EUR/USD: ความตื่นตระหนกที่ชื่อ B.1.1.159
- สัปดาห์ที่แล้วสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน: ก่อนและหลังวันขอบคุณพระเจ้า ทั้งนี้ วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันหยุดในสหรัฐฯ และเนื่องจากเงินทุนส่วนใหญ่ถูกควบคุมโดยธนาคารและกองทุนในประเทศนี้ ทำให้ตลาดการเงินทั่วโลกนิ่งขึ้นในวันดังกล่าว
ถ้าเช่นนั้นแล้ว ก่อนวันที่ 25 พฤศจิกายนเกิดอะไรขึ้นบ้าง? มีทุกอย่างเกิดขึ้นตามที่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ ทั้งความแตกต่างของการเติบโตทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ทั้งนโยบายการเงินของระบบธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรป และทั้งวิกฤตพลังงานในยุโรปที่ฉุดค่าของคู่ EUR/USD ลงไปอีก สถานการณ์แบบเบรกซิทที่กลับมาอีกครั้งยังมีส่วนให้มูลค่าของคู่นี้ตกลงไปอีกด้วย เป็นผลให้คู่ดังกล่าวลงไปอยู่ที่จุดต่ำสุดในประเทศที่ 1.1185 เมื่อเย็นวันที่ 24 พฤศจิกายน ตามมาด้วยวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันหยุดและ…ตลาดกลับมาตื่นอีกครั้งในวันศุกร์
ตลาดไม่เพียงแค่ตื่นกลับมาทำการเท่านั้น แต่ยังตื่นพร้อมความตื่นตระหนกจากข่าวของเชื้อโคโรนาไวรัสที่กลายพันธุ์ชนิดใหม่และเป็นอันตรายที่พบในแอฟริกาใต้ และอาจดื้อวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกจัดประชุมด่วนและรับทราบว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัสตัวใหม่ B.1.1.159 นี้แล้วเกือบ 100 คน ซึ่งเชื้อนี้มี “การกลายพันธุ์หลายจุด”
ข่าวที่น่าตกใจนี้ทำให้นักลงทุนลดความคาดหวังที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น และพวกเขาคาดการณ์ในแง่ลบมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทการตลาด ซีเอ็มอี กรุ๊ป ระบุว่า ความเป็นไปได้ที่อัตราดอกเบี้ยจะไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022 เคยอยู่ที่ 18% เมื่อวันพฤหัสบดี ก่อนจะเพิ่มเป็น 34% ในวันศุกร์
เมื่อเทียบกับวันที่ 24 พฤศจิกายนแล้ว ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ตกลงมาเกือบ 10% ดัชนีหุ้นและเงินคริปโตก็ร่วงลงมาเช่นกัน ตลาดเริ่มผันตัวหนีออกจากความเสี่ยง ความตื่นตระหนกของนักลงทุนและผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ร่วงลงช่วยให้แรงกระทิงของคู่ EUR/USD เพิ่มคู่ดังกล่าวเป็น 1.1321 ซึ่งเป็นยอดปิดของสัปดาห์
ความจริงแล้ว เป็นการยากที่จะทำนายว่า การระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสรอบใหม่จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจอเมริกันหรือยุโรปมากกว่ากัน นักวิเคราะห์ของบริษัทการเงิน ไอเอ็นจี กรุ๊ป ระบุว่า จะต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าไวรัสกลายพันธุ์ใหม่นี้ระบาดถึงยุโรปแล้วหรือยัง (ซึ่งยุโรปอยู่ใกล้ทวีปแอฟริกามากกว่า) ซึ่งอาจทำให้บรรยากาศในเขตยูโรโซนแย่ลงไปอีก และกดดันค่าเงินยูโร
