EUR/USD: สงครามไม่ใช่แค่เลือด แต่ยังเป็นธุรกิจ
- การเคลื่อนที่ของเงินยูโรนั้นถูกกำหนดโดยสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในยูเครน คุณสามารถลืมอินดิเคเตอร์เศรษฐกิจไปได้เลยในช่วงนี้ ใครจะได้ประโยชน์จากการรุกรานประเทศเพื่อนบ้านของรัสเซีย และใครจะเป็นผู้แพ้ และมากน้อยแค่ไหนนั้นจะเป็นที่ชัดเจนต่อเมื่อสถานการณ์สงบลงในที่สุด และนี่อาจไม่เกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้
โอกาสการโจมตีของรัสเซียต่อยูเครนเป็นที่พูดถึงกันมาแล้วหลายสัปดาห์ แต่รอบโลกก็คาดการณ์ว่ามันจะจำกัดอยู่แค่สองภูมิภาคด้านตะวันออกของยูเครนเท่านั้น คือ โดเนสต์ และลูฮันสก์ อย่างไรก็ดี รัสเซียยิ่งจรวดขีปนาวุธและทิ้งระเบิดในหลายเมืองใหญ่ในประเทศเมื่อช่วงเช้าตรู่ของวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ รวมถึงกรุงเคียฟ ตามมาด้วยการเคลื่อนทัพทางบก
ไม่มีใครคาดการณ์สถานการณ์เช่นนี้ (ยกเว้นประธานาธิบดีปูติน และวงในของเขาเท่านั้น) ตลาดประสบกับภาวะช็อคอย่างหนัก และแรงสะเทือนส่งผลกับทั้งสินทรัพย์กลุ่มเสี่ยง รวมถึงค่าเงินยูโรเช่นกัน
ประเทศยุโรปหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มบอลติกกังวลว่ารัสเซียอาจบุกรุกเขตแดนประเทศตน หลังจากยูเครน แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มีความกลัวดังกล่าว เศรษฐกิจยุโรปก็ประสบกับความเสียหายอย่างรุนแรงอยู่แล้ว
เนื่องด้วยความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ยูโรโซนมีความพึ่งพาต่อพลังงานเชื้อเพลิงของรัสเซียมากกว่าสหรัฐฯ รัสเซียส่งออกก๊าซประมาณ 40% และน้ำมัน 30% ให้กับอียู นอกจากนี้ หนึ่งในท่อก๊าซหลักยังผ่านเขตแดนยูเครนที่มีการสู้รบเกิดขึ้น สถานการณ์จึงกระตุ้นให้ราคาเชื้อเพลิงพุ่งขึ้นและราคานี้ก็สูงกว่าราคาที่คล้ายกันในสหรัฐฯ ถึงแปดเท่า
ชัดเจนว่ายุโรปตะวันตกเผชิญกับภาวะถดถอยอย่างลึกซึ้ง หรือเรียกว่าภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน (Stagflation) โดยภาวะนี้คือช่วงเวลาที่การเติบโตของ GDP อ่อนแอเป็นอย่างมาก ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อสูงอย่างยิ่ง ซึ่งทำสถิติแล้วที่ 5.1%
ภาพรวมเชิงลบยังมีสาเหตุมาจากการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของอียูต่อรัสเซียเพื่อสนับสนุนยูเครน โดยอียูจำกัดปริมาณการหมุนเวียนเชิงอุตสาหกรรมในปัจจุบันอย่างจริงจัง และยังคว่ำบาตรภาคธนาคาร จึงยากที่จะจินตนาการว่าธนาคารกลางยุโรปจะลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้ ส่วนทางด้านธนาคารเฟดสหรัฐฯ ไม่น่าจะล้มเลิกแผนของตน แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่การบังคับใช้แผนของธนาคารฯ จะชะลอตัวลงเพื่อช่วยพยุงตลาดหุ้น อย่างน้อยก็ในอนาคตระยะใกล้
คู่ EUR/USD ซื้อขายอยู่ที่ระดับ 1.1494 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ สงครามในยุโรปตะวันออกทำให้ราคาวิ่งลงไปกรอบด้านล่างที่ 1.1106 ภายในสองสัปดาห์ โดยลงมาถึง 388 จุด
