มันเป็นเรื่องที่น่าให้ความสนใจเสมอว่าคำทำนายของใครจะถูกต้องและคำทำนายของใครผิด เมื่อหนึ่งปีก่อนหน้านี้ เราเคยเผยแพร่บทวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญจากบรรดาธนาคารชั้นนำของโลกหลายแห่งเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนของ EUR/USD สำหรับปี 2021 และในตอนนี้ เราตัดสินได้แล้วว่าใครทำนายได้ถูกต้องและแม่นยำมากน้อยเพียงใด หรือในทางกลับกันใครที่ทำนายได้ไม่ถูกต้อง
บทวิเคราะห์ของปีที่แล้ว: และแล้วพวกเขาก็ผิด
เมื่อเดือนธันวาคมปี 2019 ยังไม่มีการพูดคุยเรื่องการแพร่ระบาดของโรครอบโลกในเดือนนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่การระบาดของ COVID-19 ครั้งแรกเกิดขึ้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน อย่างไรก็ตาม Financial Times ได้เผยแพร่การคาดการณ์โดยผู้เชี่ยวชาญจาก Citigroup ว่า ธนาคารเฟดสหรัฐฯ จะเดินหน้าใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และกระตุ้นตลาดด้วยสภาพคล่องเงินดอลลาร์ราคาถูก ซึ่งจะทำให้ดอลลาร์อ่อนค่า ผู้เชี่ยวชาญจาก Citigroup ยังได้รับการสนับสนุนโดยนักวิเคราะห์จาก Swiss bank Lombard Odier รวมถึงหนึ่งในบริษัทการลงทุนขนาดใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง BlackRock
หลังจากภาวะโรคระบาดรุนแรงขึ้น สถานการณ์เริ่มพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นจริง นับตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ดอลลาร์เริ่มเสียหลัก และคู่ EUR/USD ก็ขยับขึ้นต่อเนื่อง โดยตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม ราคาปรับขึ้นมาจาก 1.0630 ขึ้นมาที่ 1.2300 ในปี 2021
ธนาคารเฟดเดินหน้าเต็มกำลังในการบังคับใช้นโยบายกระตุ้นทางการเงินเพื่อต้อนรับปี 2021 และมีการพิมพ์ธนบัตรอย่างเต็มความสามารถ จึงเติมเต็มตลาดอเมริกันด้วยเงินดอลลาร์ที่อ่อนแอ โดยยังไม่มีแผนในการจำกัดมาตรการกระตุ้นทางการเงิน หรือขึ้นอัตราดอกเบี้ย
จากสถานการณ์นี้และเมื่อย้อนกลับไปดูพฤติกรรมของดอลลาร์ในช่วงสามไตรมาสสุดท้ายของปี 2020 ผู้เชี่ยวชาญได้คาดการณ์ในหลายเดือนข้างหน้า โดยส่วนใหญ่เชื่อว่าเงินจะไหลเข้ายุโรปอย่างแข็งขันในปี 2021 และดอลลาร์จะเผชิญกับการอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง จริงอยู่ที่มีนักวิเคราะห์หลายคนประเมินความลึกที่ดอลลาร์จะอ่อนค่าลงไปแตกต่างกัน
เช่น หนึ่งในธนาคารเพื่อการลงทุนขนาดใหญ่ที่สุด Goldman Sachs ได้ทำนายว่าอัตราแลกเปลี่ยนของ USD จะอ่อนค่าลงเพียงแค่ 6% ส่วนด้าน Morgan Stanley คาดการณ์ว่าคู่ EUR/USD จะขยับขึ้นมาที่ 1.2500 (ซึ่งตัวเลขจำนวนเต็มที่ 1.2500 เป็นการคาดการณ์ปานกลางในบทวิเคราะห์หลายแหล่งอื่น ๆ)
แต่ก็มีผู้ที่ทำนายแนวโน้มขาลงแบบพังพินาศในดอลลาร์เช่นกัน ปีเตอร์ ชิฟฟ์ นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังและประธาน Euro Pacific Capital President และสตีเฟน โรช อดีตประธาน Morgan Stanley ภูมิภาคเอเชียและอดีตกรรมการบริหารธนาคารเฟดประมาณการโอกาที่ดอลลาร์จะทรุดตัวลงในปี 2021 ที่ 50% ในขณะเดียวกัน นายโรชเชื่อว่า ดอลลาร์อาจอ่อนค่าลงถึง 35% ตัวเลขคาดการณ์ที่น้อยกว่าเล็กน้อยแต่ก็ถือว่าเยอะมากเช่นกันที่ 20% ยังคาดการณ์โดยนักวิเคราะห์จาก Citigroup ซึ่งตามความเห็นของพวกเขาแล้ว คู่ EUR/USD ควรจะอยู่ในโซน 1.4000-1.4400
ราคาได้เริ่มขยับขึ้นต้อนรับปี 2021 จริง แต่เทรนด์ดังกล่าวนี้กินเวลา…ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ ราคาขยับถึงระดับที่ 1.2350 เมื่อวันที่ 6 มกราคม และนี่เป็นระดับสูงสุดของปี ทุกอย่างเปลี่ยนไปเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม และดอลลาร์เริ่มขยับขึ้นมาจากแนวโน้มที่อ่อนแอ
