บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 21 - 25 กุมภาพันธ์ 2022

EUR/USD: รอคอยสงครามและการขึ้นอัตราดอกเบี้ย

  • ตั้งแต่วันที่ 10 - 14 กุมภาพันธ์ เป็นช่วงเวลาแห่งพายุที่ไม่คาดคิด อารมณ์หวาดวิตกรุนแรงขึ้นจากสื่อชั้นนำต่าง ๆ ที่รายงานถึงคำกล่าวของผู้นำระดับโลก โดยเฉพาะประธานาธิบดีสหรัฐฯ เกี่ยวกับแนวโน้มที่รัสเซียจะบุกรุกยูเครน ทำเนียบขาวได้ตัดสินใจย้ายนักการทูตออกจากรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน ไปยังลวิฟ เพื่อให้ห่างจากพื้นที่ที่อาจมีการปฏิบัติภารกิจทางการทหารและเพื่อให้เข้าใกล้กับเขตแดนของอียูมากขึ้น

    เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นท่ามกลางการตัดสินใจของธนาคารเฟดสหรัฐฯ ที่จะแทรกแซงการประชุมฉุกเฉินของคณะกรรมการ FOMC (คณะกรรมการตลาดเสรีสหรัฐฯ) ข่าวลือแพร่กันหนาหูโดยทันทีว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้น 50 จุดพื้นฐาน (bp) ในครั้งนี้

    ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนจึงรีบขจัดสินทรัพย์ความเสี่ยง และดัชนีหุ้น S&P500, Dow Jones และ Nasdaq จึงติดลบ

    คู่ EUR/USD ขยับลงเช่นกัน ตลาดกังวลว่า ช่วงเวลาที่ “คุกรุ่น” ของความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนจะส่งผลให้ราคาเชื้อเพลิงปรับสูงขึ้นต่อ และชะลอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป นักยุทธศาสตร์ JP Morgan ชี้ว่า หากราคาน้ำมันปรับขึ้นเป็น $150 ต่อบาร์เรล ดัชนีราคาผู้บริโภคของโลก (CPI) อาจขยับขึ้นเป็น 7.0% และ Capital Economics ชี้่ว่า อัตราเงินเฟ้อในเศรษฐกิจพัฒนาแล้วอาจปรับสูงขึ้นเป็น 4.5%

    ดังนั้น หลังจากอัตราแลกเปลี่ยนเริ่มต้นวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ 1.1494 ด้วยความกลัวว่าสงครามจะเกิดขึ้น คู่สกุลเงิน EUR/USD ปิดตลาดที่ 1.1279 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ กล่าวคือ คู่ยูโรกลับไปยังด้านบนในช่วงการแถลงข่าวในเชิงสายเหยี่ยวของ นางคริสติน ลาการ์ด หลังการประชุมครั้งล่าสุดของธนาคารกลางยุโรป

    ผลลัพธ์การประชุมของคณะกรรมการฉุกเฉิน FOMC ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนตกตะลึก ผลลัพธ์ครั้งนี้ไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย อาจเป็นเพราะกรรมการบางรายไม่อยากที่จะกระตุ้นให้เกิดการเทขายหุ้นและตัดสินใจที่จะรอดูผลความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน นอกจากนี้ ยังปรากฏหลายสัญญาณการยุติความขัดแย้งอย่างสงบ

    นักลงทุนเริ่มค่อย ๆ วางใจมากขึ้น แต่ก็ยังไม่รอดจากคลื่นการเทขายหุ้นรอบใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์หลังจากถ้อยแถลง “อันสิ้นโลก” ของ นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ

    EUR/USD ขยับต่างจากตลาดหุ้น โดยราคาคงคัวและปิดตลาดรอบห้าวันที่ 1.1324 ในกรอบ 1.1260-1.1400

    ที่ราคาซื้อขายมาตลอดเดือนธันวาคมและในช่วงสิบวันแรกของเดือนมกราคม

    ค่าเงินยูโรก็ถูกพยุงไม่ให้อ่อนค่าลงต่อ โดยได้รับแรงหนุนจากสถิติเศรษฐกิจหลากทิศทางจากฝั่งสหรัฐฯ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเบื้องต้นคิดเป็น 248K กล่าวคือ เพิ่มขึ้นมา 23K แทนจากที่คาดการณ์ว่าจะลดลง 5K แต่จำนวนคำขอซ้ำกลับลดลงถึง 26K แทนที่การคาดการณ์ที่ 2K