ตลาดฟื้นตัวเล็กน้อยจากภาวะช็อคเมื่อวันศุกร์ท้ายสัปดาห์ที่ 25 กุมภาพันธ์ หลักการเก่าแก่ตั้งแต่ยุคของนโปเลียน โบนาปาร์ต กล่าวไว้ว่า “ซื้อเวลาที่มีการนองเลือด” และก็ได้ผลจริง ดัชนีหุ้นขยับขึ้น ช่วยพยุงค่าเงินยูโร และปิดตลาดที่ 1.1270 หลังจากการปรับฐาน
ณ ขณะที่เขียนบทรีวิวฉบับนี้วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ยังไม่เป็นที่ทราบกันว่าปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในยูเครนจะจบลงอย่างไร และยังไม่ทราบว่ามาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ที่อียูและสหรัฐฯ จะบังคับใช้กับรัสเซียจะมีอะไรบ้าง ดังนั้น มีเพียงแต่ปูตินคนเดียวเท่านั้นที่สามารถให้คำทำนายที่แม่นยำในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ได้ ส่วนเราทำได้แต่เพียงฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและอ่านอินดิเคเตอร์ได้ในขณะนี้
การคาดการณ์ของนักวิเคราะห์สำหรับสัปดาห์หน้านั้นดูไม่แน่นอนเป็นอย่างมาก 65% ชี้ไปที่โซน 1.1300 ซึ่งเป็นจุด Pivot Point ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน 2021 ส่วน 35% ที่เหลือโหวตให้กับตลาดหมี และยังไม่ตัดโอกาสที่ราคาจะทดสอบระดับแนวรับที่ 1.1100 อีกครั้ง ด้านอินดิเคเตอร์เทรนด์บนกรอบ D1 มี 90% สีแดงและ 10% สีเขียว ในส่วนออสซิลเลเตอร์ 80% ให้สัญญาณสีแดง และ 20% เป็นสีเขียว
เนื่องด้วยความผันผวนที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้ ระดับแนวต้านที่ใกล้ที่สุดเป็นกรอบกว้าง ๆ ที่ 1.1285-1.1390 หากตลาดกระทิงไม่หยุดแค่นั้น เป้าหมายถัดไปจะอยู่ที่ระดับสูงสุดของวันที่ 13 มกราคม และ 10 กุมภาพันธ์ที่ 1.1485, จากนั้นคือ 1.1525, 1.1570 และ 1.1615 โซนแนวรับ ได้แก่ 1.1185-1.1200 และ 1.1085-1.1120 จากนั้นตามมาด้วยระดับช่วงฤดูร้อนปี 2020 ซึ่งไม่คุ้มค่าที่จะให้ความสนใจในตอนนี้เนื่องด้วยสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศที่ยังไร้เสถียรภาพ แต่อาจสันนิษฐานได้ว่าฝั่งตลาดหมีจะพยายามขยับถึงระดับสัญลักษณ์ที่ 1.1000 เป็นอย่างน้อย
สำหรับปฏิทินของสัปดาห์ที่จะถึงนี้จะค่อนข้างเต็มแน่น เป็นที่ชัดเจนว่าความสนใจหลักคือสถานการณ์ในยูเครนและมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่จากทั้งอียูและสหรัฐฯ
นอกจากนี้จะมีสถิติตลาดผู้บริโภคในเยอรมนีและกิจกรรมทางธุรกิจ (ISM) ในภาคการผลิตของสหรัฐฯ ซึ่งจะประกาศในวันอังคารที่ 1 มีนาคม โดยจะมีการประกาศสถิติตลาดผู้บริโภคของยูโรโซนในวันพุธที่ 2 มีนาคม และรายงานการจ้างงานจาก ADP ในภาคเอกชนของสหรัฐฯ ด้าน นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟดจะกล่าวแถลงต่อสภาคองเกรสในวันเดียวกัน ส่วนในวันพฤหัสบดีจะมีการประกาศดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ ISM ในภาคบริการของสหรัฐฯ และนอกจากนี้ เราจะได้ทราบดัชนีค้าปลีกในยูโรโซน รวมถึงส่วนหนึ่งของสถิติตลาดแรงงานจากสหรัฐฯ ได้แก่ จำนวนตำแหน่งงานใหม่นอกภาคการเกษตร (NFP) ในวันศุกร์แรกของเดือน วันที่ 4 มีนาคม
GBP/USD: สหราชอาณาจักรคือยุโรปเหมือนกัน