ความแตกต่างของนโยบายการเงินจากธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรป จะยังคงส่งผลต่อทิศทางของคู่ EUR/USD ต่อไป ตัวแทนหลายคนจากหน่วยงานกำกับดูแลยุโรปแห่งนี้ระบุชัดเจนว่า ธนาคารกลางยุโรปต้องการดำเนินโครงการเงินช่วยเหลือฉุกเฉินเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (Pandemic Emergency Purchase Program หรือ PEPP) ให้เสร็จภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2022 แต่ท่าทีดังกล่าวแทบไม่ส่งผลต่อคู่นี้ อย่างไรก็ตาม การประชุมของสภากรรมการธนาคารกลางยุโรปในวันที่ 2 ธันวาคม ที่จะหารือถึงนโยบายการเงิน อาจเป็นเหตุการณ์หลักในสัปดาห์หน้า ตลาดไม่เพียงแต่คาดหวังท่าทีและการบอกใบ้จากการประชุมนี้เท่านั้น แต่ยังคาดหวังที่การตัดสินใจเกี่ยวกับเวลาสิ้นสุดโครงการ PEPP ที่แน่นอน และการปรับปริมาณของโครงการซื้อสินทรัพย์ (Asset Purchase Program หรือ APP) และมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ นอกจากนี้ ปริมาณของโครงการ APP อาจเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยที่โครงการ PEPP จะสิ้นสุดลง ยังเป็นไปได้ด้วยว่า หน่วยงานกำกับดูแลนี้จะเพิ่มการคาดการณ์เงินเฟ้อในช่วงปี ค.ศ. 2021-2023
การคาดการณ์ว่า นโยบายรัดกุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ และนโยบายผ่อนคลายของธนาคารกลางยุโรป จะฉุดคู่ EUR/USD ลงในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ เป็นการคาดการณ์ที่เป็นเหตุเป็นผล ผู้เชี่ยวชาญของบริษัทลงทุน โกลด์แมน ซาคส์ คาดการณ์ว่า อัตราของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน กันยายน และธันวาคม ค.ศ. 2022 และธนาคารกลางสหรัฐฯ จะลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณลงเหลือ $30,000 ล้านต่อเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม อัตราดังกล่าวอาจเพิ่มขึ้นอีกสองครั้งในปีค.ศ. 2023 และจะเพิ่มขึ้นถึง 1.5% ในอีกด้านหนึ่ง ธนาคารกลางยุโรปวางแผนว่า จะเริ่มขั้นตอนแรกเท่านั้นในปีค.ศ. 2023 และกว่าจะถึงตอนนั้นก็อาจได้เห็นการเติบโตของราคาที่สูงที่สุดเป็นสถิติใหม่ในประเทศยูโรโซน
อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าการประชุมของสภากรรมการธนาคารกลางยุโรปในวันที่ 2 ธันวาคมนี้ อาจมีการออกนโยบายเชิงรัดกุมและอาจสร้างความประหลาดใจให้นักลงทุน นักลงทุนที่ระแวดระวังจึงเริ่มใช้สถานะขายล่วงหน้าเพื่อทำกำไร ซึ่งในระยะสั้นจะทำให้คู่ EUR/USD ร่วงลงไปอีก
ผู้เชี่ยวชาญ 35% ที่เห็นว่าคู่ดังกล่าวจะเติบโตขึ้นในสัปดาห์หน้า เห็นด้วยกับทิศทางดังกล่าวเช่นกัน นักวิเคราะห์อีก 55% เห็นในทางตรงกันข้าม โดยเห็นว่า ธนาคารกลางยุโรปจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินครั้งสำคัญในช่วงนี้ และอีก 10% เห็นว่า คู่ดังกล่าวจะเคลื่อนตัวไปทางด้านข้าง
อินดิเคเตอร์ใน D1 เป็นสีแดงเป็นส่วนใหญ่ โดย 75% อยู่ในออสซิลเลเตอร์และอินดิเคเตอร์เทรนด์ สำหรับออสซิลเลเตอร์นั้น 15% ส่งสัญญาณว่าคู่นี้มีแรงขายมากเกินไป และอีก 10% เป็นสีเทาอยู่ตรงกลาง และอินดิเคเตอร์เทรนด์ 25% เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียวในช่วงสิ้นสุดสัปดาห์
