บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 25-29 ตุลาคม 2021

EUR/USD: ในสภาวะแห่งความไม่แน่นอน

  • ในบทวิเคราะห์สัปดาห์ที่แล้ว นักวิเคราะห์ 20% เห็นด้วยกับแนวโน้มขาลงของคู่ EUR/USD โดย 50% โหวตว่าราคาคู่นี้จะขยับขึ้น และ 30% มีท่าทีเป็นกลาง ในที่นี้ 80% ของนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ทิศเหนือและทิศทางด้านข้างคือกลุ่มที่ทำนายได้ถูกต้อง หลังจากราคาเปิดตลาดที่ 1.1600 ราคาก็ได้ขยับในตอนแรกไปที่ 1.1668 จากนั้นลงมาที่ 1.1616 และขยับออกด้านข้างในกรอบนี้ ภายหลังถ้อยแถลงโดยประธานธนาคารเฟดเมื่อวันศุกร์ ราคาก็ได้ขยับลงมาด้านล่างของกรอบซื้อขาย แต่ปิดตลาดเกือบถึงโซนตรงกลางที่ 1.1643

    สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นายเจอโรม พาวเวลล์ กล่าวว่าถึงเวลาแล้วที่จะเริ่มลดมาตรการซื้อสินทรัพย์ แต่กล่าวเสริมด้วยว่านี่ยังไม่ถึงเวลาที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในมุมมองของเขา อัตราเงินเฟ้อสูงมีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อต่อไปจนถึงปีหน้า แต่ธนาคารกลางฯ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับมาสู่เป้าหมาย 2% ในที่สุด

    ตัวเลขสถิติจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้อาจถือว่าเป็นปัจจัยบวก เนื่องจากมีการปรับทบทวนสถิติก่อนหน้าครั้งใหญ่เกี่ยวกับยอดขอรับสวัสดิการว่างงานจาก 2.593K เป็น 2.603K ดังนั้น จำนวนสถิติปัจจุบันที่ 2.481K จึงแสดงแนวโน้มที่ลดลง 122K เทียบกับตัวเลขคาดการณ์ที่ 118K

    การคำนวณที่ “ซับซ้อน” ดังกล่าวช่วยปรับปรุงยอดขอรับสวัสดิการเบื้องต้นให้เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เมื่อปรับทบทวนผลลัพธ์ในครั้งก่อนหน้า สถิติลดลงมา 6K แทนที่จะเพิ่มขึ้น 2K

    อย่างไรก็ตาม สถิติที่เป็นบวกทั้งหมดนี้ไม่ช่วยดอลลาร์เท่าไรนัก ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงที่ที่ปริมาณ 2.15% ในขณะที่ยังมีความเป็นไปได้ที่ผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.0%

    ดัชนี Markit PMI ในภาคการผลิตของเยอรมนีและยูโรโซนที่อ่อนแอกว่าเกือบจะช่วยกดราคา EUR/USD ลงมาเมื่อวันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม แต่ผลปรากฏว่ามีความซับซ้อนเกิดขึ้น ดัชนียุโรปติดลบจาก 56.2 เป็น 54.3 จากที่คาดการณ์คือ 55.2 แต่ดัชนีของเยอรมนี ประเทศหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุโรปกลับบวกเขียวที่ 58.2 จากการคาดการณ์ที่ 56.2

    ข้อเท็จจริงที่ตลาดแรงงานสหรัฐฯ พัฒนาขึ้นต่อเนื่องควรจะเป็นผลดีต่อค่าเงินดอลลาร์ นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟด ได้กล่าวเน้นย้ำหลายครั้งว่า มาตรการกระตุ้นทางการเงิน (QE) มีไว้เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดแรงงาน ดังนั้นจึงไม่มีอะไรขัดขวางธนาคารฯ จากการจำกัดมาตรการกระตุ้นทางการเงินในอนาคตอันใกล้