- ถึงแม้ว่าสหราชอาณาจักรจะออกจากสหภาพยุโรปไปแล้ว แต่ก็ยังไม่ขาดจากการเป็นส่วนหนึ่งของยุโรป ดังนั้น ทุกอย่างที่เราได้กล่าวถึงไปแล้วเกี่ยวกับอียูและยูโรโซนก็เกี่ยวข้องกับอังกฤษด้วยเช่นกัน ความแตกต่างเดียวกันก็คือตัวเลข โดยความผันผวนสูงสุดของสัปดาห์สำหรับคู่ GBP/USD อยู่ที่ 366 จุด (ลดลงจาก 1.3638 เหลือ 1.3272) และปิดตลาดหลังการปรับฐาน โดยขยับลงมาที่ 1.3410 ขณะนี้ เราสามารถลืมเกี่ยวกับช่วงแข็งตัวที่บริเวณ 1.3600
เช่นเดียวกันกับอียู สหราชอาณาจักรบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรอย่างรวดเร็วกับรัสเซีย และนายกรัฐมนตรีอังกฤษออกแถลงการณ์ที่แข็งกร้าวและดุดัน ประณามปฏิบัติการทางทหารในยูเครน ผลที่ตามมาจะค่อนข้างรุนแรงไม่ใช่แค่กับรัสเซียเท่านั้น แต่ยังรวมถึงต่อเศรษฐกิจอังกฤษอีกด้วย ทั้งนี้ บริษัท British Petroleum เป็นหนึ่งในนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในรัสเซียและเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท Rosneft และธนาคารอังกฤษก็มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับบริษัทรัสเซียและผู้มีอิทธิพลรายใหญ่ นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังได้สั่งแบนเที่ยวบินของสายการบินแห่งชาติระหว่างกันอีกด้วย
การคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญต่อคู่ GBP/USD ในสัปดาห์หน้านี้ มีดังนี้ 40% ของผู้เชี่ยวชาญโหวตว่าราคาจะขยับขึ้น 40% โหวตขาลง และ 20% ที่เหลือโหวตให้กับแนวโน้มด้านข้าง อินดิเคเตอร์เกือบทั้งหมดบนกรอบ D1 ให้สัญญาณสีแดง ในส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์มี 100% ในส่วนของออสซิลเลเตอร์มีจำนวน 85% โดยมีเพียง 15% เท่านั้นที่ตอบสนองว่าราคาจะขยับในทิศทางขาขึ้น โดยให้แนวรับที่บริเวณ 1.3400, 1.3365 และ 1.3275-1.3315 จากนั้นคือ 1.3200 และระดับต่ำสุดของวันที่ 8 ธันวาคม ที่ 1.3160 ระดับแนวต้าน ได้แก่ 1.3485, 1.3600, 1.3645, 1.3700-1.3740, 1.3830 และ 1.3900
หลังจากผลลัพธ์เดือนกุมภาพันธ์ เราจะได้เห็นสถิติเศรษฐกิจมหภาคชุดใหญ่ของฝั่งอังกฤษในสัปดาห์นี้ โดยจะมีการประกาศดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจในภาคการผลิต (PMI) ในวันอังคารที่ 1 มีนาคม ดัชนีคอมโพสิตและดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจในภาคบริการในวันพฤหัสบดี และดัชนีที่คล้ายกันในภาคการก่อสร้างในวันศุกร์ อีกทั้ง งบประมาณของอังกฤษซึ่งจะเปิดเผยในวันพุธที่ 2 มีนาคม ก็จะเป็นที่น่าสนใจเช่นกัน
USD/JPY: ญี่ปุ่นไม่ใช่ยุโรป
- ญี่ปุ่นคือประเทศที่ไม่ได้ตอบสนองต่อสงครามในยูเครน ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจได้ กรุงเคียฟและโตเกียวห่างจากกันกว่า 8,205 กิโลเมตร แน่นอนว่าญี่ปุ่นเคยร่วมคว่ำบาตรรัสเซีย แต่นี่ก็แทบจะไม่ส่งผลต่อคู่ USD/JPY แต่อย่างใด แต่กลับเป็นอิทธิพลจากราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าที่ญี่ปุ่นค่อนข้างพึ่งพิงอยู่ หลังจากราคาเด้งออกจากระดับ 114.40 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ และเมื่อสรุปผลลัพธ์ของสัปดาห์ ก็สามารถสรุปได้ว่าความผันผวนของราคาคู่นี้ค่อนข้างไม่มากนัก โดยอยู่ที่ 57 จุด เท่านั้น (115.03-115.60)
การคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้มีดังนี้ 55% เห็นด้วยกับแนวโน้มขาขึ้นของราคา 35% โหวตให้กับแนวโน้มขาลง และ 10% เห็นด้วยกับเทรนด์ด้านข้าง ในส่วนออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 65% ให้สีเขียว 20% สีแดง และ 15% เป็นสีเทากลาง สำหรับอินดิเคเตอร์เทรนด์มี 65% ชี้ไปทางทิศเหนือ และ 35% ชี้ในทางตรงกันข้าม ด้านโซนแนวต้านที่ใกล้ที่สุดคือ 115.70 โดยเป้าหมายหลักของฝั่งกระทิงคือการพิชิตระดับสูงสุดที่ 116.34 และขึ้นไปยังบริเวณที่ราคาไม่เคยขยับถึงมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2017 ระดับแนวรับในที่นี้ ได้แก่ 115.00, 114.80, 114.15, 113.75, 113.45, 113.20, 112.55 และ 112.70
ไม่มีเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจในญี่ปุ่นในสัปดาห์หน้านี้
คริปโตเคอเรนซี: Bitcoin และ Ethereum พิสูจน์แล้วว่าน่าเชื่อถือกว่าหุ้น
- ปัจจัยหลักที่สร้างแรงกดดันในตลาดคริปโตคือความคาดหวังต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และอันดับที่สองเป็นโอกาสการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ซึ่งปัจจัยหลังนี้ต่อมาได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญหลัก โดยขยับจากการคาดการณ์เป็นข้อเท็จจริง
สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศที่รุนแรงขึ้นทำให้นักลงทุนหนีออกจากสินทรัพย์กลุ่มเสี่ยงมากขึ้น และส่งผลให้ทั้งดัชนีหุ้นและราคาสินทรัพย์ดิจิทัลร่วงลง ความสัมพันธ์ระยะ 90 วัน ระหว่าง BTC และดัชนี S&P500 ขึ้นสู่ระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2020 ในทางกลับกัน ความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างบิทคอยน์และทองคำกลับติดลบ ซึ่งระบุไว้ใมนรายงานบทวิเคราะห์ของ Arcane Research ในทางกลับกัน ความสัมพันธ์ระหว่างทองคำเสมือนจริงกับทองคำจริงนั้นผกผัน เนื่องจากทองคำต่างจาก BTC ตรงที่เป็นสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ Arcane Research ยังเน้นด้วยว่าปริมาณการเทรดสปอตบิทคอยน์บนตลาดที่มีหน่วยงานกลางลดลงมายังระดับต้นเดือนธันวาคม 2020
บิทคอยน์แตกต่างจากดอลลาร์ โดยบิทคอยน์ถูกเรียกว่าเป็นหลักประกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ แต่ถ้าคุณดูกราฟในสัปดาห์ที่แล้ว BTC มีแนวโน้มมากกว่าที่จะเป็นหลักประกันในตลาดสำหรับสินทรัพย์กลุ่มเสี่ยง ราคาหุ้นร่วงลดเร็วกว่านับตั้งแต่สงครามในยูเครนเริ่มปะทุขึ้น ซึ่งเร็วกว่าการร่วงลงของสกุลเงินคริปโตชั้นนำ เช่น บิทคอยน์ และอีธีเรียม ด้านดัชนี S&P500, Dow Jones, Nasdaq ขยับลงต่ำกว่าระดับต่ำสุดของช่วงหนึ่งเดือนที่แล้วภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงในช่วงวันแรกที่มีการทิ้งระเบิดและการโจมตีโดยจรวด (วันที่ 24 กุมภาพันธ์) ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงดัชนี IMOEX ของรัสเซีย ซึ่งร่วงลงเกือบ 50% ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หลังจากนั้นการซื้อขายก็หยุดลง ในขณะที่ BTC/USD และ ETH/USD ยังคงยืนเหนือระดับต่ำสุดของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ได้อย่างกล้าหาญ
แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เรื่องน่ายินดี ความคาดหวังให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารเฟดสหรัฐฯ และความตึงเครียดด้านการเมืองระหว่างประเทศจะยังคงเพิ่มทัศนคติในเชิงลบต่อนักลงทุนบิทคอยน์ และเพิ่มความเป็นไปได้ในการขายเหรียญที่ไม่ทำกำไร นี่คือบทสรุปของนักวิเคราะห์จาก Glassnode แนวโน้มตลาดหมีได้รับการยืนยันจากตัวชี้วัดหลายประการ ได้แก่ จำนวนที่อยู่บิทคอยน์ที่มีการใช้งานประจำลดลงสู่ระดับด้านล่างของกรอบ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความต้องการในสินทรัพย์ที่ลดลง จำนวนเปอร์เซ็นต์ของนักลงทุนบิทคอยน์ที่ได้กำไรอยู่ที่ประมาณ 65.8% และ 76.7%
ด้านนักเก็งกำไรระยะสั้น (ผู้ที่ถือเหรียญเป็นเวลาต่ำกว่า 155 วัน) ได้ซื้อเหรียญจำนวน 2.56 ล้านเหรียญ BTC ต้นทุนเฉลี่ยต่อเหรียญคือ $47,200 การขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 20% ด้วยราคาเหรียญที่ $38,000 ขณะนี้ พวกเขาเป็นแรงกดดันของแรงขายในช่วงเวลาที่ยังไม่มีความต้องการเพิ่มขึ้น Glassnode เชื่อว่า หากราคาเหรียญขยับขึ้นต่อ แรงกดดันจากฝั่งขายอาจเพิ่มขึ้น โดยฝั่งผู้ขายจะพยายามออกจากตลาดอย่างไม่ยอมขาดทุนหรือพร้อมออกด้วยกำไรเพียงนิดเดียว
ดู จัน (Du Jun) ซีอีโอของตลาดคริปโต Huobi แสดงความเห็นว่า ตลาดกระทิงรอบใหม่ของบิทคอยน์อาจไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะถึงปลายปี 2024 หรือต้นปี 2025 วัฎจักรของราคาบิทคอยน์มีความเกี่ยวข้องกับการฮาล์ฟเหรียญอย่างใกล้ชัด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผลตอบแทนของบล็อกในอัลกอริทึมลดลงครึ่งหนึ่งโดยจะเกิดขึ้นประมาณทุก ๆ สี่ปี
การฮาล์ฟเหรียญครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2020 และราคาเหรียญก็ขึ้นทำระดับสูงสุดเหนือ $68,000 ในเวลาหนึ่งปีถัดมา การเคลื่อนที่ของราคาที่คล้ายกันนี้ยังเคยเกิดขึ้นหลังจากการฮาล์ฟบิทคอยน์ปี 2016 โดยบิทคอยน์ได้ทำสถิติสูงสุดในเดือนธันวาคม 2017 เป็นต้น
จากนั้นก็เกิดช่วงขาลงลึกในราคาบิทคอยน์ตามมาทั้งสองกรณี
เทรนด์นี้ชี้ให้เห็นว่า “เรากำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของตลาดหมี” และคาดว่าเทรนด์กระทิงของบิทคอยน์จะมาถึงเฉพาะเมื่อมีการฮาล์ฟเหรียญรอบถัดไปในปี 2024 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เขาเสริมด้วยว่า “มันยากที่จะทำนายความเป็นจริงได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากยังมีอีกหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อตลาด เช่น ประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ สงคราม หรือเหตุการณ์โควิด-19 ล่าสุด”
