EUR/USD: ชัยชนะใหม่ของฝั่งหมี
- EUR/USD ขยับลงมาที่ 1.1562 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยตัดทะลุระดับแนวรับสำคัญที่ 1.1630 ซึ่งเป็นการออกจากเทรนด์กระทิงที่เริ่มต้นเมื่อเดือนมีนาคม 2020 และแตกออกเป็นเทรนด์ตลาดหมี
เดือนกันยายนปรากฏว่าเป็นเดือนที่แย่ที่สุดสำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดอลลาร์จึงแข็งค่าขึ้นมาในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย นอกจากนี้ ธนาคารเฟดยังให้ความกระจ่างในการประชุมครั้งที่ผ่านมาว่าจะเริ่มทยอยลดมาตรการกระตุ้นทางการเงิน (QE) ในเดือนพฤศจิกายน หลังจากนั้น ดัชนีดอลลาร์ DXY ก็ขึ้นทำระดับสูงสุดรายเดือนของปีนี้
หลายอย่างควรจะมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดย 30 กันยายนเป็นวันสุดท้ายของปีงบประมาณในสหรัฐฯ และวันที่ 1 ตุลาคม จะต้องเริ่มงบประมาณรอบใหม่ในประเทศ แต่ก็ยังไม่เป็นผลบังคับใช้ หากประธานาธิบดีไบเดนยังไม่ลงนามในร่างกฎหมายก่อนเที่ยงคืนเพื่อเพิ่มเพดานจำกัดภาระหนี้ นี่จะส่งผลกระทบต่อทั้งการหยุดชะงักของรัฐบาลสหรัฐฯ และรวมถึงโอกาสการผิดชำระหนี้ที่จะเกิดขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม นายไบเดนได้อนุมัติให้ยกเพดานดังกล่าวในช่วงเวลาสุดท้ายในที่สุด แต่มีผลถึงแค่วันที่ 3 ธันวาคม
ตลาดมัวแต่ตื่นเต้นอยู่กับเรื่องภาระหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ จนแทบจะไม่ตอบสนองต่อสถิติเศรษฐกิจมหภาคที่ขัดแย้งกัน แม้ว่าสถิติจากตลลาดแรงงานยังไม่น่าประทับใจเท่าไรนัก โดยยอดขอรับสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้นจาก 351,000 เป็น 362,000 เทียบกับตัวเลขคาดการณ์ว่าจะลดลงเหลือ 335,000 ส่วนดัชนี PMI ของชิคาโกในเดือนกันยายนลดลงจาก 66.8 เหลือ 64.7 จุด (เทียบกับตัวเลขคาดการณ์ที่ 65 จุด) แต่ GDP สหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นเป็น 6.7% และปรากฏว่าดีกว่าที่คาดการณ์ไว้คือ 0.1%
ผู้ว่าการธนาคารกลางของทั้งสองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกยังคงระมัดระวังในสัปดาห์ที่แล้ว นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟดกล่าวต่อหน้าสมาชิกวุฒิสภาอีกครั้งว่า อัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นจะตามมาด้วยการชะลอตัวลง ราคาที่เพิ่มขึ้นสูง “เป็นผลมาจากปัญหาเรื่องห่วงโซ่อุปทาน” ซึ่งหน่วยงานของเขาไม่สามารถควบคุมได้
ด้าน คริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรปแทบกล่าวในแบบเดียวกันเมื่อวันอังคารที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา เธอเตือนให้นักลงทุนอย่าเพิ่งตื่นตระหนกกับภาวะเงินเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในยูโรโซน โดยมองว่าปรากฏการณ์นี้เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น
อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 3.4% ในเดือนกันยายน สู่ระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี อ้างอิงจากสถิติ Eurostat สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศขับเคลื่อนหลักของอียูอยู่ที่ 4.1% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 29 ปี การคาดการณ์เบื้องต้นชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนจะขยับถึง 4% ในไตรมาสที่ 4 และจะคงสูงกว่า 2% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวน่าจะมีสาเหตุมาจากราคาเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
สถิติเหล่านี้และการที่นักลงทุนตัดสินใจปิดคำสั่งขายของคู่ EUR/USD ในช่วงปลายปีงบประมาณของสหรัฐฯ จึงมีผลช่วยหนุนยูโรเล็กน้อย และราคาจึงกลับขึ้นมาจากระดับต่ำสุดในกรอบและปิดตลาดรอบห้าวันทำการที่ 1.1595
สำหรับการคาดการณ์ในระยะยาว ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่า ยูโรไม่มีแนวโน้มพิเศษใด ๆ บางคนเชื่อด้วยว่าราคาจะกลับมาสู่ระดับต่ำสุดของช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2020 ภายในปลายปีหน้านี้ สำหรับการคาดการณ์ในอนาคต นักวิเคราะห์ 50% เห็นด้วยว่าราคาคู่นี้จะขยับลดลงต่อไป ซึ่งความเห็นนี้มีอินดิเคเตอร์เทรนด์สนับสนุน 100% รวมถึงออสซิลเลเตอร์ 85% บนกรอบ D1 (15% ให้สัญญาณว่าราคาอยู่ในโซน oversold) ส่วน 20% โหวตให้กับเทรนด์ด้านข้าง และผู้เชี่ยวชาญที่เหลืออีก 30% โหวตให้กับแนวโน้มการเติบโตของคู่นี้
ระดับแนวรับในที่นี้ ได้แก่ 1.1560, 1.1500 และ 1.1450 ระดับแนวต้านคือ 1.1685 1.1715, 1.1800, 1.1910
ในส่วนเหตุการณ์สำคัญที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ การประกาศดัชนี ISM PMI ในภาคบริการของสหรัฐฯ ในวันอังคารที่ 5 ตุลาคม ดัชนียอดขายปลีกของยูโรโซนจะประกาศในวันถัดมา วันที่ 6 ตุลาคม ส่วนรายงานการจ้างงานภาคเอกชนของ ADP สหรัฐฯ จะประกาศในวันเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีสถิติอีกชุดหนึ่งที่สำคัญจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ได้แก่ จำนวนตำแหน่งงานใหม่นอกภาคการเกษตร (NFP) ซึ่งจะประกาศในวันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม
GBP/USD: ธนาคารแห่งชาติอังกฤษ vs ธนาคารเฟดสหรัฐฯ
- สัปดาห์ที่แล้วจบลงด้วยชัยชนะสำหรับคู่ GBP/USD เช่นกัน หลังจากราคาเริ่มต้นสัปดาห์ที่ 1.3670 และปรับลงไป 260 จุด ราคาก็ทำระดับต่ำสุดที่ 1.3410 เมื่อวันพุธที่ 20 กันยายน ตามมาด้วยการรีบาวด์อย่างค่อนข้างรุนแรงและปิดตลาดที่ 1.3545
เนื่องด้วยสถานการณ์ภาระหนี้รัฐบาลของสหรัฐฯ ตลาดแทบจะไม่ได้ให้ความสนใจกับสถิติเศรษฐกิจที่น่าประทับใจจากสหราชอาณาจักร แต่ผลปรากฏว่าตัวเลขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย ไม่เพียงแต่แนวโน้มลดลงของ GDP ในไตรมาสที่ 1 ปี 2021 ถูกทบทวนให้ปรับลดลงจาก -6.1% เป็น -4.8% แต่จากตัวเลขคาดการณ์ที่ 1.5% อัตรายังอยู่ที่ 5.5% ในไตรมาสที่ 2
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินปอนด์ในช่วงปลายสัปดาห์มีความเกี่ยวข้องในทางอ้อมกับสถิติที่น่าประทับใจเหล่านี้ เหตุผลหลักก็คือ เงินปอนด์อังกฤษเจอแรงขายเป็นอย่างมาก และปรับลดลงมาประมาณ 500 ปิบเทียบกับดอลลาร์นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายน
ณ ขณะนี้ ผู้เชี่ยวชาญ 70% คาดการณ์ว่า ราคาจะขยับลงทิศใต้อีกครั้งเพื่อทดสอบระดับแนวรับในโซน 1.3400 ในส่วน 30% ที่เหลือมีท่าทีเป็นกลาง ด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้าข้างแนวโน้มตลาดหมีเช่นกัน โดยมีออสซิลเลเตอร์และอินดิเคเตอร์เทรนด์ 85% บนกรอบ D1 ที่ให้สัญญาณสีแดง
ทั้งนี้ เมื่อปรับไปเป็นการคาดการณ์ก่อนสิ้นปี ภาพกลับเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้ามอย่างชัดเจน ในที่นี้ นักวิเคราะห์ 70% กล่าวแล้วว่าคู่ GBP/USD จะกลับมายังโซน 1.3900- 1.4000 นอกจากนี้ หนึ่งในสามของ 70% เหล่านี้ยังไม่ตัดโอกาสที่ราคาอาจขยับถึงระดับสูงสุดช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนที่บริเวณ 1.4200-1.4250
ระดับแนวต้านระหว่างทาง ได้แก่ 1.3600, 1.3690, 1.3765, 1.3810 ส่วนแนวรับอยู่ในโซน 1.3400, 1.3350 และ 1.3185
ผู้เชี่ยวชาญจากธนาคาร Citibank ชี้ว่า ขณะนี้เงินปอนด์ได้รับแรงหนุนจากหลายปัจจัยด้วยกัน ปัจจัยแรกคือจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดที่่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลลดน้อยลง สินทรัพย์สหราชอาณาจักรยังน่าดึงดูดในแง่ของมูลค่าและภาวะปกติทางเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโรค ประการที่สองคือความเสี่ยงทางการเมืองที่ลดลงซึ่งเกี่ยวข้องกับการเจรจาระหว่างสหราชอาณาจักรและอียูในประเด็นไอร์แลนด์เหนือ และการปฏิเสธการลงประชามติเรื่องการแยกตัวของสกอตแลนด์ และแน่นอนนี่คือการตัดสินใจของธนาคารแห่งชาติอังกฤษเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 0.25% ในเดือนพฤษภาคมปี 2022 และขึ้นเป็น 0.50% ในเดือนธันวาคม แนวโน้มนโยบายทางการเงินดังกล่าวของสหราชอาณาจักรถูก “วางไว้อย่างดีเพื่อเผชิญหน้ากับนโยบายของธนาคารเฟด” กล่าวโดยนักวิเคราะห์จาก Citibank
USD/JPY: 112.00 อีกครั้ง
- เป็นไปตามที่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (60%) ได้ทำนายไว้ คู่ USD/JPY ไต่ขึ้นมาถึงระดับ 112.00 ได้สำเร็จหลังจากการประกาศลดมาตรการ QE ของธนาคารเฟด และยังขึ้นทะลุระดับดังกล่าวสูงขึ้นไปเล็กน้อยที่ 112.07 การคาดการณ์ชี้ว่ามีแนวโน้มที่ราคาจะยืนเหนือระดับดังกล่าวได้ และก็เกิดขึ้นจริง หลังจากผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ลดลงจาก 1.567% เหลือ 1.474% และดอลลาร์อ่อนค่าลง ค่าเงินเยนก็กลับมาชดเชยส่วนที่เคยอ่อนค่าลงไปตอนท้ายสัปดาห์ และปิดตลาดที่ 111.02
ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นมีความแตกต่างไปจากธนาคารกลางของประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่ง โดยธนาคารญี่ปุ่นยังคงเดินหน้าดำเนินนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายเป็นอย่างมากและคงอัตราดอกเบี้ยติดลบ เงินเยนจึงยังคงเป็นที่สนใจในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยมากกว่าเครื่องมือในการทำเงิน
ณ ขณะนี้ ผู้เชี่ยวชาญ 50% คาดการณ์ว่าราคาคู่นี้จะพยายามอีกครั้งที่จะยืนเหนือระดับ 112.00 ต่อไป ด้านนักวิเคราะห์ 25% มีท่าทีเป็นกลาง และอีก 25% คาดว่าราคาจะปรับตัวลดลง
ระดับแนวรับยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่: 110.45, 110.15, 109.60, 109.10, 108.70 และ 108.30 ความฝันของฝั่งตลาดหมี (ที่ดูไม่น่าจะเป็นไปได้แล้ว) คือการกลับไปทดสอบระดับต่ำสุดของเดือนเมษายนที่ 107.45. โดยมีแนวต้านที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ 111.00 และ 111.65
ทั้งนี้ คู่ USD/JPY ได้ขยับตามแนว 110.00 มาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีความพยายามไม่กี่ครั้งที่จะออกจากกรอบ 108.30-111.00 จากภาพรวมนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จึงเชื่อว่าหลังจากที่ราคาฝ่าระดับ 112.00 อย่างล้มเหลว ราคาน่าจะกลับมาสู่กรอบดังกล่าวอีกครั้ง และจะยังคงเคลื่อนที่ในกรอบดังกล่าวนี้ต่อไป
คริปโตเคอเรนซี: "ลาก่อนเจ้าหมี"
- อ้างอิงจากสถิติบนเว็บไซต์ 99Bitcoins เคยมีการคาดการณ์ไว้ว่าราคาทองคำดิจิทัล “ตายไป” 37 ครั้งในปี 2021 ที่น่าสนใจก็คือตัวเลขดังกล่าวนี้สูงกว่ายอดของปี 2020 ถึง 2.65 เท่า ซึ่งในปีก่อนหน้า BTC “ตายไป” เพียง 14 ครั้งเท่านั้น
เว็บไซต์ 99Bitcoins ทำหน้าที่เป็นเว็บไซต์ทางการที่เก็บบันทึกชีวประวัติของบิทคอยน์ทั้งหมดมาตั้งแต่ปี 2010 โดยใช้หลักเกณฑ์ที่แม่นยำในการคัดเลือกบันทึก บันทึกมรณกรรมสุดท้ายของบิทคอยน์นั้นลงวันที่ 21 กันยายน 2021 ซึ่งเขียนไว้โดย สตีฟ แฮงค์ นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังจาก Johns Hopkins University ผู้กล่าวว่าบิทคอยน์เป็นสินทรัพย์มูลค่าเป็นศูนย์ที่มีการเก็งกำไรสูง “ความผันผวนของบิทคอยน์คือจุดอ่อนและเหตุผลว่าทำไมมันจะไม่มีวันเป็นหน่วยสกุลเงินที่น่าเชื่อถือ บิทคอยน์ไม่เป็นอะไรมากไปกว่าสินทรัพย์เก็งกำไรที่มีปัจจัยพื้นฐานเท่ากับศูนย์” บันทึกการมรณกรรมระบุ
อีกหนึ่งชีวประวัติที่อาจจะมีการบันทึกในเร็ว ๆ นี้เป็นของนักเขียนและผู้ประกอบการชื่อดัง นายโรเบิร์ต คิโยซากิ ไม่กี่วันก่อน เจ้าของหนังสือเล่มขายดีที่สุด “Rich Dad, Poor Dad” ได้ออกมาคาดการณ์ “ตลาดหุ้นซบเซาครั้งใหญ่” ในเดือนตุลาคม ซึ่งทองคำ เงิน และบิทคอยน์ล้วนจะเผชิญชะตากรรมเดียวกัน เขากล่าว ซึ่งเหตุผลหลักเบื้องหลังตลาดซบเซาในครั้งนี้ คือ ธนาคารเฟดที่เริ่มขายพันธบัตรรัฐบาลมากเกินไป
อีกหนึ่งคำทำนายที่ไม่ค่อยน่ายินดีเป็นของนักวิเคราะห์ภายใต้ชื่อเล่นว่า PlanB เจ้าของโมเดล Stock-to-Flow (S2F) โมเดล Stock-to-Flow (S2F) นั้นใช้ทำนายมูลค่าของบิทคอยน์โดยคำนวณอัตราส่วนปริมาณทั้งหมดที่ซื้อขายได้ของสินทรัพย์และอัตราเพิ่มขึ้นในแต่ละปี และเขาเคยทำนายไว้ว่าราคาบิทคอยน์จะขยับถึง $100,000 ภายในสิ้นปีนี้ แต่ในขณะนี้หลายอย่างดูเปลี่ยนไปในทางที่เลวร้ายขึ้น แทนที่ราคาจะขยับขึ้น นักวิเคราะห์กลับชี้ว่าราคาเหรียญอาจปรับลดลงมาได้ถึง $30,000
จริงอยู่ที่ราคาเหรียญบิทคอยน์ทำผลงานได้ไม่ดีเท่าไรสำหรับตลาดคริปโตในเดือนกันยายน โดยคู่ BTC/USD ขยับลงมายังระดับ $39,666 อย่างไรก็ตาม วันแรกของเดือนตุลาคมเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง บิทคอยน์ทะยานขึ้นมาถึงระดับ $48,250 เราเคยเน้นย้ำหลายครั้งถึงความสัมพันธ์ระหว่างตลาดหุ้นและตลาดคริปโตซึ่งขับเคลื่อนโดยความต้องการในความเสี่ยงของนักลงทุน ในครั้งนี้ก็เช่นกัน ราคาที่ทะยานขึ้นของสินทรัพย์ดิจิทัลเกิดขึ้นขนานไปกับการทะยานขึ้นของดัชนีหุ้น เช่น S&P500 และ Dow Jones