ระดับแนวต้านอยู่ในโซนและระดับ 1.1300-1.1315, 1.1360, 1.1435-1.1465 และ 1525 ระดับแนวรับที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ 1.1300, 1.1230, 1.1185-1.1200 และ 1.1075-1.1100
สำหรับเหตุการณ์ในสัปดาห์หน้านั้น นอกจากการประชุมของธนาคารกลางยุโรปแล้ว ยังมีการเผยแพร่สถิติหลายตัวของตลาดผู้บริโภคในเยอรมนีและยูโรโซนในวันที่ 29-30 พฤศจิกายน และวันที่ 1 และ 3 ธันวาคม ทางด้านสหรัฐฯ นั้น อาจมีถ้อยแถลงจากเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่รับตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง รวมถึงการประกาศดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคการผลิตของสถาบันไอเอสเอ็มของสหรัฐฯ ในวันพุธที่ 1 ธันวาคม โดยปกติแล้ว นักลงทุนจะรอข้อมูลจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ในวันศุกร์แรกของเดือนนี้ รวมถึงอินดิเคเตอร์ที่สำคัญ เช่น ดัชนี NFP ซึ่งเป็นจำนวนตำแหน่งงานใหม่นอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ
GBP/USD: การเติบโตของอัตราดอกเบี้ยจะช่วยกู้ค่าเงินปอนด์
- คู่ GBP/USD เป็นไปตามการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (75%) จนถึงวันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน ที่ร่วงลงไปที่ 1.3275 ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดในรอบห้าเดือน โดยปิดตัวในช่วงสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 1.3350
ความกังวลเกี่ยวกับเบรกซิทยังเป็นปัจจัยหลักของความกดดันต่อเงินปอนด์ ลอร์ดเดวิด ฟรอสต์ รัฐมนตรีอังกฤษที่รับผิดชอบด้านการบังคับใช้ข้อตกลงกับสหภาพยุโรป ระบุว่า ขณะที่ยังต้องเจรจาหาทางออกของปัญหาไอร์แลนด์เหนือ จุดยืนของอังกฤษและสหภาพยุโรปก็ยังแตกต่างกันมาก รัฐบาลอังกฤษจึงเตรียมตัวใช้มาตรา 16
ทั้งนี้ พิธีสารไอร์แลนด์เหนือถูกลงนามเมื่อสองปีที่แล้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการถอนตัวของอังกฤษจากสหภาพยุโรป อังกฤษระบุว่า จุดอ่อนของเอกสารตัวนี้เองที่ทำให้อังกฤษมีปัญหาเรื่องการจัดส่งสินค้าและการขาดสินค้า ด้วยเหตุนี้ อังกฤษจึงเสนอต่อสหภาพยุโรปให้มีพิธีสารตัวใหม่ ซึ่งยุโรปมีท่าทีไม่พอใจต่อข้อเสนอดังกล่าว
ทั้งนี้ มาตรา 16 ของเอกสารฉบับปัจจุบัน อนุญาตให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่ลงนามใช้ “มาตรการป้องกัน” หากพิธีสารนี้ทำให้เกิด “ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง” และอาจเกิดเป็นเวลานาน
ความกลัวต่อเชื้อโคโรนาไวรัสกลายพันธุ์ใหม่ซึ่งทำให้นักลงทุนเบนตัวหนีออกจากความเสี่ยง ก็อาจไม่ช่วยค่าเงินปอนด์เช่นกัน ทั้งนี้ คู่ GBP/USD โตขึ้นมาเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์หสรัฐฯ อ่อนตัวลง (ดัชนี DXY ของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตกลงมาที่ 96.037) แต่เงินปอนด์ถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงกว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มานานแล้ว และตลาดยังทบทวนความคาดหวังต่อการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยทั้งต่อค่าเงินอเมริกันและค่าเงินอังกฤษด้วย