    พฤติกรรมคู่ EUR/USD ในช่วงไม่กี่วันข้างหน้าแน่นอนว่าจะได้รับอิทธิพลจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงว่าประเทศในยุโรปและสหรัฐฯ จะเข้าไปเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใดในความขัดแย้งดังกล่าว และบรรดาผู้นำจะมีมุมมองอย่างไร หากไม่มีสงครามเกิดขึ้น ประเด็นเรื่องวิกฤติน้ำมันในยุโรปจะค่อย ๆ เลือนหายไป ซึ่งจะช่วยหนุนค่าเงินยูโร

    แรงสนับสนุนดอลลาร์ในขณะนี้ขึ้นอยู่กับธนาคารเฟดเป็นส่วนใหญ่ จริงอยู่ที่มีความเห็นไม่ลงรอยกันในหมู่กรรมการ FOMC แต่ไม่ใช่ประเด็นว่าธนาคารฯ ควรจะคุมเข้มนโยบายทางการเงินหรือไม่ หากแต่เป็นว่าควรจะดำเนินการเมื่อไรและมากน้อยแค่ไหน คำพูดสายเหยี่ยวของกรรมการบางรายทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า 6 ใน 7 จะโหวตให้มีการจำกัดมาตรการทางการเงินในปี 2022 อย่างไรก็ดี จำนวนผู้นำธนาคารเฟดหลายคนยังคงเชื่อว่า การดำเนินการต่าง ๆ ควรเป็นไปอย่างช้า ๆ และระมัดระวัง เนื่องจากขั้นตอนที่เร่งด่วนเกินไปอาจกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ

    ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ อินดิเคเตอร์เทรนด์บนกรอบ D1 จำนวน 90% เป็นสีแดง และมีเพียง 10% เป็นสีเขียว ในส่วนออสซิลเลเตอร์มี 20% เป็นสีเขียว 50% สีแดง และ 30% เป็นสีเทากลาง

    การวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญสำหรับสัปดาห์หน้าก็ดูไม่ค่อยแน่นอนเท่าไรนัก 40% ไม่ตัดโอกาสว่าราคาอาจขยับขึ้นต่อ 50% มีมุมมองในทางตรงกันข้าม และอีก 10% มีท่าทีเป็นกลาง อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ 65% เห็นด้วยว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นสำหรับการคาดการณ์ในเดือนมีนาคม

    แนวต้านในที่นี้ ได้แก่ 1.1385-1.1400, 1.1480, 1.1525, 1.1570 และ 1.1615 ส่วนระดับแนวรับ คือ 1.1300, 1.1275, 1.1220 ตามมาด้วย 1.1185 และระดับต่ำสุดของวันที่ 28 มกราคม ที่ 1.1120

    สำหรับปฏิทินเศรษฐกิจในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ เราอาจเน้นการประกาศสถิติกิจกรรมทางธุรกิจ (Markit) ในเยอรมนีและยูโรโซนในวันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ โดยเราจะได้ทราบสถิติ GDP สหรัฐฯ รายปีเบื้องต้นในวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ และสถิติคำสั่งซื้อสินค้าทุนและสินค้าคงทนของสหรัฐฯ ในวันศุกร์

GBP/USD: คู่สกุลเงินสะสมพลัง และผู้เชี่ยวชาญก็ผนึกกำลัง

  • สถิติเศรษฐกิจที่ประกาศในสัปดาห์ที่แล้วช่วยหนุนเงินปอนด์อังกฤษ ซึ่งได้แก่ สถิติตลาดแรงงาน และตลาดผู้บริโภค อัตราการว่างงานในสหราชอาณาจักรคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงที่ 4.1% ซึ่งตรงกับการคาดการณ์ ในขณะเดียวกัน จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานลดลงจาก 51.6K เหลือ 31.9K ในเดือนมกราคม ดัชนียอดขายปลีกเพิ่มขึ้น 1.9% หลังจากร่วงลงมา 4.0% ในเดือนธันวาคม และสูงกว่าระดับแนวโน้มระยะยาว ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสัญญาณเชิงบวกของการฟื้นตัวในเศรษฐกิจประเทศ