ค่าเงินสหรัฐฯ เคลื่อนที่ในกรอบแคบ ๆ จนถึงปลายเดือนพฤษภาคม โดยราคาผันผวนตามคลื่นการระบาดของไวรัสโคโรนาและคำแถลงโดยผู้นำธนาคารเฟด แต่อารมณ์ของธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มเปลี่ยนท่าทีจากพิราบเป็นเหยี่ยวอย่างชัดเจนก่อนช่วงฤดุร้อนเท่านั้น เศรษฐกิจของประเทศเริ่มตัวและความมั่นใจในการใช้มาตรการรัดเข็มขัดมากขึ้นเริ่มชัดเจนในหมู่นักลงทุน และนี่หมายความว่าธนาคารฯ จะมีการปรับลดมาตรการซื้อคืนสินทรัพย์และขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะยาว นักลงทุนจึงเริ่มนึกถึงช่วงเวลาฤดูร้อนแห่ง “ขนมปัง” ปี 2019 ที่อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.25% และไม่ใช่ระดับ “ขอทาน” ปัจจุบันที่ 0.25%
หลังจากนั้น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก็แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง (ไม่นับการปรับฐานเล็กน้อย) และขณะนี้กำลังส่งท้ายปี 2021 ในโซน 1.1200-1.1300 กล่าวคือยังอยู่ห่างไกลจาก 1.2500 อย่างที่คาดการณ์โดยผู้เชี่ยวชาญหลายคน และแทบไม่ต้องพูดถึง 1.4000-1.4400 แต่อย่างใด
ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์อะไรในปีใหม่นี้
หากการคาดการณ์ค่าเงินดอลลาร์ในปี 2021 ที่ผ่านมาเป็นเสมือนกับชีวประวัติ แนวโน้มสำหรับ USD ในสายตาของผู้เชี่ยวชาญบางท่านดูเป็นไปในแง่บวกมากขึ้นในขณะนี้ ทั้งหมดนี้เป็นเพราะธนาคารเฟดที่มีท่าทีแตกต่างไปจากธนาคารกลางของประเทศ G20 อื่น ๆ โดยเฟดเริ่มเดินหน้าจำกัดมาตรการ QE และเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงตลาดแรงงานก็กำลังฟื้นตัวดี การเติบโตของ GDP คาดการณ์อยู่ที่ 5% และในเวลานี้ ธนาคารเฟดมองว่าถึงเวลาแล้วที่จะรับมือกับภาวะเเงินเฟ้อ ซึ่งโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะขึ้นเป็นอย่างน้อย 1.5% ภายในปี 2023 นั้นแทบจะไม่ต้องสงสัยแต่อย่างใด
ในสถานการณ์นี้ ผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารดัตช์ ING Group (Internationale Nederlanden Groep) ท่าทีผ่อนคลายของธนาคารกลางอียู ญี่ปุ่น และสวิตเซอร์แลนด์ที่อดทนต่อราคาที่สูงขึ้นมากกว่าจะส่งผลให้ค่าเงินประเทศเหล่านี้อ่อนค่าลงตามหลังดอลลาร์เป็นอย่างมากในปี 2022 นักยุทธศาสตร์จาก ING เชื่อว่า คู่ EUR/USD จะขยับลดลงไปยังโซน 1.1100 ในไตรมาสที่ 2 และ 4 ในปีหน้านี้ และจะขยับต่ำลงไปอีกที่ 1.1000 ในไตรมาสที่ 4
นักวิเคราะห์ของหนึ่งในเครือบริษัทการเงินขนาดใหญ่ที่สุดในโลก HSBC (Hongkong and Shanghai Banking Corporation) เห็นด้วยกับ ING บทวิเคราะห์ของพวกเขาชี้ว่า “ข้อโต้แย้งหลักของเรามาจากปัจจัยสองประการที่สนับสนุนดอลลาร์ 1. คือ การชะลอตัวของการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และ 2. การปรับตัวอย่างช้า ๆ เพื่อไปสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด สองปัจจัยเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเป็นตัวตัดสินและน่าจะสนับสนุนให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในปี 2022” นักวิเคราะห์จาก HSBC ยังเชื่อด้วยว่า แนวโน้มของคู่ EUR/USD จะเป็นไปในทิศทางขาลง เนื่องจากธนาคารกลางยุโรปยังไม่มีแผนขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงปลายปี 2022
ผู้เชี่ยวชาญจาก CIBC (Canadian Imperial Bank of Commerce) ก็เข้าข้างฝั่งดอลลาร์สหรัฐเช่นกัน โดยมองว่าคู่ EUR/USD มีเส้นทางดังนี้ในปีที่จะถึงนี้: Q2 - 1.1100, Q3 - 1.1000, Q4 - 1.1000 ด้านบริษัทการเงิน JP Morgan ประเมินแนวโน้มของอัตราแลกเปลี่ยนนี้แบบปานกลางมากกว่า โดยตั้งเป้าไว้ที่ระดับ 1.1200 ซึ่งในกรณีนี้เราถือว่าเป็นเทรนด์ด้านข้างได้แล้วในขณะนี้