ความเสี่ยงว่าอาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยและภาวะเงินเฟ้อสูงในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว รวมทั้งการเติบโตที่ต่ำของค่าเงินปอนด์และเงินเฟ้อสูง เป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจอังกฤษเป็นอย่างมาก ผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อประจำปีจะเพิ่มถึงราว 5% ภายในเดือนเมษายน ค.ศ. 2022 และอาจลดลงมาที่เป้าที่ตั้งไว้ที่ 2% ภายในสิ้นปีค.ศ. 2022
อัตราดังกล่าวเป็นอัตราที่สูงมาก และก่อนการประชุมของธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน แอนดริว ไบลีย์ ประธานธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษ ระบุว่า หากพิจารณาถึงอินดิเคเตอร์นี้แล้ว อาจต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่ากำหนด ตลาดต่างเชื่อว่า หน่วยงานกำกับดูแลแห่งนี้อาจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งธนาคารกลางกลับไม่เพิ่มอัตราดอกเบี้ย ทำให้คู่ GBP/USD ร่วงลงไปอีก แอนดริว ไบลีย์ กล่าวกับนักลงทุนที่ผิดหวังว่า “เราไม่เคยสัญญาว่าจะมีการเพิ่มอัตราในเดือนพฤศจิกายน” และ “ผมไม่ได้มีหน้าที่ปกครองตลาด”
ยังมีความกังวลกึงการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ และผลกระทบของไวรัสสายพันธุ์ B.1.1.159 ต่อเศรษฐกิจของประเทศ และการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางอังกฤษในเดือนธันวาคม ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย เมื่อวันพุธที่ 24 พฤศจิกายน มีการประมาณการว่า ความเป็นไปได้ของการทำกำไรจากการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 15 จุดพื้นฐาน อยู่ที่ 75% แต่ก็ลดลงมาเหลือ 55% ในอีกสองวันถัดมา
นักวิเคราะห์ 70% คาดว่า หากหลังการประชุมในเดือนธันวาคมธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษยังคงเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีก จะทำให้คู่ GBP/USD มีค่าสูงขึ้น และสำหรับทิศทางในสัปดาห์หน้า ความเห็นแบ่งออกเป็นสองทางเท่ากัน โดย 50% คาดว่าคู่นี้จะเติบโตขึ้น และอีก 50% คาดว่าคู่นี้จะร่วงลง
อย่างไรก็ตาม อินดิเคเตอร์ใน D1 เป็นไปในทิศทางตลาดหมี โดยอินดิเคเตอร์เทรนด์ 100% ชี้ตัวลง เช่นเดียวกับกับออสซิลเลเตอร์ แต่มีออสซิลเลเตอร์ 15% ที่อยู่ในโซนที่มีแรงขายมากเกินไป
ระดับแนวรับอยู่ที่ 1.3300, 1.3275, 1.3200 เป้าหมายของตลาดหมีอยู่ที่ 1.3135 ระดีบแนวต้านและเป้าหมายของตลาดกระทิงอยู่ที่ 1.3410, 1.3475, 1.3515, 1.3570, 1.3610, 1.3735, 1.3835
ประธานธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษจะมีถ้อยแถลงในวันพุธที่ 10 ธันวาคม นักลงทุนหวังว่าแอนดริว ไบลีย์ จะให้ความกระจ่างว่า สถานการณ์นโยบายการเงินในอนาคตของทางธนาคารจะเป็นอย่างไร
USD/JPY: ใครได้ประโยชน์จากโควิด: ค่าเงินเยนเอาคืน
- สิ่งที่แย่ต่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงกลับส่งผลดีต่อค่าเงินเยน ครั้งนี้ก็เช่นกัน โดยค่าเงินเยนได้ 230 พิพส์ภายในหนึ่งวัน ทำให้คู่ USD/JPY ร่วงลงไปอยู่ที่ 113.043 โดยสองวันก่อนหน้านั้น หรือวันที่ 24 พฤศจิกายน คู่นี้มีค่าสูงสุดในรอบหลายปี อยู่ที่ 15.514 เหล่ากระทิงของคู่นี้หวังว่า คู่นี้จะมีทิศทางเช่นนี้ต่อไป แต่ก็ไม่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ใช้คำสั่งหยุดการขาดทุนต่างตกใจไปตามๆ กันต่อทิศทางแบบกลับลำกระทันหันนี้