    เมื่อมองย้อนกลับไปไม่กี่ปีก่อน เราจะเห็นได้ว่าวิกฤติการเงินช่วงปี 2007-2008 นั้นตามมาด้วยช่วงเวลา 8 ปี ที่ยอดขายปลีกคงตัวในระดับต่ำกว่าเส้นเทรนด์ไลน์ นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ธนาคารอังกฤษไม่สามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ แต่ในขณะนี้ ทั้งดัชนีอัตราเงินเฟ้อและสถานการณ์ในตลาดแรงงานล้วนปูทางสู่การคุมเข้มนโยบายทางการเงิน นอกจากนี้ ธนาคารกลางอังกฤษยังคงแซงหน้าอยู่ โดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าธนาคารอื่นที่ตั้งอยู่อีกด้านของมหาสมุทรแอตแลนติก

    อย่างไรก็ตาม การนำหน้านี้ยังคงเปราะบางมาก อัตราการเติบโตในยอดขายอาจไม่ใช่เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจที่พัฒนาขึ้น แต่เป็นเพราะความต้องการในสินค้าและบริการที่ถูกกดเอาไว้ การเข้าถึงสินค้าและบริการนั้นถูกจำกัดเนื่องด้วยมาตรการกักตัวในช่วงการระบาดของ COVID-19 ดังนั้น ท่าทีถัดไปของธนาคารกลางอังกฤษน่าจะมีความสมดุลมากขึ้น เพื่อไม่ซ้ำรอยข้อผิดพลาดของธนาคารกลางยุโรปที่เคยรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2009 และยิ่งทำให้เศรษฐกิจยุโรปเสียหาย

    ในส่วนการคาดการณ์ เราต้องไม่ลืมว่ามีกรรมการจำนวน 4 จาก 9 คน ในคณะกรรมการของธนาคารแห่งชาติอังกฤษที่โหวตให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bps ในการประชุมครั้งที่แล้ว เสียงส่วนใหญ่นี้รวมถึง นายแอนดริว ไบเลย์ ประธานธนาคารกลางอังกฤษ ซึ่งตัดสินใจให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 25 จุดพื้นฐาน โดยอ้างถึงการชะลอตัวในการเติบโตทางเศรษฐกิจ

    ดัชนีเศรษฐกิจช่วยให้เงินปอนด์ต้านทานการโจมตีของค่าเงินดอลลาร์ในขณะนี้ และเราเห็นได้ว่าคู่ GBP/USD เริ่มสะสมพลังที่บริเวณ 1.3600 เรากล่าวได้ว่า การคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญสำหรับสัปดาห์ที่จะถึงนี้ก็เป็นช่วงที่ราคาแข็งตัวเช่นกัน โดย 25% โหวตให้กับเทรนด์ด้านข้าง 40% โหวตว่าราคาจะขยับขึ้น และ 35% โหวตทิศทางขาลง (ทั้งนี้ ในการวิเคราะห์รายเดือน จำนวนผู้สนับสนุนตลาดหมีเพิ่มเป็น 70%)

    อินดิเคเตอร์ส่วนใหญ่บนกรอบ D1 ชี้ไปทางขาขึ้น และ 70% ของออสซิลเลเตอร์ก็ชี้ไปทางขาขึ้นเช่นกัน 20% มีท่าทีเป็นกลาง และ 10% ที่เหลือเข้าข้างฝั่งดอลลาร์ ในส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์ 90% ให้ผลลัพธ์ว่าราคาจะขยับขึ้น ส่วนอีก 10% ชี้ไปยังแนวโน้มขาลง

    ระดับแนวรับอยู่ที่ 1.3570, 1.3500, 1.3425, 1.3355 ส่วนแนวรับสำคัญถัดไปอยู่ถัดลงมา 100 จุด ด้านระดับแนวต้าน ได้แก่ 1.3600, 1.3650, 1.3700-1.3740, 1.3830 และ 1.3900

    สำหรับเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ จะมีการประกาศดัชนีกกิจกรรมทางธุรกิจในภาคบริการ (Markit) ในวันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ รวมถึงการประกาศรายงานอัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรในวันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ ที่เป็นที่น่าสนใจ

USD/JPY: นักลงทุนอยู่ตรงกลางสี่แยก

  • คู่ USD/JPY ซื้อขายอยู่ในกรอบที่ค่อนข้างแคบมาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ต่ำกว่า 110 ปิป (114.78-115.86) อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ขณะนี้ นักลงทุนมีความกังวลมากที่สุดเกี่ยวกับสองประเด็นด้วยกัน คือ โอกาสที่รัสเซียจะบุกโจมตียูเครน และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารเฟดสหรัฐฯ และแน่นอนว่ายังไม่มีการตัดสินใจว่าควรจะทำอย่างไรดีกับค่าเงินหลบภัยอย่างเงินเยนญี่ปุ่นในช่วงนี้