    แล้วเราควรคาดการณ์อะไรกับ EUR/USD ในอนาคตอันใกล้นี้? ในขณะที่ออสซิลเลเตอร์ 55% บนกรอบ D1 ให้สัญญาณสีแดง 15% สีเขียว และ 30% เป็นสีเทากลางเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ภาพรวมในสัปดาห์นี้เปลี่ยนไป ในครั้งนี้ 50% ของอินดิเคเตอร์ชี้ไปทางทิศเหนือ 20% ให้สัญญาณเป็นกลาง 15% ชี้ลงทิศใต้ และ 15% ที่เหลือชี้ว่าราคาอยู่ในช่วง overbought สำหรับอินดิเคเตอร์เทรนด์ ผลการวิเคราะห์มาจากการเคลื่อนที่ด้านข้างในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาทำให้สรุปผลเท่ากันที่ 50% ต่อ 50%

    นักวิเคราะห์เสียงข้างมากส่วนใหญ่คาดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นภายในสิ้นปี แต่ความเห็นของพวกเขาแทบจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กันสำหรับภาพรวมในสัปดาห์นี้ โดยผู้เชี่ยวชาญ 45% โหวตให้กับแนวโน้มกระทิง เช่นเดียวกันกับแนวโน้มตลาดหมี และ 10% มีท่าทีเป็นกลาง

    ระดับแนวรับ คือ 1.1615, 1.1585, 1.1560, 1.1520, 1.1485 และ 1.1450 ส่วนระดับแนวต้าน ได้แก่ 1.1670 1.1715, 1.1800, 1.1910.

    สำหรับเหตุการณ์ในสัปดาห์หน้านี้จะมีการประกาศรายงานเรื่องสินเชื่อของยูโรโซนในวันอังคารที่ 26 ตุลาคม ส่วนดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าทุนและสินค้าคงทนจะประกาศในสหรัฐฯ ในวันพุธที่ 27 ตุบาคม เราจะได้จับตาดูสถิติเศรษฐกิจมหภาคอีกหลายชุดในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ไม่ว่าจะเป็นดัชนีตลาดผู้บริโภค และสถิติ GDP จากยูโรโซน เยอรมนี และสหรัฐฯ นอกจากนี้จะมีการจัดการประชุมของธนาคารกลางยุโรปในวันที่ 28 ตุลาคม ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมคือ 0% ดังนั้น งานแถลงข่าวที่ตามมาและความเห็นจากผู้บริหารธนาคารกลางยุโรปเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินจะเป็นที่น่าให้ความสนใจมากกว่า

GBP/USD: ยูโรไปทางไหน ปอนด์ไปทางนั้น

  • กราฟ GBP/USD สัปดาห์ที่แล้วมีความคล้ายกับกราฟ EUR/USD เป็นอย่างมาก: การเคลื่อนที่ด้านข้างโดยฝั่งกระทิงได้เปรียบกว่าในระดับหนึ่ง และราคาปิดตลาดเหนือระดับที่เริ่มต้นคือ 1.3758 ซึ่งการเคลื่อนที่เป็นผลมาจากการขาดปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญจากอีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก รวมถึงสถิติจากสหราชอาณาจักรเองด้วยเช่นกัน

    อัตราการเติบโตของราคาผู้บริโภคสหราชอาณาจักรชะลอตัวจาก 3.2% เหลือ 3.1% ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อนักลงทุนที่หวาดกลัวต่อภาวะเงินเฟ้อรอบโลก อย่างไรก็ตาม ตลาดแทบจะไม่ตอบสนองต่อตัวเลขเหล่านี้ โดยตลาดจับตาดูราคาก๊าซอย่างใกล้ชิด เนื่องจากในขณะนี้ วิกฤติพลังงานกำลังเป็นภัยสำคัญต่อทั้งยุโรป รวมถึงสหราชอาณาจักรที่แยกตัวออกมา แน่นอนว่าภาวะเงินเฟ้อมีความสำคัญมาก แต่ประเทศกำลังเดินเส้นทางที่ตามรอยยูโรโซนและสหรัฐฯ ซึ่งเศรษฐกิจนั้นตามมาด้วยการเติบโตที่แข็งแกร่งและแนวโน้มขาลงเล็กน้อย

    ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ Markit (PMI) ในภาคบริการของสหราชอาณาจักรซึ่งประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม ปรับขึ้นจาก 55.4 เป็น 58.0 จากการคาดการณ์ที่ลดลง แต่ก็ไม่ได้ช่วยหนุนเงินปอนด์ ในส่วนดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ผู้กล่าวถ้อยแถลงไม่นานก่อนตลาดปิดทำการ ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเทียบกับทั้งยูโรและปอนด์อังกฤษ

    ปอนด์อังกฤษแตกต่างไปจากค่าเงินยูโรตรงที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน และสิ่งนี้ส่งผลต่อการวิเคราะห์ของอินดิเคเตอร์บนกรอบ D1 ซึ่งในที่นี้ฝั่งสัญญาณสีเขียวเป็นฝ่ายได้เปรียบ ในด้านออสซิลเลเตอร์ฝั่งสีเขียวอยู่ที่ 55% ส่วน 25% เป็นสีเทา และสัญญาณ 20% ชี้ว่าราคาอยู่ในโซน overbought ในส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์ 60% ชี้ไปทางทิศเหนือ ส่วน 40% ชี้ไปทางทิศใต้

    ในส่วนของความเห็นผู้เชี่ยวชาญยังไม่มีความได้เปรียบที่ชัดเจน: 35% โหวตให้กับแนวโน้มขาขึ้น 25% โหวตขาลง และ 40% โหวตให้กับแนวโน้มด้านข้าง

    ระดับแนวรับในที่นี้อยู่ที่ระดับ 1.3740, 1.3675, 1.3600, 1.3575, 1.3525 และ 1.3400 ระดับแนวต้านและเป้าหมายของฝั่งกระทิง ได้แก่ 1.3770, 1.3810, 1.3835, 1.3900 และ 1.4000

USD/JPY: กลับมาสู่ปี 2017

  • USD/JPY ทำระดับสูงสุดในรอบสี่ปีเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่ระดับ 114.70 ซึ่งจุดที่ราคาเคยขยับถึงเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2017 หลังจากนั้นความกะตือรือร้นของฝั่งกระทิงก็อ่อนแรงลง และราคาคู่นี้ก็ได้กลับมาสู่ระดับเมื่อช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้า

    ในขณะที่ดอลลาร์แข็งค่าต่อยูโรและปอนด์อังกฤษตั้งแต่ถ้อยแถลงของ นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟด เมื่อวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา ดอลลาร์กลับอ่อนค่าลงเล็กน้อยเทียบกับเงินเยนในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ส่งผลให้ราคาคู่นี้ปิดตลาดที่บริเวณ 113.42

    อย่างที่เราทราบกันดี การเคลื่อนที่ของคู่นี้ได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งขยับอยู่แถวบริเวณ 2.15% ในตอนนี้ แต่หากอัตราผลตอบแทนปรับสูงขึ้น เราจะได้เห็น USD/JPY ผันผวนขึ้นรอบใหม่

    ในขณะนี้ นักวิเคราะห์ 65% คาดว่าราคาคู่นี้จะกลับมาในตอนแรกที่ระดับ 113.00 และจากนั้นจะลดลงไปยังโซน 111.00-112.00 ภายในปลายเดือนพฤศจิกายน ส่วนผู้เชี่ยวชาญ 35% ที่เหลือยึดติดกับมุมมองในทางตรงกันข้าม โดยคาดการณ์ว่าราาจะทำระดับสูงสุดต่อไปในรอบหลายปี และราคาอาจขึ้นต่อไปที่ช่วง 115.00-116.00

