อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
- EUR/USD คำแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟดสหรัฐฯ ที่การประชุมเมืองแจ็คสันโฮลเป็นที่พูดถึงมากที่สุดในหมู่นักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญ ธนาคารเฟดฯ ได้ตัดสินใจมีท่าทีที่จริงจังที่สุดในการดำเนินนโยบายทางการเงินมาตั้งแต่ปี 2012 โดยประกาศแผนการกำหนดเป้าหมาย “ระดับเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ 2%” นี่หมายความว่า ธนาคารฯ จะไม่ใช้นโยบายการเงินแบบรัดเข็มขัดแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเกินระดับ 2% ดังกล่าว
ในถ้อยแถลงนี้ คำพูดของนายพาวเวลล์ทำให้เงินดอลลาร์ถูกโจมตีอีกครั้ง ซึ่งเป็นการอ่อนค่าลงซ้ำแล้วซ้ำเล่านับตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2020 มาตรการการพิมพ์ธนบัตรของธนาคารเฟดฯ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดและการปรับอัตราดอกเบี้ยลดลงทำให้ราคา EUR/USD ขยับขึ้นมาจาก 1.0635 ถึง 1.2000 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เงินยูโรแข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์ 13% ซึ่งก็เลวร้ายมากพอสำหรับเศรษฐกิจยุโรปเช่นกัน
เมื่อช่วงปี 2015-2016 นายมารีโอ ดรากีห์ อดีตประธานธนาคารเฟดฯ ได้เริ่มใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์กับยูโรลงไปถึง 1.0500 ซึ่งแทบจะเป็นหนึ่งต่อหนึ่งขนานกันกับดอลลาร์ เงินยูโรที่อ่อนค่าส่งผลให้ระดับเงินเฟ้อสูงขึ้น และเศรษฐกิจเติบโตขึ้นในอียู เป็นการกระตุ้นศักยภาพในการส่งออกของกลุ่มยูโรโซน และสินค้าราคาถูกมากขึ้นสำหรับผู้บริโภคนอกยุโรป อย่างไรก็ตาม ในปี 2018 ยูโรแข็งค่าขึ้นอีกครั้งจากประมาณ 1.2000 และก็ปรับลงอีกครั้งหนึ่งด้วยความยากลำบาก จนถึงตอนนี้เราก็ได้เห็นราคาที่ 1.2000 อีกครั้ง
ชัดเจนว่า การจะพลิกเทรนด์ให้กับลงทิศใต้ได้นั้น ธนาคารฝั่งยุโรปจะต้องใช้มาตรการนโยบายทางการเงินที่เด็ดขาดมาก ในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ นายฟิลิป เลน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางยุโรปได้กล่าวถึงความสำคัญของอัตราแลกเปลี่ยนนี้สำหรับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของยูโรโซน คำพูดของเขาทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เราอาจต้องจับตารอดูเหตุการณ์สำคัญในสัปดาห์หน้านี้ ซึ่งในวันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายนจะมีการจัดการประชุมครั้งถัดไปของธนาคารกลางยุโรป ซึ่งเราจะกล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ในช่วงครึ่งหลังของบทความต่อไป