นี่เป็นสถานการณ์ที่คาดการณ์ได้ ที่นักลงทุนแห่ให้ความสนใจค่าเงินเยนและค่าเงินฟรังสวิสจากการระบาดของเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ใหม่” นักลงทุนจากบริษัทการเงิน โซซิเอเต เจเนอราล อธิบานเหตุการณ์ดังกล่าว
คู่ USD/JPY ปิดตัวช่วงการซื้อขายที่ 113.112 และต้องจับตาดูว่า คู่นี้จะกลับมาที่ช่วงการซื้อขาย 113.40-114.40 หรือจะร่วงลงต่อไป
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญ 55% เห็นว่าคู่นี้จะร่วงลงต่อไป และอีก 45% คาดว่า จะมีการปรับฐานในทิศทางนี้อย่างน้อยหนึ่งครั้งหากคู่นี้ไม่กลับตัวขึ้นไปข้างบน อินดิเคเตอร์ก็ไปในทิศทางแตกต่างกันเช่นกัน ในขณะที่ออสซิลเลเตอร์ 25% เป็นสีเขียว 40% เป็นสีแดง 20% ส่งสัญญาณว่าคู่นี้มีแรงซื้อมากเกินไป และอีก 15% มีทิศทางเป็นกลาง อินดิเคเตอร์เทรนด์ก็มีทิศทางแตกต่างกันเช่นกัน โดย 50% ชี้ตัวขึ้น และอีก 50% ชี้ตัวลง
ระดับแนวต้านอยู่ที่ 113.40, 114.00, 114.40, 114.70, 115.00 และ 115.50 เป้าหมายระยะยาวของกระทิงอยู่ที่ 118.65 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดที่เคยทำไว้เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2016 ระดับแนวรับที่อยู่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ 113.00, 112.70, 112.00 และ 111.65
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคนั้น ข้อมูลภาคการค้าปลีกจะเผยแพร่ในวันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน ตามมาด้วยข้อมูลตลาดแรงงานและข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นในวันถัดมา
เงินคริปโต: รางวัลโนเบลสำหรับซาโตชิ นากาโมโตะ
- เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว เราอ้างความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากตลาดแลกเปลี่ยนเงินคริปโต คราเคน (Kraken) ที่ระบุว่าคู่ BTC/USD จะร่วงลงไปอยู่ที่ $55,000 อัลต์คอยน์ เชอร์พา นักวิเคราะห์เงินคริปโต ก็เห็นว่าคู่นี้จะอยู่ที่ $55,000 เช่นกัน ในขณะที่วิลลี วู ผู้สื่อข่าวและผู้เชีย่วชาญที่มีชื่อเสียง คาดว่าคู่นี้จะอยู่ในช่วงแนวรับ $55,000-60,000 วิลลี วู ยังกล่าวด้วยว่า บิทคอยน์ยังไม่ถึงจุดสูงสุดของการเติบโตและการมีมูลค่าสูงสุดเป็นสถิติใหม่อีกครั้ง
หลังจากผ่านมาสักระยะหนึ่ง เรากล่าวได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความเห็นที่ถูกต้อง โดยเงินคริปโตสกุลเงินหลักนี้เคลื่อนตัวไป โดยพึ่งอยู่แนวรับราว $55,500 และมีค่าสูงสุดในระเทศที่ $60.030 จนถึงวันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน และมีความตื่นตระหนักในตลาดเมื่อวันศุกร์จากเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ใหม่ ทำให้นักลงทุนเริ่มขายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง รวมทั้งเงินคริปโตด้วย
