EUR/USD: เศรษฐกิจโลกอยู่ในภัยอันตรายอีกครั้ง
- และแล้ว EUR/USD ก็ตัดทะลุระดับแนวรับที่สำคัญของปี 2016 คือระดับ 0.9899 เมื่อวันอังคารที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยราคาได้เทรดที่ระดับนี้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคมปี 2002 ในขณะที่ ยูโรอ่อนค่าลงประมาณ 485 จุดเทียบกับดอลลาร์ในช่วงรอบหนึ่งปีที่ผ่านมา
แม้ว่าจะยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็ตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยแล้ว GDP ดิ่งลงต่อเนื่อง ถึงแม้ GDP จะชะลอตัวเล็กน้อยที่ -0.9% ในไตรมาสที่ 1 ปี 2022 และ -0.6% ในไตรมาสที่ 2 มาตรการถอนสภาพคล่องออกจากระบบ (QT) โดยธนาคารเฟดและปัจจัยเศรษฐกิจยิ่งเพิ่มโอกาสให้ธนาคารฯ เร่งใช้มาตรการนี้มากขึ้น ด้าน เจมี ไดมอน ซีอีโอของ JP Morgan ได้เตือนว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเผชิญกับ “สถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งกว่าภาวะถดถอย” และมีความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้น 20-30%”
สถานการณ์ในยูโรโซนเลวร้ายยิ่งกว่า และสภาพเศรษฐกิจยังไม่ค่อยดีนัก การคาดการณ์นี้ชี้ว่า วิกฤติพลังงานที่มีสาเหตุมาจากการคว่ำบาตรรัสเซีย จะส่งผลให้ยุโรปโดยเฉพาะเยอรมนีเผชิญกับฤดูหนาวที่ยากลำบากอย่างยิ่ง
“เศรษฐกิจโลกตกอยู่ในภัยอันตรายอีกครั้ง” กล่าวโดย เดวิด มัลพาสส์ ประธานธนาคารโลก “เรากำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงและการเติบโตอย่างล่าช้าพร้อม ๆ กัน ถึงแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะฟื้นตัว ความเจ็บปวดของภาวะเศรษฐกิจชะงักงันจะยืดเยื้อยาวนานเป็นเวลาหลายปี” สถานการณ์นี้กระตุ้นให้เกิดความต้องการในสินทรัพย์หลบภัย และค่าเงินดอลลาร์ก็เป็นหนึ่งในนั้น ดัชนีดอลลาร์ (DXY) ปักหลักใกล้ระดับสูงสุดในรอบหลายปีที่บริเวณ 108 จุด และผู้เชี่ยวชาญมองว่าอาจขยับขึ้นไปได้ถึง 110 จุด
เหตุการณ์สำคัญของสัปดาห์ที่แล้วคืองานประชุมทางเศรษฐกิจประจำปีที่เมืองแจ็คสันโฮลระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม ซึ่งเป็นที่รวมตัวของผู้นำทางการเงินของสหรัฐฯ ไฮไลต์สำคัญของงานประชุมนี้คือ ถ้อยแถลงของ นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟด ซึ่งผู้ชมต่างคาดหวังว่าจะได้รับสัญญาณเกี่ยวกับแผนการในอนาคตของธนาคารกลาง แต่เขาไม่ได้พูดอะไรใหม่หรือสำคัญ คำแถลงของพาวเวลล์มีน้ำเสียง “สายเหยี่ยว” (hawkish) มากกว่าเมื่อก่อนเล็กน้อย แต่โดยทั่วไปก็สอดคล้องกับความคาดหวังของตลาด เป็นไปได้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่อยากจะสร้างแรงสะเทือนให้ตลาดในทิศทางใด ๆ เขาไม่ได้ให้ตัวเลขชัดเจนว่าคณะกรรมการ (FOMC หรือคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเท่าใดในวันที่ 21 กันยายน นอกจากนี้ การตัดสินใจดังกล่าวอาจได้รับอิทธิพลจากรายงานตลาดแรงงานและดัชนีราคาผู้บริโภคที่จะประกาศในเดือนกันยายนนี้อีกด้วย
ความเป็นไปได้ที่อัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้น 50 หรือ 75 จุดพื้นฐาน (bp) ในเดือนกันยายนยังคงเท่าเดิม โดยในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับ 2.5% และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งถัดไปจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่ดัชนี CPI แสดงสัญญาณการชะลอตัวให้เห็นในเดือนกรกฎาคม โดยปรับลดลงมา 8.5% และอัตราเงินเฟ้อซึ่งวัดจากดัชนีราคาการใช้จ่ายของผู้บริโภค (PCE) ลดลงจาก 0.6% เหลือ 0.1% ในหนึ่งเดือน
ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางยุโรปอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bp ในที่ประชุมวันที่ 8 กันยายน ผลการประชุมของเดือนกรกฎาคมชี้ให้เห็นว่า กรรมการบริหารจำนวนมากเห็นชอบว่าควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 0.5% เป็น 1.0% อีกทั้ง สำนักข่าวรอยเตอร์สระบุว่า ผู้นำธนาคารกลางยุโรปบางท่านอยากจะหารือเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยทันทีเป็น 0.75% แต่ค่าส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเฟดและธนาคารกลางยุโรปก็จะลดลง ซึ่งแม้ว่าจะช่วยสนับสนุนเงินยูโรเล็กน้อย แต่ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากค่าความต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยยังคงเอื้อต่อดอลลาร์ ดอลลาร์จึงคาดว่าจะแข็งค่าขึ้นต่อไป และนักวิเคราะห์จาก Wells Fargo ชี้ว่า ดอลลาร์อาจขึ้นสูงสุดในไตรมาสที่ 4 ปี 2022 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จาก Nordea คาดการณ์ว่า EUR/USD อาจขยับลดลงมาที่ 0.9700 ภายในสิ้นปี และผู้เชี่ยวชาญหลายท่านก็ประเมินราคาไว้ที่ 0.9600 เช่นกัน
นายเจอโรม พาวเวลล์ กล่าวแถลงเมื่อช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม ระหว่างชั่วโมงทำการซื้อขายของตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดเอเชียและยุโรปปิดทำการแล้ว ดังนั้น ปฏิกิริยาตอบสนองที่แท้จริงต่อคำแถลงของประธานเฟดจะแสดงให้เห็นชัดเจนในวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคมนี้ ในส่วนของสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีความผันผวนกับคู่นี้อยู่บ้าง แต่ราคาก็ปิดตลาดภายในกรอบรายสัปดาห์ โดยอยู่ต่ำกว่าช่วงกึ่งกลางที่ 0.9966 เล็กน้อย
ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 60% สนับสนุนว่า ราคาจะขยับลงทิศใต้ต่อไปในอนาคตอันใกล้ ในขณะที่ 40% ที่เหลือคาดการณ์ทิศทางตรงกันข้าม ผลการวิเคราะห์อินดิเคเตอร์บนกรอบ D1 ให้สัญญาณที่ชัดเจนมากกว่ามาก โดย 100% เห็นด้วยกับฝั่งตลาดหมีในบรรดาอินดิเคเตอร์เทรนด์และออสซิลเลเตอร์ อย่างไรก็ตาม หนึ่งในสี่ให้สัญญาณว่าราคาอยู่ในโซน oversold โดยมีเป้าหมายตลาดหมีที่ใกล้ที่สุดของคู่ EUR/USD คือราคาต่ำสุดของวันที่ 14 กรกฎาคมที่ 0.9950 และราคาต่ำสุดวันที่ 23 สิงหาคมที่ 0.9899 ทั้งนี้ ช่วง 0.9900-0.9930 ก็เป็นโซนแนวรับ/แนวต้านที่สำคัญของปี 2002 เช่นกัน สำหรับฝั่งตลาดกระทิง ภารกิจอันดับแรกจะต้องขึ้นไปยืนเหนือระดับคู่ขนานที่ 1.0000 ให้สำเร็จ หลังจากนั้นราคาจะต้องพิชิตแนวต้านที่ 1.0030 ตามมาด้วย 1.0090-1.0100 และระดับและโซนที่ 1.0120, 1.0150-1.0180, 1.0200 และ 1.0250-1.0270
สถิติจากตลาดผู้บริโภคสหรัฐฯ จะประกาศให้ทราบในวันอังคารที่ 30 สิงหาคม ซึ่งเราจะได้รับทราบดัชนีหลายชุดจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ รวมถึงในวันพุธที่ 31 สิงหาคม วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน และวันศุกร์ที่ 2 กันยายน เช่น ดัชนีที่สำคัญอย่าง อัตราการว่างงาน และจำนวนตำแหน่งงานใหม่นอกภาคการเกษตร (NFP) ด้านสถิติจากฝั่งยุโรปจะมีการประกาศอัตราว่างงานในเยอรมนี และดัชนีตลาดผู้บริโภคของยูโรโซน (CPI) ในวันพุธที่ 31 สิงหาคม และดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจในภาคการผลิต (PMI) และดัชนีค้าปลีกในเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายนนี้