ทั้งนี้ ไม่ใช่สถาบันต่าง ๆ ในโลกของการเงินจะเดิมพันว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นเสมอไป นักวิเคราะห์หลายคนมีท่าทีในทางตรงกันข้าม และคาดการณ์ว่าดอลลาร์จะอ่อนค่าลง FXStreet เขียนไว้ว่า “ในปี 2022 ธนาคารเฟดอาจกลับมาสู่ท่าทีพิราบอีกครั้งซึ่งจะส่งแรงกดดันต่อดอลลาร์”
Barclays Bank พิจารณาแล้วว่าดอลลาร์นั้นถูกประเมินค่าสูงเกินไป ดังนั้น ค่าเงินน่าจะอ่อนค่าลงปานกลางสอดรับกับความต้องการในความเสี่ยงและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นอันเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและภาวะเงินเฟ้อที่สงบลง การคาดการณ์ของ Barclays สำหรับ EUR/USD มีดังนี้: Q1 2022 - การเติบโตไปที่ 1.1600, Q2 - 1.1800, Q3 และใน Q4 เป็นการเคลื่อนที่ไปยังโซน 1.1900
Reuters ได้สัมภาษณ์ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดบนวอลล์สตรีทและเผยแพร่บทวิเคราะหืคาดการณ์การเคลื่อนที่ของตลาดฟอเร็กซ์ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า นอกเหนือไปจากการวิเคราะห์ที่กล่าวไปแล้วของ JP Morgan และ Barclays ผู้ร่วมตอบแบบสำรวจยังมีเครือธนาคารต่าง ๆ เช่น Morgan Stanley, Goldman Sachs, Wells Fargo ตลอดจนบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์ขนาดใหญ่ที่สุดของยุโรป Amundi
Morgan Stanley เชื่อว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเฟดจะเป็นไปอย่างราบรื่น ในขณะที่ธนาคารกลางอื่น ๆ จะเริ่มเปลี่ยนท่าทีจากพิราบเป็นเหยี่ยวในที่สุด สิ่งนี้จะนำไปสู่ท่าทีที่สอดคล้องกันของเหล่าธนาคา่รกลาง และสร้างแรงกดดันให้กับดอลลาร์ ทำให้คู่ EUR/USD ขยับขึ้นมาที่ 1.1800
นักยุทธศาสตร์จาก Goldman Sachs วางเป้าหมายไว้ที่ระดับเดียวกันคือ 1.1800 แต่ในกรณีนี้อาจถือว่าเป็นความสำเร็จของดอลลาร์สหรัฐ โดยการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ของธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งนี้เคยวางเป้าไว้สูงกว่ามากที่ 1.2500
Amundi เชื่อว่า ธนาคารเฟด “ไม่มีอะไรที่จะทำให้ตลาดต้องประหลาดใจ” และแม้ว่านโยบายทางการเงินที่เริ่มกลับมาเป็นปกติ “ก็จะส่งผลในทางบวกโดยรวมต่อดอลลาร์” ภายในสิ้นปี ซึ่งราคาจะขยับถึง 1.1400
การคาดการณ์ที่เกินความคาดหมายมากที่สุดเป็นของนักยุทธศาสตร์จากสถาบันเพื่อการลงทุน Wells Fargo โดยพวกเขาวางกรอบไว้กว้างตั้งแต่ 1.1000 ถึง 1.1800 และค่อนข้างมีความเป็นไปได้ที่คำทำนายนี้จะพิสูจน์ว่าเป็นการคาดการณ์ที่ถูกต้องมากที่สุด
มีสุภาษิตหนึ่งกล่าวไว้ว่า “มนุษย์เชื่อ และชีวิตมี” หมายความว่า มนุษย์เป็นผู้วางแผน และแม้แต่ผู้ที่ฉลาดมากที่สุดก็ยังไม่สมบูรณ์แบบและย่อมเปลี่ยนแปลงกันได้ ในขณะที่ชีวิตนั้นวางทุกอย่างไว้แล้วตลอดเวลา ดังนั้น เราจะสามารถเข้าใจทุกอย่างได้ในช่วงปลายปีหน้าเท่านั้นว่าใครคือผู้ที่ทำนายได้ถูกต้อง ในระหว่างนี้ ในช่วงต้อนรับปีใหม่ เราขออวยพรให้คุณประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน การเงิน มีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุข สวัสดีปีใหม่!!
***
ในบทวิเคราะห์ในอีกหนึ่งสัปดาห์ เราจะมาเล่าให้ฟังว่าผู้เชี่ยวชาญคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับอนาคตของเงินเยนญี่ปุ่น (USD/JPY) ปอนด์อังกฤษ (GBP/USD) และดอลลาร์แคนาดา (USD/CAD) ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD/ USD) โครนสวีเดน (USD/SEK) ฟรังก์สวิส (USD/CHF) และหยวนจีน (USD/CNH)
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