และตอนนี้ก็มาถึงบทวิเคราะห์ที่เคยให้ไว้โดยผู้เชี่ยวชาญในสัปดาห์ที่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญ 60% ได้มองว่า EUR/USD จะยังวิ่งตามกรอบที่ 1.1700-1.1910 ส่วน 40% ที่เหลือโหวตว่าราคาจะตัดทะลุกรอบด้านบนของช่องและราคาจะขึ้นไปที่ระดับสัญลักษณ์ที่ 1.2000 หากคุณดูที่กราฟจะเห็นได้ชัดว่าทั้งสองกลุ่มนั้นคาดการณ์ได้อย่างถูกต้อง โดยราคาได้ขยับถึง 1.2000 จริง แต่ไม่สามารถยืนเหนือระดับดังกล่าวและตกลงมาที่ระดับ 1.1780 อย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะปิดตลาดที่ 1.1780 ซึ่งแปลว่า ราคาได้ขยับในกรอบขาขึ้นอย่างราบรื่นโดยมีช่วงความกว้างที่ประมาณ 200 จุดเป็นเวลาห้าสัปดาห์แล้ว ทำให้เรากล่าวได้ว่าสถานการณ์ที่เทรนด์จะกลับตัวโดยเป็นผลดีกับดอลลาร์นั้นยังไม่เกิดขึ้น - GBP/USD โดยทั่วไป กราฟรอบสัปดาห์ของคู่นี้เดินตามรอยคู่ EUR/USD ข้อแตกต่างก็คือ หากค่าเงินยูโรกลับมาในช่วงตรงกลางของช่องขาขึ้นระยะกลางในที่สุด เงินปอนด์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่ราคาปิดตลาดท้ายสัปดาห์ใกล้บริเวณกรอบด้านบนที่ 1.3275 อย่างไรก็ตาม ตลาดกระทิงไม่สามารถทำราคาสูงสุดของปี 2019 ได้สำเร็จที่ 1.3515 แนวโน้มขาขึ้นจึงหยุดลงที่บริเวณ 1.3482
- USD/JPY ตลาดยังคงปกคลุมไปด้วยสถานการณ์ความเสี่ยงมากกว่าดัชนีเศรษฐกิจมหภาคพ นักลงทุนหลายคนได้คาดการณ์ว่า การประกาศสถิติตลาดแรงงานสหรัฐฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 4 กันยายนที่ผ่านมาอาจส่งผลต่อคู่ USD/JPY อย่างไรก็ตาม ไม่มีเหตุการณ์ใดที่น่าประหลาดใจเกิดขึ้น ในตอนแรกราคาปรับขึ้นเล็กน้อยประมาณ 30 จุด และจากนั้นก็กลับสู่ตำแหน่งเดิม
คำทำนายในครั้งที่แล้วเป็นของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ (65%) ที่ชี้ว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น และราคาจะไม่ออกจากกรอบ 105.10-107.00 ซึ่งนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง นับตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมา ดอลลาร์ขยับขึ้นจนทำระดับ 106.55 เมื่อวันพฤหัสบดี โดยขึ้นมาทั้งหมด 120 จุด สำหรับในช่วงปิดตลาด ราคาปิดตัวที่ระดับ 106.22 - คริปโตเคอเรนซี นายวอร์เรน บัฟเฟตต์ หนึ่งในคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลกได้ลงทุนเป็นเงิน $6 พันล้านเหรียญดอลลาร์ในหุ้นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น นายแม็ก ไคเซอร์ กูรูเงินคริปโตและผู้รายงานข่าวทีวีชื่อดังกล่าวว่า นายบัฟเฟตต์กำลังหนีออกจากเงินดอลลาร์ด้วยวิธีนี้ ซึ่งเมื่อดอลลาร์อ่อนค่าจะทำให้ราคาสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ ขยับขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ทองคำ และบิทคอยน์
บางทีคำพูดของนายไคเซอร์อาจฟังดูมี้หตุผล อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ราคาทองคำนั้นได้ดิ่งลงมาที่ 7% และบิทคอยน์ยังคงไม่สามารถยืนเหนือระดับสำคัญที่ $12,000 ได้สำเร็จในช่วงเดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม
นักวิเคราะห์ของเราได้ทำนายว่า คู่ BTC/USD จะขยับอยู่ตามแนว Pivot Point ที่ $11,000 โดยจะดิ่งลงไปที่ $9,500 ครั้งหนึ่ง และจะขึ้นไปที่ $12,800 และสถานการณ์นี้เกิดขึ้นจริง เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดกระทิงดันราคาขึ้นไปอีกรอบหนึ่ง แต่แทบจะขึ้นไม่ถึงระดับ $12,050 บรรดาเหล่านักขุดเหรียญที่คาดหวังว่าราคาจะขึ้นไปอีกนั้น เก็บจำนวนเงินคริปโตในวอลเล็ตของพวกเขาเป็นมูลค่ามากกว่า $20 พันล้านเหรียญ (1.82 ล้าน BTC) และก็เริ่มขายเหรียญเหล่านี้ เงินบิทคอยน์ที่ไหลออกจากกระเป๋าวอลเล็ตของพวกเขาคิดเป็นเหรียญจำนวนมากกว่า 1,500 BTC ตั้งแต่วันพุธถึงพฤหัสบดีตามรายงานของ CryptoQuant แน่นอนว่านี่เป็นจำนวนไม่มาก แต่ผลปรากฏว่ากลับมากเพียงพอที่จะทำให้ฝั่งตลาดหมีเข้าคุมตลาดโดยสิ้นเชิง ราคาจึงดิ่งลงมาเกือบ 17% และขยับมาที่ $10,000 เมื่อวันศุกร์ที่ 4 กันยายน ในทางกลับกัน เงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นซึ่งตรงกันข้ามกับคำคาดการณ์ของนายไคเซอร์นั้นก็ส่งผลให้ราคาทรุดตัวลงเช่นเดียวกัน
มูลค่ารวมของตลาดเงินคริปโตลดลงจาก $ 360 พันล้านเหรียญ เหลือ $ 334 พันล้านเหรียญในเจ็ดวัน นอกจากนี้ มูลค่ารวมดังกล่าวขยับถึง $393 พันล้านดอลลาร์ซึ่งเป็นมูลค่ารวมสูงสุดเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม แปลว่าตลาดหดตัวลง 15% ในเวลาเพียงสองวัน ดัชนี Bitcoin Fear & Greed Index ก็ปรับลดลงมาจาก 74 จุดเหลือ 40 และเช่นเดียวกันนั้น สัญญาณจาก RSI ชี้ว่าราคาอยู่ในโซนที่มีแรงซื้อมากเกินไป (overbought)
ส่วนแบ่งในตลาดของบิทคอยน์นั้นลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อช่วงต้นปีนี้ ส่วนแบ่งของบิทคอยน์คิดเป็นประมาณ 70% ขณะนี้ลดลงเหลือ 58% แต่ในขณะที่ส่วนแบ่งในตลาดของ Ethereum ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขึ้นมาจาก 7.29% เป็น 12.90% นักขุด ETH ทำเงินสูงสุดถึง $17 ล้านเหรียญเมื่อวันที่ 1 กันยายนอันเนื่องมาจากความต้องการสูงในบล็อกเชนของโปรเจ็คนี้ เดิม นายวิทาลิค บูเทอริน ผู้ก่อตั้ง Ethreum ได้ประกาศว่าบล็อกเชนของเขาเป็นพื้นฐานการทำธุรกรรมของบริการเงินคริปโตอื่น ๆ ซึ่งยิ่งกระตุ้นกระแสความสนใจในเงินสกุลนี้ อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ควรคำนึงด้วยว่าเมื่อเทียบกับบิทคอยน์นั้น BTC/USD ปรับลดลงมาเพียง 17% “เท่านั้น” ในขณะที่ของ ETH/USD ลดลงมาสูงสุดเกิน 27%
สำหรับบทวิเคราะห์ของสัปดาห์นี้ เราได้สรุปความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์มากมาย รวมถึงคำคาดการณ์ที่วิเคราะห์จากพื้นฐานทางเทคนิคและสถิติกราฟต่างๆ โดยเราสามารถสรุปผลวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้:
- EUR/USD อย่างที่ระบุข้างต้น ธนาคารกลางยุโรปจำเป็นจะต้องเริ่มสิ่งที่เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นสงครามนโยบายทางการเงินและการคลังกับธนาคารดเฟด เพื่อที่จะพลิกอัตราแลกเปลี่ยนให้กลับลดลงมา ผลลัพธ์นี้จะขึ้นอยู่กับว่าทางอียูและสหรัฐฯ พร้อมมากแค่ไหนที่จะเผชิญหน้าต่อรองกัน
การประชุมของธนาคารกลางยุโรปจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายนนี้ และจะตามมาด้วยการแถลงข่าวของนางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางฯ ซึ่งเธออาจให้สัญญาณว่าธนาคารฯ มีศักยภาพในการใช้มาตรการใดบ้างในสงครามรอบนี้ นักวิเคราะห์จาก Bloomberg เชื่อว่าธนาคารกลางยุโรปจะเพิ่มโครงการจัดซื้อสินทรัพย์ฉุกเฉิน €350 พันล้านยูโรภายในสิ้นปีี 2020 ตลอดจนปริมาณอุดหนุนด้วยโครงการอื่น ๆ อีก €220 พันล้านยูโร ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นว่า การขยายมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ดังกล่าวนี้ ไม่น่าจะส่งผลดีต่อระบบธนาคารของโลกเก่า (ที่เต็มไปด้วยเงินที่ไม่สามารถอ้างสิทธิ์ได้) แต่จะช่วยให้ยูโรอ่อนค่าได้ การปรับลดต้นทุนสินเชื่อระหว่างธนาคารต่าง ๆ ยิ่งลดต่ำเท่าใด จะยิ่งส่งผลเป็นแรงกดดันต่อค่าเงินยูโรมากเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังไม่เป็นที่แน่นอนใด ๆ ว่า ชัยชนะในสงครามอัตราแลกเปลี่ยนครั้งนี้จะเป็นของฝั่งยุโรปหรือไม่ นักวิเคราะห์จากสำนักข่าว Reuters หลายคนมองว่า ธนาคารฯ เฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่บริเวณระดับ 0 ต่อไป และเศรษฐกิจยูโรโซนจะฟื้นตัวแซงหน้าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และอัตราแลกเปลี่ยน EUR/USD อาจขยับขึ้นมาที่ 1.2100
ในระหว่างนี้ การคานกันในผลการโหวตของผู้เชี่ยวชาญ มีดังนี้: 50% คาดว่าราคาจะสามารถตัดผ่านแนวรับในโซน 1.1700 และลงมาอีกอย่างน้อย 100 จุด ส่วนนักวิเคราะห์อีก 30% เชื่อว่าราคาจะซื้อขายอยู่ในกรอบ 1.1700-1.2010 และกลุ่มสุดท้าย 20% และการวิเคราะห์กราฟ D1 หวังว่าราคาจะพยายามจะวิ่งขึ้นไปที่ 1.2100 ภายในช่วงกลางเดือนกันยายน
- GBP/USD เช่นเดียวกันกับเพื่อนบ้านทั้งทางตะวันตกและตะวันออก สหรัฐฯ และอียูนั้น หนึ่งในปัจจัยตัดสินชะตาสำหรับเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรคือการเอาชนะผลกระทบของวิกฤติ COVID-19 และมาตรการที่จะใช้ในการรับมือปัญหานี้ นายริชชิ ซูนัค รัฐมนตรีกระทรวงการคลังคนใหม่ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งในปีนี้ วางแผนที่จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายชุดตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน เช่น การช่วยเหลือร้านอาหาร อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้สูงที่มาตรการเหล่านี้จะไม่มีอิทธิพลสำคัญต่อค่าเงินปอนด์อังกฤษ นอกจากนี้ รัฐบาลยังตั้งเป้าไปที่แผนโครงการ QR อื่น ๆ ก่อนในขณะนี้
การลดโครงการเพื่อรักษาพนักงานที่ลางานโดยไม่ได้รับเงินเดือนในวันที่ 31 ตุลาคมนี้อาจมีความสำคัญต่อตลาดมากกว่า อีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สำคัญคือการประชุมซัมมิทเบร็กซิตกับอียู แต่จะจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนตุลาคมเท่านั้น และอาจมีอีกหลายความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ก่อนหน้านั้น
ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (60%) เชื่อว่า เงินปอนด์ได้หมดแรงขึ้นสู่ทิศเหนือแล้ว และจำนวนผู้สนับสนุนฝั่งตลาดหมีเพิ่มขึ้นเป็น 70% โดยมีแนวรับสำคัญที่ใกล้ที่สุดในบริเวณโซน 1.3000
