อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:
- EUR/USD สำหรับบทวิเคราะห์ของสัปดาห์ที่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (60%) เห็นด้วยว่าราคาจะขยับลงไปยังระดับแนวรับที่ 1.2100 ในตอนต้น หลังจากนั้นอาจจะปรับลดลงไปอีก 50 จุด เกือบทุกอย่างได้เกิดขึ้นตามที่คาดการณ์ โดยคู่ EUR/USD อยู่ที่ระดับ 1.2075 เมื่อช่วงปลายสัปดาห์การเทรด
ทั้งนี้ ควรคำนึงว่าสถานการณ์ค่อนข้างไม่ปกติเกิดขึ้นในตลาดตั้งแต่เริ่มต้นปี 2021 โดยทั่วไปแล้ว ตลาดหุ้นขาขึ้นมักจะสร้างแรงกดดันต่อเงินดอลลาร์ และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในเดือนที่ผ่านมา ด้วยความต้องการความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ดัชนี S&P เติบโตขึ้นอย่างมั่นคง ในขณะที่ดัชนีดอลลาร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์เชิงรับก็ขยับลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์ของ Bank of America Merrill Lynch ชี้ว่า ในเดือนธันวาคม นักลงทุนรายใหญ่หวังเป็นอย่างมากในชัยชนะเหนือ COVID-19 และ GDP ที่เติบโตขึ้น พวกเขาจึงกว้านซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและพยายามทิ้งเงินดอลลาร์ให้มากที่สุด และในขณะนี้ สถานการณ์กลับเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ดัชนี USD DXY เริ่มเติบโตขึ้นคู่ขนานไปกับดัชนี S&P500
ทำไมถึงเป็นเช่นนี้? ประการแรกก็คือ หุ้นสหรัฐฯ มีมูลค่าสูงเกินจริงในขณะนี้ หรืออย่างน้อยก็ในมุมมองของนักลงทุนอเมริกัน นอกจากนี้ เรายังเคยเขียนในบทรีวิวครั้งก่อนหน้าว่า หลังจากที่มีการรับรองว่าที่ประธานาธิบดีไบเดนอย่างเป็นทางการ และที่นั่งข้างมากของพรรคเดโมแครตในวุฒิสภา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลรอบ 10 ปีก็ขยับขึ้นอย่างรวดเร็วและฉุดเงินดอลลาร์ขึ้นไปด้วย ผู้บริหารธนาคารเฟดสาขาริชมอนด์และฟิลาเดลเฟียก็ยิ่งเติมเชื้อเพลิงให้กับกองไฟ โดยให้สัญญาณถึงการปรับลดมาตรการ QE และเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้กับเงินดอลลาร์ คนฝั่งซื้อจึงเริ่มปิดคำสั่งซื้อสำหรับคู่ EUR/USD - GBP/USD ตลอดช่วงห้าวันที่ผ่านมา ราคาคู่นี้ขยับด้านข้างอยู่ในกรอบ 1.3450-1.3700 โดยมี Pivot Point ที่ 1.3575 ในช่วงต้นนั้น ราคาได้ขยับลงมายังกรอบด้านล่างของช่องดังกล่าว และก็กลับทิศทางขึ้นมาอย่างรวดเร็วจนถึงระดับที่เคยแตะถึงเมื่อ 2.5 ปีก่อนหน้าเมื่อวันพุธที่ผ่านมา
เงินปอนด์ได้รับแรงหนุนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยนายแอนดริว ไบเลย์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติอังกฤษ เขาไม่เพียงแต่ปฏิเสธความเป็นไปได้ในการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบเท่านั้น แต่ยังแสดงความเห็นไวรัสโคโรนาไม่สามารถที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างใด ๆ ต่อเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร ดังนั้น เงินปอนด์จึงแสดงความแข็งแกร่งขึ้นมามากที่สุดในรอบสองเดือน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เทรนด์ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นโดยรวม ราคาคู่นี้ก็กลับมายัง Pivot Point และปิดตลาดที่ 1.3580 - USD/JPY การคาดการณ์ที่ได้รับเสียงโหวตโดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ (55%) ปรากฏว่าถูกต้องโดยสมบูรณ์ ราคาคู่นี้คงตัวอยู่ในช่องขาลงระยะกลาง โดยดีดกลับมาจากกรอบด้านบนลงมายังโซนตรงกลาง