    ในอีกด้านหนึ่ง การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของดอลลาร์น่าจะส่งผลให้ราคาคู่นี้ขยับขึ้น เนื่องด้วยดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น

    ในอีกด้านหนึ่ง ความขัดแย้งในยูเครนที่ตึงเครียดมากขึ้นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงวิกฤติเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ในกรณีนี้ เราอาจได้เห็นความต้องการในความเสี่ยงที่หายไปโดยปริยายในหมู่นักลงทุน และกระแสเงินที่จะไหลเข้ามาสู่สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างเงินเยนญี่ปุ่น จริง ๆ แล้ว นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในตอนนี้ แต่ถึงแม้จะไม่มากนัก แต่ก็เพียงพอที่จะเปรียบเทียบดัชนีหุ้นกับคู่ USD/JPY ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองนี้ยิ่งชัดเจนมากขึ้นเมื่อเทียบกับกราฟ EUR/JPY เนื่องจาก ยูโรโซนนั้นมีความใกล้ชิดกับโซนที่อาจสงครามมากกว่า

    การคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้มีดังนี้: 25% เห็นด้วยกับแนวโน้มด้านข้าง 50% เห็นด้วยกับการเติบโตของราคาคู่นี้ และ 25% เห็นด้วยกับแนวโน้มขาลง

    ในส่วนออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 30% ให้สัญญาณสีเทากลาง 10% เป็นสีเขียว 60% เป็นสีแดง (หนึ่งในสี่อยู่ในโซน oversold) ด้านอินดิเคเตอร์เทรนด์ให้ผลลัพธ์เท่ากันที่ 50-50 ส่วนโซนแนวต้านที่ใกล้ที่สุดคือ 115.30 จากนั้นคือ 115.70 เป้าหมายสำคัญของฝั่งกระทิงคือการพิชิตระดับที่ 116.34 และขยับขึ้นไปยังบริเวณที่ราคาไม่เคยขยับถึงมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2017 ระดับแนวรับ ได้แก่ 115.00, 114.80, 114.15, 113.75, 113.45, 113.20, 112.55 และ 112.70

    ทั้งนี้ ในสัปดาห์นี้จะไม่มีเหตุการณ์ที่สำคัญทางเศรษฐกิจใด ๆ ในญี่ปุ่น

คริปโตเคอเรนซี: Black Friday ในตลาดคริปโต

  • BTC/USD กลับมายังจุดที่เคยอยู่เมื่อหนึ่งเดือนที่แล้ว กราฟของช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นดูคล้ายกันกราฟเมื่อช่วงกลางเดือนมกราคม ราคาแนวหน้าอยู่ที่ระดับ $42,000 ซึ่งเป็นบริเวณที่ฝั่งกระทิงและหมีต่อสู้กันอย่างดุเดือด ในครั้งที่แล้ว ราคาร่วงลงไปที่ $32.945 และนักวิเคราะห์หลายคนชี้ว่า ในครั้งนี้ก็น่าจะให้ผลลัพธ์ที่คล้ายกันเช่นกัน โดยการเทขายนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับโอกาสที่รัสเซียจะบุกรุกยูเครน แต่เป็นเรื่องของธนาคารเฟดสหรัฐฯ การคุมเข้มนโยบายทางการเงินและการขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงทุกประเภท รวมถึงคริปโตเคอเรนซี

    บิทคอยน์ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองจากภาวะเงินเฟ้อตลอดช่วงการแพร่ระบาด นี่คือหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนหลักของราคา แต่หากอัตราเงินเฟ้อกลับสู่ปกติ ใครจะต้องการความคุ้มครองนี้อีก?

    แน่นอนว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ ย่อมพยายามที่จะรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งทำระดับสูงสุดแล้วในรอบ 40 ปี แต่ความพยายามครั้งนี้จะประสบความสำเร็จมากแค่ไหนเป็นคำถามที่ผู้เชี่ยวชาญต่างตอบไม่ตรงกัน ผู้สนับสนุนบิทคอยน์ยังคงโน้มน้าวทุกคน (และพวกเขาเอง) ว่า เรากำลังจะเผชิญกับช่วงที่ราคาสินค้าพุ่งขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุดและช่วงความโกลาหลทางการเงินที่รุนแรง