ในส่วนอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคให้สัญญาสามสีทั้งแดง เทา และเขียวในกรอบ H4 เช่นเดียวกันกับคู่ EUR/USD อย่างไรก็ตาม ฝั่ง “สีเขียว” นั้นดูมีความได้เปรียบมากกว่าในกราฟกรอบ D1 ซึ่งมีออสซิลเลเตอร์สนับสนุนจำนวน 55% และอินดิเคเตอร์เทรนด์ 80%
สำหรับการวิเคราะห์กราฟแสดงถึงการเคลื่อนที่ด้านข้างในตอนแรกของราคาในกรอบ 1.3065-1.3385 จากนั้นราคาจะลงมาที่โซน 1.2900 และกลับมาที่ระดับ 1.3275 ทั้งหมดนี้อาจเกิดขึ้นภายใน 14 วันข้างหน้า ส่วนเป้าหมายถัดไปของคู่นี้ ได้แก่ 1.3480 และระดับสูงสุดของปี 2019 ที่ 1.3515 - USD/JPY หากคุณดูที่กราฟ คุณจะเห็นได้ว่าเริ่มตั้งแต่สิบวันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ ราคาได้แข็งตัวอย่างช้า ๆ ที่บริเวณ 106.00 ผู้เชี่ยวชาญยังไม่เห็นเหตุผลสำคัญที่ราคาจะออกจากกรอบ 105.10-107.00 ณ ตอนนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อปรับมาดูที่การวิเคราะห์ในกรอบเดือน ราคาอาจลดลงมาที่ราคาต่ำสุดของวันที่ 31 กรกฎาคม คือ 104.18 ในกรณีที่ราคาตัดผ่านกรอบด้านบนของราคา จะมีแนวต้านใกล้ที่สุดที่ 107.50 และแนวต้านถัดที่ 108.15
- คริปโตเคอเรนซี ผลที่ตามมาของมาตรการต่าง ๆ โดยระบบธนาคารเฟดของสหรัฐฯ นั้นมีความสำคัญมาก ทำให้แม้แต่ผู้นำของบริษัทการชำระเงินยักษ์ใหญ่อย่าง Visa เริ่มพูดถึงบิทคอยน์ เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม หลังจากคำแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟด เกี่ยวกับแผนการของธนาคารฯ ดัชนีดอลลาร์ DXY ดิ่งลงมาที่ระดับต่ำสุดที่ 92.14 นายแอนดี ยี ผู้อำนวยการด้านนโยบายสาธารณะของบริษัท Visa ทวีตข้อความว่า “คำกล่าวของเจอโรม พาวเวลล์ ในวันนี้จะตราลงในหนังสือประวัติศาสตร์ นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้เห็นกลุ่มเล็ก ๆ กอบโกยอะไร ๆ มากมายจากคนหลาย ๆ คน จงปกป้องตนเองด้วยบิทคอยน์”
อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่า ตลาดนั้นยังไม่พร้อมที่จะทำตามคำขอของนายยี ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (60%) มีแนวโน้มที่จะเชื่อว่า บิทคอยน์อาจจะม้วนตัวกลับลงมาต่ำกว่า $10,000 ในอนาคตอันใกล้ และในอันดับแรกนั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับการฟื้นคืนความสนใจในเงินดอลลาร์ของหมู่นักลงทุน
หากบิทคอยน์ตัดทะลุ $10,000 การดีดกลับอาจกินเวลาหลายเดือน ซึ่งเป็นความเห็นของนักวิเคราะห์จากบริษัทการเงิน Crypterium ตามกฎแล้ว บิทคอยน์รู้สึกไม่แน่ใจในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง แต่การขาดทุนสะสมเปิดโอกาสให้ราคาอาจทะยานขึ้นครั้งใหญ่รอบใหม่ในช่วงใกล้ปีใหม่
คำคาดการณ์หลักสำหรับสัปดาห์หน้านี้แทบจะเหมือนเดิมโดยมีการเปลี่ยนแปลงปรับลดลง 500 จุด: คู่ BTC/USD จะขยับตามแนว Pivot Point ที่ $10,500 โดยอาจมีการเทขายลงไปที่ $9,000 และดีดขึ้นมาทางทิศเหนือที่ $12,300
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