต้านที่ค่อนข้างสำคัญ ซึ่งราคาได้ตัดผ่านไม่สำเร็จมาตั้งแต่ทั้งเดือนกรกฎาคม 2018 และเดือนมีนาคม 2019 ดังนั้นจึงมีโอกาสมากที่ราคาจะดีดกลับจากแนวต้านดังกล่าวและปรับตัวลงมา ในทางกลับกัน แรงดันของฝั่งกระทิงที่จะทำสถิติราคาสูงสุดใหม่ 1.3515 ของปี 2019 ก็เป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่สนับสนุนดอลลาร์ที่กำลังอ่อนแรง
เช่นเดียวกับในกรณี EUR/USD การวิเคราะห์ในกรอบ D1 น่าสนใจเช่นกัน โดยชี้ว่าราคาอาจขยับถึง 1.3515 ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ หลังจากนั้นราคาจะดีดกลับลงมา โดยในตอนแรกจะลงมาที่แนวรับ 1.3275 และจากนั้นจะลงต่อมาที่ 1.3050
ราคาอาจมีการปรับตัวในช่วงวันพุธที่ 2 กันยายน หลังมีการประกาศรายงานระดับเงินเฟ้อของธนาคารแห่งชาติอังกฤษ และถ้อยแถลงของนายแอนดริว ไบเลย์ ในวันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายนนี้
- USD/JPY การคาดการณ์ของคู่นี้ใกล้เคียงกับที่ให้มาสำหรับคู่ยูโรและปอนด์ อินดิเคเตอร์หลายตัวชี้ว่า ดอลลาร์จะอ่อนค่าลงต่อไป ในทางกลับกัน ผู้เชี่ยวชาญมองว่าจะแข็งค่าขึ้น
อินดิเคเตอร์เทรนด์ 100% และออสซิลเลเตอร์ 75% ก็ให้สัญญาณสีแดง ในส่วนออสซิลเลเตอร์ 25% ที่เหลือบนทั้งสองกรอบเวลา H4 และ D1 ให้สัญญาณว่าราคาอยู่ในโซน oversold
นักวิเคราะห์ 65% เชื่อว่าคู่ USD/JPY จะไม่ขยับออกจากกรอบ 105.10-107.00 และมีเพียง 35% เท่านั้นที่เชื่อว่าราคามีโอกาสเป็นไปได้ที่จะทำราคาต่ำสุดของวันที่ 31 กรกฎาคมที่ 104.18 - คริปโตเคอเรนซี ณ ตอนนี้ มูลค่ารวมในตลาดเงินคริปโตอยู่ที่เพียง $360 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็น 25 -30% ของมูลค่ารวมของบริษัท Microsoft, Apple หรือ Amazon แต่เงินคริปโตนั้นไม่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่เป็นอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่เป็นศูนย์รวมบริษัทหลายพันแห่งรอบโลก นี่เป็นเหตุผลรองรับว่าทำไมตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลถึงมีการประเมินค่าต่ำกว่าที่ควรเป็นจริงมาก
รายงานฉบับใหม่โดยกองทุนเงินคริปโต Grayscale Investments ระบุว่า โครงสร้างปัจจุบันของตลาด BTC คล้ายกันกับของช่วงต้นปี 2016 ก่อนแนวโน้มการเติบโตกระทิงครั้งประวัติศาสตร์เริ่มขึ้น นักวิเคราะห์กองทุนทำนายว่า ความต้องการถือบิทคอยน์จะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเมื่อระดับเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น
การเติบโตของบิทคอยน์นั้นจะมาจากวิกฤติธนาคารรอบโลกครั้งใหม่ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งสถานการณ์นี้ก็ประกาศโดยเจ้าของหนังสือเล่มในตำนานอย่าง “Rich Dad Poor Dad” โดยนายโรเบิร์ต คีโยซากิ นักลงทุนและผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ภาวะช็อคที่จะมาถึงในความเห็นของเขานั้นจะมีผลเป็นวงกว้างมากกว่าวิกฤติการเงินครั้งล่าสุด นักลงทุนจำเป็นต้องเร่งเข้าหา “หลุมหลบภัย” คีโยซากิเขียนบนทวิตเตอร์โดยเขาเน้นย้ำว่า หลักฐานภาวะวิกฤติที่จะมาถึงนั้นก็คือ นักการเงินรายใหญ่ เช่น วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้เริ่มขายสินทรัพย์กลุ่มธนาคารแล้ว “บางที ผู้คนอาจรู้สึกว่า วิกฤติใกล้เข้ามาและจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงินดั้งเดิมเป็นอันดับแรก” กล่าวโดยนายคีโยซากิ ในความเห็นของเขานั้น สิ่งที่ต้องทำในขณะนี้คือการย้ายเงินไปที่สินทรัพย์ที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า เช่น บิทคอยน์ ทองคำ และเงิน
ณ ตอนนี้ นักวิเคราะห์มองว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาคือหนึ่งในปัจจัยกระตุ้นหลักของ BTC/USD ที่ทำให้นักลงทุนหลายรายหันมาให้ความสนใจกับบิทคอยน์และเหรียญดิจิทัลอื่น ๆ นอกจากนี้ เจอโรม พาวเวลล์ ก็กล่าวด้วยว่า ธนาคารเฟดจะไม่ใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลดีต่อราคาบิทคอยน์
ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิคบางส่วนเล็งเห็นแนวโน้มว่าราคาจะสามารถตัดผ่านระดับ $12,000 และจะขึ้นไปที่ $40-45,000 ในกรอบเวลา W1 และ MN อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้นี้ นักวิเคราะห์ 65% คาดการณ์ว่า BTC/USD จะขยับตามจุด Pivot Point ที่ $11,000 โดยอาจจะขยับไปทางใต้ที่ $9,500 หรือ $12,800 ในทางเหนือ นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญอีก 20% ยังเชื่อว่าบิทคอยน์จะสามารถแตะที่ระดับ $14,000 ได้ในเดือนกันยายนนี้
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