ก่อนหน้านี้มีนักวิเคราะห์อีก 10% ที่สันนิษฐานว่า ราคาจะขยับในเทรนด์ด้านข้าง โดยมีความผันผวนที่บริเวณ Pivot Point 104.00 พวกเขาก็ทำนายได้ถูกต้องเช่นกัน โดยราคาเริ่มต้นสัปดาห์ห้าวันทำการที่ 103.95 และปิดตลาดในโซนนี้เช่นกันที่ 103.85 - คริปโตเคอเรนซี ในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 15 มกราคม กราฟบิทคอยน์สามารถเรียกได้เท่ากันว่าเป็นการกลับสู่เทรนด์ขาขึ้นหรือการปรับฐานขาลงต่อไป ราคาทำนิวไฮใหม่ที่ $41,435 ในวันที่ 8 มกราคม และคู่ BTCUSD กลับลงมายังทิศใต้ และดิ่งลงมาถึง $30,600 เมื่อวันที่ 11 มกราคม อินดิเคเตอร์ส่วนใหญ่ให้สัญญาณมาโดยตลอดว่าบิทคอยน์อยู่ในโซน overbought และด้วยเหตุนี้เองจึงเกิดการปรับฐานครั้งใหญ่ และด้วยผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นซึ่งทำให้ดอลลาร์แข็งค่า บิทคอยน์จึงทำราคาดิ่งลงมามากกว่า 25% ในเวลาเพียงสามวัน
จากนั้นความสุขของนักลงทุนก็กลับมาอีกครั้ง ราคาได้ขยับเข้าใกล้ระดับ $40,000 และเป็นอีกครั้งที่สหรัฐฯ กลายเป็นเหตุผลสำคัญเบื้องหลัง โดยนายโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดี ได้ประกาศการใช้มาตรกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่มูลค่ากว่า $1.9 ล้านล้านดอลลาร์ซึ่งรวมถึงการจ่ายเงินเยียวยา $2,000 ให้กับประชาชนชาวอเมริกันโดยตรง การกระตุ้นทางการคลังและการเงินครั้งใหญ่เช่นนี้มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อและจะเพิ่มความต้องการสำหรับสินทรัพย์ความเสี่ยง รวมถึงคริปโตเคอเรนซี
สิ่งที่ดีก็มักจะมีวันสุดท้ายของมัน บิทคอยน์ก็ยุติแนวโน้มการเติบโตเมื่อวันที่ 14 มกราคม และล้มเหลวในการทำนิวไฮ จากนั้น นางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรปก็เรียกร้องให้มีการกำกับดูแลตลาดสกุลเงินดิจิทัลในระดับโลก เธอชี้แจงว่า ธรรมชาติที่เป็นการเก็งกำไรของบิทคอยน์นั้นเห็นควรที่จะให้มีการกำกับดูแลเริ่มขึ้นในกลุ่มประเทศ G7 จากนั้นก็ขยายเป็นกลุ่ม G20 และท้ายที่สุดก็ให้มีผลครอบคลุมทั่วโลก
เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์นี้ ตลาดหมีจึงเข้าคุมสถานการณ์ และคู่ BTC/USD จึงตกลงมาต่ำกว่าระดับ $35,000 อีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของวันศุกร์ที่ 15 มกราคม
ทั้งนี้ กิจกรรมของนักลงทุนลดลงมานับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2021 จากข้อมูลของ CoinShares มีเพียงเงิน $29 ล้านเหรียญเท่านั้นที่ลงทุนในกองทุนเงินคริปโตในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม แม้ว่าจะการลงทุนมากกว่า $1 พันล้านเหรียญในสัปดาห์ก่อนหน้าวันคริสต์มาส แน่นอนช่วงเวลานิ่งสงบอาจเป็นเพราะเทศกาลวันหยุด นอกจากนี้ เหล่านักเทรดกลุ่มปลาวาฬก็ตอบสนองอย่างเชื่องช้าต่อการปรับฐานราคาเมื่อวันที่ 8-11 มกราคม โดยมีการถอนเงินจากวอลเล็ต BTC จำนวนน้อยมาก