    นายโรเบิร์ต บรีดเลิฟ (Robert Breedlove) ซีอีโอจาก Parallax Digital กล่าวว่า สิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับค่าเงินของเวเนซุเอลาอาจเกิดขึ้นกับดอลลาร์ ดอลลาร์สหรัฐฯ จะเฟ้ออย่างหนักภายในปี 2035 ซึ่งในเวลานั้น ราคา BTC ต่อดอลลาร์จะพุ่งสูงไม่หยุดเป็น 1, 5 หรือ 10 ล้านเหรียญดอลลาร์ต่อ 1 บิทคอยน์

    บิล มิลเลอร์ (Bill Miller) นักลงทุนเศรษฐีพันล้านในตำนานและผู้ก่อตั้ง Miller Value Partners ผู้มีทรัพย์สินกว่าครึ่งหนึ่งเก็บไว้ในรูปแบบสกุลเงินคริปโต ก็ออกมาแก้ตัวให้บิทคอยน์เช่นกัน “มันเหมือนกับการซื้อประกันภัย คุณไม่อยากให้บ้านถูกเผา ไม่อยากประสบอุบัติเหตุอย่างหนัก แต่คุณก็จ่ายค่าประกันภัยทุกปีเผื่อว่ามันจะเกิดขึ้น” เขาอธิบาย

    ทอม ลี (Tom Lee) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทการวิเคราะห์ Fundstrat เรียก $200,000 ว่าเป็นระดับเป้าหมายสำหรับบิทคอยน์ในบทสัมภาษณ์กับ CNBV และอธิบายว่าอะไรจะเอื้อต่อความสำเร็จดังกล่าว เขาชี้ว่า มูลค่าสุทธิรวมของครัวเรือนสหรัฐฯ สูงกว่า $141 ล้านล้านเหรียญ นโยบายทางการเงินของเฟดเป็นการการันตีว่าคนจะเสียเงินหากลงทุนในพันธบัตรในช่วงสิบปีข้างหน้า เขาจึงคาดว่าเงินทุนที่เก็งกำไรจะไหลเข้าสู่คริปโตเคอเรนซี ซึ่งจะเป็นกระแสเงิน “มหาศาล” ในแง่นี้

    เขามองว่า ราคาเหรียญที่สูงเป็นอุปสรรคของการยอมรับบิทคอยน์เป็นวงกว้าง ดังนั้น นายทอม ลี จึงเห็นด้วยกับไอเดียให้เปลี่ยนมาเป็นหน่วย Satoshi ซึ่งเป็นหนึ่งในล้านของ BTC

    จูร์เรียน ทิมเมอร์ (Jurrien Timmer) ผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจมหภาคของหนึ่งในบริษัทบริหารสินทรัพย์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก Fidelity Investments มั่นใจว่ามูลค่าของบิทคอยน์จะเดินตามรอยการเติบโตของมูลค่าของ Apple “ผมเปรียบเทียบผลกระทบต่อเครือข่ายของบิทคอยน์ต่อคอมพิวเตอร์ Apple เมื่อรายได้ของ Apple เพิ่มขึ้น ราคาหุ้นของบริษัทก็ขยับขึ้นอย่างก้าวกระโดด ผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่า ราคาบิทคอยน์จะเดินตามเส้นทางเดียวกัน ราคาบิทคอยน์จะเพิ่มขึ้นเฉพาะเมื่อความต้องการเพิ่มสูงขึ้น” และเขามองว่าราคาของบิทคอยน์จะขยับขึ้นถึง $100,000 ภายในปี 2023

    ผู้เชี่ยวชาญรายนี้เชื่อว่า BTC ได้ประโยชน์จากความแตกต่างที่แข็งแกร่งจากสินทรัพย์คริปโตอื่น ๆ ทั้งหมด ผู้เชี่ยวชาญรายนี้เชื่ออย่างนั้น “บางที สกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ จะดูดีกว่าบิทคอยน์ในแง่ของความสามารถในการขยายตัวที่ดีกว่า แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็มีความกระจายศูนย์กลางต่ำกว่าเช่นกัน สำหรับผมแล้ว บิทคอยน์นั้นเหมือนทองคำและคริปโตสกุลอื่น ๆ นั้นเหมือนกับธุรกิจเงินร่วมลงทุนมากกว่า”