เควิน โอเลียรี (Kevin O’Leary) พิธีกรรายการทีวีด้านธุรกิจชื่อดัง Shark Tank ได้ให้คำทำนายของเขาต่อบิทคอยน์ เขาเน้นย้ำว่านักลงทุนรายสถาบันหลายแห่งยังไม่ลงทุนในบิทคอยน์ เนื่องจากมีประเด็นที่ยังไม่ได้รับการคลี่คลายในระดับรัฐบาล
นายโอเลียรีกล่าวว่า ใครก็ตามที่อยากจะเก็งราคาบิทคอยน์ที่ $100,000, $200,000 หรือ $300,000 ควรเข้าใจว่า ทั้งหมดนี้จะเป็นไปได้ต่อเมื่อสถาบันต่าง ๆ มีโอกาสที่จะซื้อสินทรัพย์คริปโตได้ตามมาตรฐานของหน่วยงานกำกับดูแล เขาเน้นย้ำว่า เขากล่าวได้อย่างมั่นใจ เพราะว่าเขาทำงานกับ “กองทุนความมั่งคั่งและแผนเงินบำนาญของประเทศ” และแม้ว่าจะมีข่าวลือต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับ BTC ในขณะนี้ ยังไม่มีกองทุนใดที่เป็นเจ้าของแม้แต่เหรียญเดียว นอกจากนี้ พวกเขายังไม่มีแผนที่จะลงทุนในสินทรัพย์นี้
เขายังกล่าวต่อด้วยว่า ทางที่ดียิ่งกว่าคือการมอง BTC ไม่ใช่ในฐานะเหรียญ แต่ในฐานะซอฟต์แวร์ ซึ่งสถาบันข้างต้นนี้ล้วนถือหุ้นบริษัท Microsoft และ Google มันจึงง่ายสำหรับพวกเขาที่จะทำความเข้าใจ หากพวกเขามองคริปโตเคอเรนซีเป็นซอฟต์แวร์ เมื่อถึงเวลาที่กลุ่มคริปโตเริ่มเป็นไปตามเงื่อนไขทั้งหมด สถาบันการเงินเหล่านี้จะสามารถลงทุน 1-3% ของเงินทุนพวกเขาในบิทคอยน์ และนี่อาจเกิดขึ้นได้ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า
ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่ค่อยน่ายินดีเท่าไรนัก บทสัมภาษณ์ของ นายวิตาลิก บูเทอริน ผู้ร่วมก่อตั้งเหรียญ Ethereum ถือว่าช่วยเพิ่มทัศนคติเชิงบวก อันดับแรกคือ เขายังไม่มั่นใจว่า “ฤดูหนาวคริปโต” มาถึงแล้วจริง ๆ และอันดับที่สอง เขาเชื่อว่า “ฤดูหนาว” สามารถช่วยให้อุตสาหกรรมแข็งแกร่งขึ้นได้
บูเทอรินเน้นย้ำในบทสัมภาษณ์กับสำนักข่าว Bloomberg ว่า ผู้คนที่ “หมกมุ่นอย่างลึกซึ้งในอุตสาหกรรมคริปโต” เป็นกลุ่มคนที่ต้อนรับช่วงเวลาตลาดหมี เวลาในช่วงนี้เปิดโอกาสให้คุณได้ขจัดโครงการที่อ่อนแอ และยังช่วยลดระดับของ “ความบ้าคลั่ง” มันเป็นช่วง “ฤดูหนาว” ซึ่งโครงการที่อ่อนแอและเป็นอันตรายทั้งหลายหายไป และมีแต่โครงการที่น่าเชื่อถือและสำคัญ ซึ่งมีต้นแบบโมเดลทางธุรกิจที่คิดค้นขึ้นมาอย่างดี และทีมงานที่ใกล้ชิดเหลืออยู่เท่านั้น นายบูเทอรินเชื่ออย่างนั้น
เมื่อดูในระยะใกล้ นักวิเคราะห์จาก Arcane Research เชื่อว่า ช่วงแนวรับที่แข็งแกร่งที่สุดคือในโซน $28,000-$30,000 เพราะเป็น “ช่วงต่ำสุดของตลาดหมีในฤดูร้อนปี 2020” อยู่ตรงนั้น นักวิเคราะห์ยังกำหนดให้ $40,000 เป็นระดับแนวต้านที่สำคัญ
ในขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ (ช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์) คู่ BTC/USD ซื้อขายอยู่ที่บริเวณ $39,000 ส่วนด้านดัชนี Crypto Fear and Greed Index ขยับลงมาในโซนความกลัว (Fear) เล็กน้อย จาก 30 เหลือ 27 จุดในหนึ่งสัปดาห์ ในขณะที่มูลค่ารวมในตลาดคริปโตลดลงจาก $1.815 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อเจ็ดวันก่อนหน้า เหลือ $1.755 ล้านล้านเหรียญ
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