สถิติจาก PayPal แสดงให้เห็นว่า อย่างน้อยตลาดค้าปลีกก็ค่อย ๆ ตื่นตัวขึ้นหลังจากเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ปริมาณการเทรดบิทคอยน์บนแพล็ตฟอร์มนี้เพิ่มขึ้นมา 950% นับตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม กล่าวคือ เกือบ 10 เท่า Nomics บริการการวิเคราะห์ชี้ว่า หากผู้ใช้งานบนแพล็ตฟอร์มทำธุรกรรมกับ BTC เพียง $22.8 ล้านในวันที่ 1 มกราคม ปี 2021 ปริมาณนี้จะคิดเป็น $242 ล้านเหรียญในอีกสิบวันถัดมา
มูลค่ารวมในตลาดคริปโตอยู่ที่ $1 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อวันที่ 15 มกราคม (เดิมอยู่ที่ $1.13 เมื่อวันที่ 10 มกราคม) ดัชนีการครองตลาดของ BTC อยู่ที่บริเวณ 68% และดัชนี Crypto Fear & Greed Index ปรับลงมาจาก 95 เหลือ 88 จุดตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับบทวิเคราะห์ของสัปดาห์นี้ เราได้สรุปความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์มากมาย รวมถึงคำคาดการณ์ที่วิเคราะห์จากพื้นฐานทางเทคนิคและสถิติกราฟต่างๆ โดยเราสามารถสรุปผลวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้:
- EUR/USD นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟด ปฏิเสธคำแถลงของเพื่อนร่วมงานของเขาจากธนาคารเฟดส่วนภูมิภาค โดยกล่าวว่า เราไม่ควรจะอาศัยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยและการจำกัดนโยบายผ่อนคลายทางการเงินในอนาคตอันใกล้นี้ คำพูดเหล่านี้ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า $1.9 ล้านล้านเหรียญจากนายโจ ไบเดน มีแนวโน้มที่จะขัดขวางผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นในพันธบัตรสหรัฐฯ และสนับสนุนฝั่งผู้ซื้อในตลาดดัชนี S&P500 นอกจากนี้ ความหวังต่อวัคซีน ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตอย่างรวดเร็วใน GDP ก็ยังไม่หายไป ผู้เชี่ยวชาญจาก Wall Street Journal จึงคาดว่า GDP อเมริกาจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.3% ในปี 2021
แต่นี่จะเป็นตัวตัดความสัมพันธ์ในปัจจุบันระหว่างดอลลาร์กับตลาดหุ้นหรือไม่? ดอลลาร์จะหยุดแข็งค่าขึ้นหรือไม่? มีโอกาสที่การเติบโตของดัชนี S&P500 จะไม่ได้รับแรงหนุนจากชาวอเมริกันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักลงทุนรายใหญ่จากประเทศอื่น ๆ เช่นกัน และการผสมผสานของเงินทุนต่างชาติในเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะนำไปสู่การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
ตอนนี้มาถึงเกี่ยวกับคู่ EUR/USD โดยมีความชัดเจนว่าในขณะที่กำลังเขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้นั้น (15 มกราคม) อินดิเคเตอร์ส่วนใหญ่ให้สัญญาณสีแดง โดยอินดิเคเตอร์เทรนด์ 100% บนกรอบ H4 75% บนกรอบ D1 และออสซิลเลเตอร์ 75% บนทั้งสองกรอบเวลาหันไปทางทิศใต้เป็นหลัง ออสซิลเลเตอร์ที่เหลือให้สัญญาณว่าราคาคู่นี้อยู่ในโซน oversold