มูลค่ารวมของตลาดเงินคริปโตร่วงลงมาอยู่ที่ $2.460 ล้านล้าน ($2.590 ล้านล้านเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และดัชนีความกลัวและความโลภเงินคริปโต (Crypto Fear & Greed Index) เพิ่มขึ้นมา 47 จุด ออกมาจากโซนความกลัวมาอยู่ตรงกลางของกราฟ คู่ BTC/USD ถูกซื้อขายในโซน $54,350 ในขณะที่เขียนบทวิเคราะห์นี้อยู่ หรือเย็นวันที่ 26 พฤศจิกายน หลังจากก่อนหน้านั้นอยู่จุดต่ำสุดในประเทศที่ $53,600
รายงานจากบริษัทวิเคราะห์ กลาสโน้ด (Glassnode) ซึ่งเผยแพร่ก่อนวันที่ 26 พฤศจิกายน ระบุว่า ตลาดยังไม่แสดงจุดทำกำไรอย่างมหาศาล โดยระบุว่า เงินบิทคอยน์ที่อยู่ในมือของผู้ถือบิทคอยน์ระยะสั้นมีปริมาณต่ำสุดในรอบหลายปีโดยมีน้อยกว่า 3 ล้านเหรียญ ซึ่งกลับทำให้จำนวนเหรียญที่ถือโดยผู้ถือระยะยาวมีปริมาณมากที่สุดในรอบหลายปี ในขณะเดียวกัน ผู้ถือเหรียญก็เร่งถือเหรียญด้วยเช่นกัน โดยจำนวนกระเป๋าเงินที่มีจำนวนบิทคอยน์มากกว่าศูนย์ในช่วงครึ่งหลังของเดือนพฤศจิกายนมีจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา อยู่ที่ 38.76 ล้านกระเป๋า
ข้อมูลของกลาสโน้ดระบุว่า ยังไม่มีสัญญาณว่าจะมีการ “เท” บิทคอยน์อย่างจริงจัง และบิทคอยน์อาจยังมีหนทางไปได้อีกไกล
คิ ยัง จู ประธานบริหารบริษัทวิเคราะห์ คริปโตควอนท์ (CryptoQuant) มีความเห็นไปในทางเดียวกับกลาสโน้ด โดยแม้บิทคอยน์จะมีราคาถูกลงตั้งแต่กลางสัปดาห์ที่แล้ว แต่ผู้ถือบิทคอยน์ก็ยังไม่เร่งเทขาย ในขณะเดียวกัน ก็มีแนวโน้มการถอนเงินคริปโตเพื่อนำไปเก็บเองมากขึ้นเช่นกัน โดยคริปโตควอนท์ระบุว่า ขณะนี้ ห้องค้าหลักทรัพย์มีบิทคอยน์จำนวนต่ำสุดนับตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 2018
นอกจากนี้ นักลงทุนยังไม่ได้ถอนแต่เพียงบิทคอยน์เท่านั้น แต่ยังถอนอีธีเรียม ทำให้ปริมาณสินทรัพย์ประเภทนี้มีน้อยลง และลดแรงกดดันในตลาด โดยคิ ยัง จู ระบุว่า ในระยะยาว แนวโน้มนี้จะทำให้ราคาของสกุลเงินดิจิทัลหลักเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นด้วย
เครดิเบิล (Credible) นักเทรดและนักวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียง แย้งว่า การปรับฐานของบิทคอยน์ในปัจจุบันเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อให้แนวโน้มตลาดกระทิงดำเนินต่อไป เพื่อให้ราคาเหรียญพุ่งทะลุ $70,000 เขาระบุว่า บิทคอยน์กำลังอยู่ในช่วงการปรับฐานที่ดีในขณะนี้
เครดิเบิลคาดการณ์ว่า ราคาบิทคอยน์อาจร่วงลงไปอยู่ที่ $52,000 – 53,000 ในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งเป็นจุด “ก้น” ของการปรับฐานในปัจจุบัน เขาระบุว่า ราคาของบิทคอยน์ที่ $69,000 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ยังไม่ใช่จุดสูงสุดของตลาดกระทิงในปัจจุบัน เนื่องจากที่ผ่านมา วงจรการเติบโตแต่ละวงจรจะอยู่นานกว่าวงจรที่ผ่านมา
ไมค์ แม็คโกลน หัวหน้านักยุทธศาสต์ฝ่ายโภคภัณฑ์ของบริษัทวิจัย บลูมเบิร์ก อินเทลลิเจนซ์ (Bloomberg Intelligence) เชื่อว่า แม้จะมีการปรับฐานชั่วคราว แต่บิทคอยน์จะเติบโตในปีค.ศ. 2022 เขากล่าวทางบัญชีทวิตเตอร์ว่า สินทรัพย์ชนิดนี้อาจเผชิญแนวต้านเมื่อมีราคา $100,000