แรงกระตุ้นเพิ่มเติมสำหรับบิทคอยน์อาจเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นของตลาดตราสารอนุพันธ์คริปโตเคอเรนซี นายโจเซฟ เอดเวิร์ดส์ นักวิเคราะห์จากบริษัท Enigma Securities ในลอนดอนชี้ว่า การเทรดตราสารอนุพันธ์มักส่งผลต่อราคาสปอต BTC อีกหนึ่งปัจจัยกระตุ้นอาจเป็นการตัดสินใจของรัฐบาลอิหร่านในการยกเลิกคำสั่งห้ามการขุดเหรียญคริปโต
นักเทรดชื่อดังได้สรรเสริญการทะยานขึ้นของราคาเหรียญคริปโตหลักโดยป่าวประกาศว่า “ลาก่อนเจ้าหมี” และชี้ไปยังการเคลื่อนที่ของอัลท์คอยน์ติดอันดับในโซนสีเขียว
นายสตีเวน เอ โคเฮน นักเทรดและเศรษฐีพันล้านอีกท่านหนึ่งผู้เป็นเจ้าของเฮดจ์ฟันด์ SAC Capital Advisors, เล็งเห็นสถานการณ์ที่เพอร์เฟ็คสำหรับบิทคอยน์ที่น่าจะเป็นเส้นทางการทะยานขึ้นในอนาคต นายโคเฮนเชื่อว่า BTC อาจยังปรับราคาลงได้ แต่สิ่งสำคัญคือราคาเหรียญจะต้องไม่ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA) ที่ 20 สัปดาห์ ซึ่งนี่จะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับแรงซื้อครั้งใหญ่ที่จะผลักดันราคาให้ขึ้นไปถึง $64,000
เส้น SMA ที่ 20 สัปดาห์ ประกอบกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA) ที่ 21 สัปดาห์ คือ สิ่งที่นายโคเวนเรียกว่า “ตัวสนับสนุนตลาดกระทิง” เขามองว่าบิทคอยน์จะต้องยืนเหนือระดับดังกล่าวนี้ให้ได้ เพราะในอดีตชี้ให้เห็นว่า BTC มักจะตัดทะลุในครั้งแรกที่ราคากลับมาทดสอบอีกครั้ง
มูลค่ารวมของตลาดคริปโตขยับขึ้นมาอีกครั้งเหนือระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ $2.0 ล้านล้านเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม และอยุ๋ที่ $2.06 ล้านล้านดอลลาร์ ($1.84 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า) แต่ดัชนี Crypto Fear & Greed Index ยังคงอยู่ในโซนหวาดกลัว (Fear) ที่ 27 จุด
และในบทสรุปเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับในไลฟ์แฮ็คขำขันของเรา แล้วเราจะทำเงินจากคริปโตเคอเรนซีได้อย่างไร? ผลปรากฏว่า ไม่มีอะไรมากแค่ลองให้หนูแฮมสเตอร์….เทรดดู ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา มูลค่าพอร์ตของ Mr. Gox นักเทรดคริปโตบนแพลตฟอร์ม Twitch เพิ่มสูงขึ้น 30% ในช่วงเวลาเดียวกัน มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุน Berkshire Hathaway ของนายวอร์เรน บัฟเฟตต์ ลดลง 2%
Mr. Gox ซึ่งเป็นเจ้าของหนูแฮมสเตอร์ด้วนั้น ได้สร้างกรงพิเศษให้กับมันเมื่อเดือนมิถุนายน 2021 ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นระบบเซนเซอร์ออปติกที่เชื่อมต่อกับส่วนควบคุม Arduino Nano ซึ่งทำให้เจ้าหนูสัตว์เลี้ยงสามารถ “เทรด” สินทรัพย์ดิจิทัลได้ เมื่อวิ่งบนล้อหมุน หนูแฮมสเตอร์จะ “เลือก” คริปโตเคอเรนซีที่มันจะเทรด โปรแกรมจะขายเหรียญเมื่อเจ้าหนูวิ่งผ่านอุโมงค์ด้านซ้าย และซื้อเมื่อมันวิ่งผ่านอุโมงค์ด้านขวา
เจ้าหนูแฮมสเตอร์ตัวนี้ทำผลงานได้ดีกว่าทั้งกองทุน Berkshire Hathaway รวมถึงดัชนี S&P 500 (+6% ในช่วงเวลาเดียวกัน) และ NASDAQ 100 (+12%) และบิทคอยน์ (+23%)
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