สำหรับผู้เชี่ยวชาญ ความเห็นของพวกเขาแบ่งออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน แต่เมื่อขยับเป็นการคาดการณ์ในระยะกลาง คะแนนเริ่มเทไปยังฝั่งตลาดกระทิง นักวิเคราะห์ 65% ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยการวิเคราะห์กราฟบนกรอบ D1 คาดการณ์ว่า ดอลลาร์จะอ่อนค่าลงและราคาคู่นี้จะขยับขึ้นไปอย่างน้อยที่ 1.2500-1.2550 ตลอดช่วงเวลาหนึ่งเดือนครึ่งหรือสองเดือนข้างหน้า โดยมีแนวต้านใกล้ที่สุด คือ 1.2175, 1.2275, 1.2300 และ 1.2350 และแนวรับสำคัญอยู่บริเวณ 1.1800-1.1900
สำหรับเหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ ควรให้ความสนใจกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป และการแถลงข่าวที่ตามมาของผู้บริหารในวันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคมนี้ ด้านสถิติกิจกรรมทางธุรกิจของเยอรมนีและยูโรโซนจะประกาศในวันถัดมาที่ 22 มกราคม
- GBP/USD เยอรมนี อียู และสหราชอาณาจักร จะประกาศสถิติกิจกรรมทางธุรกิจ (Markit ในภาคการบริการ) ในวันศุกร์ที่ 22 มกราคม สถิติเหล่านี้อาจส่งสัญญาณให้กับนักลงทุนเกี่ยวกับผลกระทบของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ต่อเศรษฐกิจประเทศ ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรมีสถิติระดับผู้เสียชีวิตสูงสุดและมีผู้ติดเชื้อใหม่พุ่งสูงขึ้นตลอดช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาในกรุงลอนดอนและฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกี่ยวกับ COVID-19 ยังคงรุนแรงขึ้นในประเทศอื่น ๆ เช่นกัน รวมถึงสหรัฐฯ ดังนั้นนักวิเคราะห์ 60% สนับสนุนโดยการวิเคราะห์กราฟในกรอบ H4 และ D1 เชื่อว่า ราคาคู่นี้จะสามารถกลับมายังระดับ 1.3700 และเป็นไปได้ที่จะขยับขึ้นไปอีก 100 จุด อีกหนึ่งข้อสนับสนุนแนวโน้มขาขึ้นก็คือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งได้พูดถึงไปแล้วข้างต้น
ส่วนระดับแนวรับคือ 1.3540 และ 1.3450 - USD/JPY ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ แนวโน้มขาขึ้นของคู่นี้จากกรอบด้านล่างมายังด้านบนของช่องขาลงระยะกลาง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนมกราคมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการในความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นและความสนใจในเงินเยนที่ลดลงในฐานะสกุลเงินหลบภัย พวกเขาจึงเชื่อว่า ราคาคู่นี้จะยังคงสามารถตัดทะลุกรอบด้านบนของช่องดังกล่าวและขยับขึ้นไปยังโซน 105.00 โดยนักวิเคราะห์ 35% และการวิเคราะห์กราฟในกรอบ D1 โหวตให้กับสถานการณ์นี้ เป้าหมายถัดไปสำหรับฝั่งกระทิงคือ 105.70 โดยมีแนวต้านใกล้ที่สุดคือโซน 104.00-104.35
ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (65%) มั่นใจว่า ราคาคู่นี้จะขยับอยู่ในช่องดังกล่าว โดยแนวรับใกล้ที่สุดคือ 103.60 ถัดไปคือ 103.00 และเป้าหมายอยู่ในบริเวณ 102.50 - คริปโตเคอเรนซี มูลค่ารวมตลาดคริปโตเคอเรนซีในขณะนี้อยู่ที่บริเวณ $1 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับจิตวิทยาที่สำคัญโดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนรายย่อย การเติบโตต่อไปของตัวบ่งชี้นี้จะเป็นการยืนยันที่ชัดเจนของการคาดการณ์แนวโน้มขาขึ้นของคู่ BTC/USD อย่างน้อยไปที่ระดับ $50,000 หากมูลค่ารวมดังกล่ายลดลง นี่อาจก่อให้เกิดการเทขายบิทคอยน์ครั้งใหญ่ โดยตัวอย่างฤดูหนาวเงินคริปโตปี 2018 นั้นยังคงอยู่ในความทรงจำในตลาดในปี 2018
ในระหว่างนี้ ตลาดยังคงปกคลุมไปด้วยทัศนคติอันสดใส ตัวอย่างเช่น นายไมค์ แม็คโกลน นักวิเคราะห์เงินคริปโตจาก Bloomberg เชื่อว่า $50,000 คือ เป้าหมายที่แท้จริงสำหรับบิทคอยน์ เขาให้ตัวเลขคาดการณ์นี้ตั้งแต่ไม่กี่เดือนก่อนหน้า โดยชี้ว่า BTC จะต้องทำสถิติสูงสุดใหม่ในเดือนธันวาคมปี 2020 ซึ่งก็เกิดขึ้นจริง “ผมคิดว่า ราคาจะยืนถึง 50,000 ในอนาคตอันใกล้” กล่าวโดยผู้เชี่ยวชาญและกล่าวเสริมว่า โอกาสที่ BTC จะเติบโตนั้นสูงกว่าอ่อนค่าลง และหมดโอกาสที่ราคาจะดีดกลับลงมาที่ $20,000
ด้าน นายแดน มอร์เฮด ซีอีโอบริษัทเพื่อการลงทุน Pantera Capital ทำนายว่า ราคาบิทคอยน์จะขยับถึง $115,000 ภายในเดือนสิงหาคมปี 2021 เหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวหยวนดิจิทัลจะช่วยหนุนการแทรกแซงของเงินดิจิทัลในเศรษฐกิจโลก
หากสิ่งนี้เกิดขึ้นจริง เราจะได้เห็นเศรษฐีเงินคริปโตระดับร้อยล้านพันล้านเกิดขึ้นอีกมากมายในโลก ส่วน ณ ตอนนี้ Forbes ให้รายชื่อบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในวงการนี้ ดังนี้:
อันดับแรกคือผู้ก่อตั้งตลาดแลกเปลี่ยนบิทคอยน์ Gemini คือพี่น้องตระกูลวิงเคิลโวส ซึ่งคาดว่าเป็นเจ้าของสินทรัพย์เงินคริปโตประมาณ $1.4 พันล้านเหรียญต่อคน ส่วน นายแมธธิว โรซซาค ผู้ร่วมก่อตั้ง Bloq มาเป็นอันดับสองพร้อมด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลคิดเป็นเงิน $1.2 พันล้านดอลลาร์ และนายทิม เดรปเปอร์ นักลงทุนรายใหญ่ ซึ่งตามการคาดคะเนนของ Forbes เขามีมูลค่าทรัพย์สินคิดเป็น $1.1 พันล้านดอลลาร์
ในอันดับที่สองเป็นของ นายไมเคิล เซลเลอร์ ประธาน MicroStrategy ด้วยสินทรัพย์คิดเป็นมูลค่ากว่า $600 ล้านเหรียญ อันดับห้าคือ $478 ล้านเหรียญ และอันดับสุดท้ายคือ นายวิตาลิค บูเทอริน ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum โดยมีสินทรัพย์มูลค่า $360 ล้านเหรียญดอลลาร์
เมื่อพูดถึง Ethereum นายแดน ทาเปียโร ผู้ก่อตั้งกองทุน DTAP Capital ชี้ว่า เหรียญนี้พร้อมที่จะเติบโตต่อไป โดยเห็นได้จากความสนใจจากลูกค้ารายสถาบันบางส่วนของกองทุน Northern Trust จากอเมริกา ซึ่งบริษัทถือหุ้นนี้ยังเปิดบริการสำหรับการจัดเก็บคริปโตเคอเรนซีรวมกับธนาคาร Standard Chartered และ “หาก Northern Trust เก็บบิทคอยน์และอีธีเรียม พวกเขาก็ต้องมีผู้ซื้อสินทรัพย์ทั้งสองเหล่านี้” นายทาเปียโรให้ข้อสนับสนุนมุมมองของเขา
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