แอนโธนี สคารามุชชี ผู้ก่อตั้งสกายบริดจ์ แคปิตอล (Skybridge Capital) บริษัทลงทุน คาดการณ์ว่า บิทคอยน์จะ “โดดเด่นกว่าทองคำในที่สุด” เขาเห็นว่า ราคาของบิทคอยน์จะถึง $500,000 ได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นควรเริ่มลงทุนในบิทคอยน์ตั้งแต่ตอนนี้ “ผมคิดว่าบิทคอยน์อาจดีกว่าทองคำสิบเท่า… ผมคงไม่แปลกใจหากบิทคอยน์โดดแบบพุ่งทะยานและทองคำจะเติบโตขึ้นตามเส้นกราฟ” แอนโธนี สคารามุชชี กล่าว
ไมค์ โนโวแกรตซ์ ประธานบริหารของบริษัทลงทุน แกแล็กซี ดิจิทัล โฮลดิ้งส์ (Galaxy Digital Holdings) มีความเห็นไปในทางเดียวกัน โดยกล่าวว่า ทองคำ “ถูกบิทคอยน์บดขยี้”
เคที วู้ด ประธานบริหารของ อาร์ค อินเวสต์ (ARK Invest) บริษัทจัดการการลงทุนสัญชาติอเมริกัน ยืนยันการคาดการณ์ครั้งที่แล้วของเธอ ที่ระบุว่า ราคาบิทคอยน์จะแตะ $500,000 โดยระบุว่า ราคาบิทคอยน์จะถึงระดับนั้นได้หากนักลงทุนที่เป็นสถาบันลงทุนเป็นเงิน 5% จากเงินในพอร์ตลงทุนไปกับบิทคอยน์
ตัวแทนจากบริษัทใหญ่ต่างสนใจในสินทรัพย์ดิจิทัลกันมากขึ้น โดยผลสำรวจจากแคมป์เดน เวลธ์ (Campden Wealth) บริษัทที่ปรึกษาของอังกฤษ ระบุว่าครอบครัวร่ำรวยกว่าหนึ่งในสี่ทั่วโลกลงทุนในเงินคริปโตแล้ว โดยผลสำรวจนี้จัดทำในกลุ่มตัวแทนของสำนักงานครอบครัว 385 แห่ง ที่จัดการเงินทุนโดยเฉลี่ยราว $1,600 ล้าน
ครอบครัวที่ร่ำรวยในทวีปอเมริกาเหนือ 31% และครอบครัวร่ำรวยในทวีปยุโรป 38% ลงทุนในเงินคริปโต ในขณะที่ครอบครัวร่ำรวยในเอเชียแปซิฟิกมีสัดส่วนน้อยกว่า โดยอยู่ที่ 19% ในขณะเดียวกัน เงินคริปโตที่เป็นสินทรัพย์ของครอบครัวมหาเศรษฐีเหล่านี้อยู่ที่เพียง 1% ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ระบุว่า ในปีหน้า พวกเขาวางแผนรักษาปริมาณการลงทุนที่ระดับปัจจุบัน โดยอีก 28% ระบุว่าจะลงทุนเพิ่มขึ้น และมีเพียง 4% ที่ระบุว่า จะลงทุนน้อยลง
ในช่วงท้ายนี้มีข่าวสำหรับแฟนของซาโตชิ นากาโมโตะ โดยแดเนียล ลีออน ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานฝ่ายปฏิบัติการของบริษัทคริปโต เซลเซียส เน็ตเวิร์ค (Celcius Network) ระบุว่า ผู้ให้กำเนิดบิทคอยน์รายนี้ ควรได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากเขาคิดค้นเงินคริปโตสกุลเงินแรกนี้ โดยเขาระบุว่า “ชายผู้นี้ (นากาโมโตะ) ทำให้ผู้คนหลายแสนคนได้ประโยชน์ทางการเงินมากขึ้น เขาทำได้มากกว่าเหล่านักเศรษฐศาสตร์ในสถาบันการศึกษา”
สิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือ ค้นหาว่านากาโมโตะมีตัวตนจริงหรือไม่ เพราะสุดท้ายแล้ว คณะกรรมการโนเบลไม่น่าตัดสินใจมอบรางวัลให้บุคคลที่ไม่เคยมีตัวตนอยู่จริง…
***
ลูกค้าของบริษัทโบรคเกอร์ NordFX ยังคงสะสมตั๋วล็อตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง: การจับฉลากซูเปอร์ ล็อตเตอรี ประจำปีใหม่ จะเริ่มขึ้นในเร็วๆ นี้ ยิ่งมีตั๋วล็อตเตอรี่มาก ยิ่งมีโอกาสได้รางวัลมากกว่าหนึ่งรางวัลมาก รางวัลมีมูลค่าตั้งแต่ $500-$20,000
เงินนี้จะมีประโยชน์กับคุณไม่ใช่หรือ?
วิธีการเข้าร่วมง่ายมาก รายละเอียดทั้งหมดอยู่บนเว็บไซต์ของ NordFX
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