    ระดับแนวต้านในที่นี้ ได้แก่ 114.45, 114.70 และ 115.50 ส่วนเป้าหมายระยะยาวของแนวโน้มกระทิง คือ ระดับสูงสุดของเดือนธันวาคม 2016 ที่ 118.65 และมีแนวรับที่ 113.25, 112.00 และ 111.65

    สำหรับเหตุการณ์สำคัญในสัปดาห์นี้ เราอาจเน้นถึงการประชุมของธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นซึ่งจะจัดขึ้นในวันเดียวกันกับการประชุมของธนาคารกลางยุโรป ในวันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่สูงที่การประชุมครั้งนี้จะมีข่าวน่าประหลาดใจใด ๆ และอัตราดอกเบี้ยจะยังคงติดลบเหมือนเดิมที่ -0.1%

คริปโตเคอเรนซี: $66,925: สถิติสูงสุดใหม่ของบิทคอยน์

  • บิทคอยน์ทำสถิติ $64,850 เมื่อวันที่ 14 เมษายน ตามมาด้วยการย่อตัวลง 55% มาที่ $29,230 และในตอนนี้ก็ถึงช่วงที่นักลงทุนคริปโตเฝ้ารอคอย หลังจากช่วงเวลาแห่งความกังวลและความคาดหวังหลายเดือน ราคา BTC/USD ไม่เพียงจะฟื้นตัวจากที่ทุบราคาลงไปเท่านั้น แต่ยังทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ $66,925 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา ในส่วน Ethereum ก็ทำระดับสูงสุดใหม่เช่นกัน ETH/USD ที่ระดับ $4,363

    นักวิเคราะห์กล่าวว่าเหตุผลที่ราคาขึ้นในรอบนี้มีสองประการคือ อันดับแรกเป็นการเปิดตัวกองทุน Bitcoin ETFs (กองทุนรวมที่ซื้อขายบนตลาดหลักทรัพย์) ในตอนแรก คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) อนุมัติกองทุนบิทคอยน์ฟิวเจอร์ส ETF จาก ProShares ตามมาด้วยการอนุมัติใบขออนุญาตของ VanEck เพื่อเปิดกองทุนประเภทเดียวกัน

    เหตุผลประการที่สองและเหตุผลหลักของแนวโน้มกระทิงนี้ คือ ความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ ผู้เชี่ยวชาญจาก JPMorgan Chase เครือบริษัทธนาคารขนาดใหญ่ที่สุด ชี้ว่าราคาทองคำจริงนั้นแทบจะไม่ตอบสนองต่อความกังวลเรื่องภาวะเงินเฟ้อไม่เหมือนกับทองคำดิจิทัล จึงแสดงให้เห็นถึงบทบาทใหม่ของบิทคอยน์ในฐานะเครื่องมือในการคุ้มครองนักลงทุนและสนับสนุนภาพรวมแนวโน้มกระทิงของ BTC อย่างน้อยจนถึงสิ้นปีนี้

    นักวิเคราะห์อีกหลายคนเห็นด้วยกับ JPMorgan Chase ผู้มองแนวโน้มราคาบิทคอยน์อย่างสดใสไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็เตือนให้นักลงทุนระมัดระวังเป็นอย่างมากในช่วงต้นปี 2020 เพราะเป็นช่วงที่วัฎจักรสี่ปีของบิทคอยน์จะสิ้นสุดลง ด้วยเหตุนี้ นายไมเคิล เบอร์รี ผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ Scion Capital ผู้เคยทำนายวิกฤติสินเชื่อเมื่อปี 2007 จึงได้วางแผนเกี่ยวกับการเปิดตำแหน่งชอร์ทหรือขายบิทคอยน์

    Finder ได้จัดทำแบบสำรวจกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมฟินเทค 50 ราย จาก Cypherpunk Holdings, Bitcoin Reserve, Kraken, Arcane และ CryptoQuant รวมถึงอาจารย์มหาวิทยาลัย 7 ท่านจากมหาวิทยาลัยในเอเชีย ยุโรป และออสเตรเลีย พวกเขามองว่า อัตราแลกเปลี่ยน BTC จะทำระดับสูงสุดที่เหนือ $80,000 เล็กน้อยภายในสองเดือนข้างหน้า และราคาบิทคอยน์จะปิดท้ายปีที่บริเวณ $71,400

    ระดับต่าง ๆ ที่ระบุโดยผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ปรากฏว่าต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์จาก Standard Chartered และ Bloomberg เป็นอย่างมาก ซึ่งนักวิเคราะห์กลุ่มนี้เชื่อว่าราคาบิทคอยน์จะขึ้นไปเกิน $100,000 ในปีนี้

    นายวิลลี วู นักวิเคราะห์คริปโตชื่อดังชี้ว่า ระยะถัดไปของตลาดบิทคอยน์จะมีความผันผวนมากกว่าช่วงตลาดกระทิงที่ผ่านมา โดยชี้ถึงกรอบระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นสำหรับวัฎจักรรอบนี้

    นักวิเคราะห์รายนี้เขียนในโพสต์บนทวิตเตอร์หลายทวีตข้อความเมื่อหนึ่งปีก่อนว่า โมเดลของเขาทำนายราคาเหรียญที่ $200,000 ต่อบิทคอยน์ภายในสิ้นปี 2021 ซึ่งเป็นการคาดการณ์แบบอย่างต่ำ แต่ก็ไม่ตัดโอกาสที่ราคา BTC จะพุ่งขึ้นไปถึง $300,000

    นายมาร์ค จัสโก ซีอีโอ Morgan Creek Capital Management ทำนายตัวเลขคล้ายกันกับนายวิลลี วู โดยเขามองว่า ราคาเหรียญนี้อาจพุ่งไปถึงระดับ $250,000 แต่จะไม่เกิดขึ้นในปี 2021 แต่เป็นอีก 5 ปีข้างหน้า และยอมรับว่าเส้นทางสู่ระดับดังกล่าวนี้จะไม่ง่าย

    ในระหว่างนี้ ตลาดคริปโตย่อตัวลงเล็กน้อย นักลงทุนที่ระมัดระวังมากที่สุดเริ่มปิดตำแหน่งซื้อ บิทคอยน์ยังถูกเทขายโดยกลุ่มคนที่เข้าซื้อเมื่อช่วงราคาสูงสุดในฤดูใบไม้ผลิ พวกเขาได้กำไรเล็กน้อยและไม่อยากจะเสี่ยงอีกครั้ง ระบบขัดข้องในอัลกอริทึมของตลาดแลกเปลี่ยน Binance ของสหรัฐฯ ก็กระตุ้นความหวาดกลัวเช่นกัน หลังจากราคาทรุดลงมาอย่างฉับพลันถึง 87% แต่การดำเนินงานของตลาดแลกเปลี่ยนและโบรกเกอร์รายอื่น ๆ ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ และราคา BTC/USD ซื้อขายอยู่ที่ $61,000 ณ เวลาที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ มูลค่ารวมในตลาดคริปโตอยู่ที่ $2.6 ล้านล้านดอลลาร์ และดัชนีครองตลาดคริปโต (Bitcoin Dominance Index) อยู่ที่ 45.94%.ด้านดัชนี Crypto Fear & Greed Index อยู่ในโซนโลภ (Greed) ที่ 75 จุด อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าตลาดมีแรงซื้อมากเกินไป และในความเห็นของนักพัฒนาดัชนีชี้ว่า ยังคงอันตรายที่จะเปิดตำแหน่งขายในสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน

 

กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้

กลับ กลับ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายคุกกี้ ของเรา