    วิลลี วู (Willy Woo) นักวิเคราะห์เชื่อว่าบิทคอยน์จะทะยานขึ้นในช่วงห้าปีข้างหน้า ในความเห็นของเขา อนาคตของดอลลาร์สหรัฐฯ เกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อนั้นยังไม่มีถูกกำหนด และมูลค่ารวมของบิทคอยน์ขณะนี้กำลังแข็งตัวอยู่ในโซน $1 ล้านล้านเหรียญ การเอาชนะระดับนี้ได้สำเร็จจะทำให้เหรียญมีความเสถียรมากขึ้น มูลค่ารวมในตลาดทองคำที่เติบโตขึ้นไปเกือบ $11 ล้านล้านเหรียญจะเป็นไปอย่างราบรื่น หลังจากนั้นก็จะชะลอตัว สำหรับตัวเลขสุดท้ายนั้น วิลลี วู เชื่อว่า มูลค่ารวมของบิทคอยน์อาจขยับขึ้นไปถึง $40 ล้านล้านเหรียญในที่สุด

    สำหรับแนวโน้มในอนาคตอันใกล้นี้ นักวิเคราะห์ที่ชื่อว่า นิโคลาส แมร์เทน (Nicholas Merten) ให้สัญญาณเกี่ยวกับการเติบโตในอนาคตของบิทคอยน์และชี้ว่า “มูลค่ารวมของบิทคอยน์อาจขยับถึง $4 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2022” กล่าวคือ สินทรัพย์จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 220% เมื่อเทียบกับราคาสูงสุดก่อนหน้า โดยการทะยานขึ้นรอบก่อนหน้าขึ้นสูงสุด 392% และก่อนหน้านี้คือ 359%

    “นี่คือสัญญาณที่ดีเยี่ยมมาก” กล่าวโดยแมร์เทน “บิทคอยน์ไม่สร้างราคาสูงสุดที่ต่ำลง ราคาค่อนข้างมีความต่อเนื่อง แต่ราคาต่ำสุดกำลังยกตัวสูงขึ้น ระดับแนวต้านก่อนหน้ากลายเป็นแนวรับขาขึ้น นักลงทุนพร้อมที่จะจ่ายเงินมากขึ้น ซึ่งแสดงว่าตลาดนั้นพร้อมที่จะกลับมาสู่การก่อตัวของเทรนด์ขาขึ้นอีกครั้ง

    การที่คู่ BTC/USD อยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วัน มาตลอด 10 วันนั้น ดูเหมือนจะเป็นการกลับตัวของเทรนด์ การตัดทะลุเส้น MA 200 วัน ที่ $48,000 อาจเป็นสัญญาณยืนยันถัดไป นักลงทุนยังได้แรงบันดาลใจจากขยับขึ้นมาของดัชนีความกลัวและความโลภของคริปโต (Crypto Fear & Greed Index) โดยก่อนหน้านี้ ราคา BTC ที่ราคาเดียวกันนี้ แต่ดัชนีอยู่ในโซนกลัวอย่างยิ่ง (Extreme Fear) ที่ 20 จุดเมื่อหนึ่งเดือนก่อนหน้า ในขณะนี้ดัชนีดังกล่าวอยู่ที่ 52 จุด เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์

    อย่างไรก็ดี คลื่นการเทขายรอบใหม่เกิดขึ้นในวัน Black Friday ที่ 18 กุมภาพันธ์ ก่อให้เกิดข้อกังขาเกี่ยวกับชัยชนะที่ใกล้เข้ามาของฝั่งกระทิง ดัชนี Crypto Fear and Greed Index ขยับลงมายังโซน Fear ที่ระดับ 30 จุด ด้านกราฟเส้น MA 50 วัน เปลี่ยนจากแนวรับเป็นแนวต้าน และมูลค่ารวมในตลาดคริปโตยังไม่สามารถยืนเหนือระดับจิตวิทยาที่สำคัญที่ $2.0 ล้านล้านเหรียญได้สำเร็จ และอยู่ที่ $1.815 ล้านล้าน ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์นี้

    กล่าวโดยสรุป คงปิดท้ายด้วยคำพูดของนายทอม ลี จาก Fundstrat “ถ้าไม่มีลูกแก้ววิเศษ มันยากมากที่จะทายให้แม่นในคริปโตเคอเรนซี” เขาพูดตลกเกี่ยวกับการทำนายราคา และสุภาษิตกล่าวไว้ว่า ในทุกมุกตลกล้วนมีความจริงบางอย่างปรากฏอยู่ ในกรณีนี้ สัดส่วนของความจริงนี้ก็สูงกว่า 50% อย่างชัดเจน

 

กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้

กลับ กลับ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายคุกกี้ ของเรา