GBP/USD: “ภาพรวมระยะยาวที่ย่ำแย่” มาก
- เราได้ตั้งชื่อเรื่องบทวิเคราะห์คู่ GBP/USD ในครั้งที่แล้วว่า “การคาดการณ์ที่มืดมนของเงินปอนด์ยังคงเป็นจริงต่อเนื่อง” แต่ผลปรากฏว่า สถานการณ์ไม่ใช่แค่มืดมน แต่ค่อนข้างน่าสยองขวัญสำหรับผู้เชี่ยวชาญบางคนด้วยซ้ำ “กราฟระยะยาวของคู่นี้ดูแย่เป็นอย่างมากในขณะนี้ มันอาจดูว่าเป็นกราฟทรง double top ซึ่งเป็นรูปแบบความต่อเนื่องของเทรนด์ที่ชี้ว่าราคาจะไปสู่ระดับคู่ขนานและอาจขยับลงต่ำกว่านั้น ขณะนี้ไม่มีแนวรับสำคัญ (นอกเหนือจากระดับต่ำสุดของเดือนมีนาคม 2020 ด้านบน 1.14) จนกว่าจะถึงระดับต่ำสุดสำคัญที่เคยขยับถึงเมื่อปี 1985 ที่ 1.0520 ส่วนในเดือนนี้ หากราคาปิดต่ำกว่า 1.1760 จะเป็นเดือนตลาดหมีอีกครั้ง” กล่าวโดยนักเศรษฐศาสตร์จาก CitiBank
คู่ GBP/USD ปิดตลาดในสัปดาห์ที่แล้วที่ 1.1736 โดยเงินปอนด์ยังคงเจอแรงกดดันจากการลาออกของนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน ตามมาด้วยข่าวฉาวเรื่องเพศ และอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น Ofgem หน่วยงานกำกับด้านพลังงานของอังกฤษได้ประกาศว่า ค่าไฟของครัวเรือนโดยเฉลี่ยต่อปีจะเพิ่มขึ้น 80% ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป และนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะต้องใช้มาตรการอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือกับราคาที่พุ่งสูงขึ้น
การคาดการณ์โดยเฉลี่ยในช่วงสัปดาห์ที่จะถึงนี้ดูค่อนข้างเป็นกลาง นักวิเคราะห์ 45% เห็นด้วยกับตลาดกระทิง และ 55% เห็นด้วยกับตลาดหมี ผลการวิเคราะห์อินดิเคเตอร์บนกรอบ D1 ดูเหมือนกันกับคู่ EUR/USD โดยสมบูรณ์ โดย 100% ให้สัญญาณสีแดง 25% ของออสซิลเลเตอร์ให้สัญญาณว่าราคาอยู่ในช่วง oversold โดยมีระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดคือราคาต่ำสุดของวันที่ 23 สิงหาคมที่ 1.1.716 ตามมาด้วยระดับ 1.1650, 1.1535 และราคาต่ำสุดของเดือนมีนาคม 2020 ที่โซน 1.1400-1.1450 ในส่วนของตลาดกระทิง ราคาจะเจอกับแนวต้านในโซนและระดับที่ 1.1755, 1.1800, 1.1865-1.1900, 1.2000, 1.2050-1.2075, 1.2160-1.2200, 1.2275-1.2325 และ 1.2400-1.2430 ตามลำดับ
สำหรับสถิติทางเศรษฐกิจของอังกฤษ นักเทรดควรทราบว่าวันที่ 29 สิงหาคม จะเป็นวันหยุดธนาคารในอังกฤษ ส่วนกิจกรรมที่สำคัญ เราอาจพูดถึงการประกาศดัชนี PMI ภาคการผลิตในสหราชอาณาจักรประจำเดือนสิงหาคมในวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน
USD/JPY: นโยบายธนาคารกลางญี่ปุ่นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
- คู่ USD/JPY ขยับอยู่ในกรอบด้านข้างที่ 135.80-137.70 มาตลอดทั้งสัปดาห์ และหากเราพูดถึงผลลัพธ์ในช่วงระยะเวลาห้าวัน ฝั่งกระทิงเป็นฝ่ายชนะโดยได้เปรียบมากกว่าเล็กน้อย ราคาเริ่มต้นสัปดาห์ที่ 136.81 และปิดที่ 137.45 การคาดการณ์ที่เป็นกลางจึงเป็นฝ่ายทำนายได้ถูกต้อง ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่โหวตว่าราคาจะขยับออกด้านข้างในสัปดาห์ที่แล้ว
ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ล่าสุดโดยสำนักข่าว Bloomberg ชี้ว่า ภาวะเงินเฟ้อซึ่งขยับถึง 3% ไม่น่าจะบีบบังคับให้ นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ประธานธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ต้องตรึงนโยบายทางการเงิน แม้ว่า 3% จะเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1991 (ไม่รวมปีที่มีการขึ้นภาษี) แต่ก็ยังต่ำกว่า 8.5% ในสหรัฐฯ นอกจากนี้ การคาดการณ์ชี้ว่า อัตราเงินเฟ้ออาจขยับถึง 2.5% ในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปี 2022 และจะอยู่ที่ 1% ในช่วงปลายปีหน้านี้
สำหรับโอกาสการเปลี่ยนแปลงในนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นหลังหมดวาระการดำรงตำแหน่งของ นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ในเดือนเมษายนปี 2023 เรายังไม่สามารถคาดหวังอะไรได้มาก โดยเฉพาะเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในการประชุมครั้งถัดไปของธนาคารกลางในวันที่ 22 กันยายนนี้
ปัจจัยข้างต้นนี้ชี้ว่า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ (60%) เชื่อว่าคู่ USD/JPY จะตั้งเป้าไปทดสอบระดับสูงสุดของวันที่ 14 กรกฎาคม และขยับถึงระดับที่ 139.40 ส่วนผู้เชี่ยวชาญ 30% คาดว่า เงินเยนจะแข็งค่าและเป็นเทรนด์ขาลง และ 10% ให้การคาดการณ์ที่เป็นกลาง ด้านอินดิเคเตอร์บนกรอบ D1 ให้ภาพสะท้อนของคู่ก่อนหน้า 100% ของอินดิเคเตอร์ชี้ไปยังทิศเหนือ ส่วน 25% ของออสซิลเลเตอร์อยู่ในโซน overbought ด้านแนวรับของคู่นี้อยู่ที่ระดับและโซน 137.00, 136.70, 136.15-136.30, 135.50, 134.70, 134.00-134.25, 132.85-133.00, 131.75-132.00, 131.00 ด้านแนวต้านอยู่ที่ 137.70, 138.40, 138.50-139.00 และสุดท้ายเป็นราคาสูงสุดของวันที่ 14 กรกฎาคมที่ 139.38 ส่วนเป้าหมายถัดไปของฝั่งกระทิงคือระดับที่ 140.00 และ 142.00
เราไม่คาดการณ์ว่าจะมีการประกาศสถิติที่สำคัญใด ๆ จากญี่ปุ่นในสัปดาห์นี้
คริปโตเคอเรนซี: สีที่ปรากฏคือสีเทาเข้ม
- ในส่วนของสัปดาห์ที่ผ่านมา BTC/USD เทรดอยู่ในกรอบแคบ ๆ ที่ $20,900-$21,800 ตลอดเพื่อรอรับฟังคำแถลงของ นายเจอโรม พาวเวลล์ ที่เมืองแจ็คสันโฮล ที่โซนนี้เองมีการสะสมค่าเฉลี่ยจุดคุ้มทุนของผู้ถือบิทคอยน์ทั้งหมด แต่สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอย่าง ดัชนีหุ้น (S&P500, Dow Jones, Nasdaq) และราคาสินทรัพย์ดิจิทัลต่างดิ่งลงเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 26 สิงหาคม และ ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ ราคาบิทคอยน์ได้เริ่มตอบสนองต่อท่าทีสายเหยี่ยวของประธานเฟดและทำระดับต่ำสุดในรอบสัปดาห์ที่ $20,534 มูลค่ารวมตามราคาตลาดของตลาดคริปโตได้ขยับลงต่ำกว่าระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ $1 ล้านล้านดอลลาร์ และอยู่ที่ $0.991 ล้านล้านดอลลาร์ ($1.028 ล้านล้านเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) ด้านดัชนี Crypto Fear & Greed Index ขยับลดลง 6 จุดในเวลาเจ็ดวันจาก 33 เป็น 27 และอยู่ในโซน Extreme Fear จึงมีความเป็นไปได้ที่ตัวเลขเหล่านี้จะยิ่งแย่ลงในช่วงวันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ 27-28 สิงหาคม
ภาพรวมในช่วงปลายฤดูร้อนมีดังนี้ ในเดือนกรกฎาคม เหล่าวาฬคริปโต (ผู้ที่ถือบิทคอยน์จำนวน 10,000 เหรียญขึ้นไป) และเหล่ากุ้ง (น้อยกว่า 1 BTC) ได้เป็นแรงขับเคลื่อนหลักให้ราคาบิทคอยน์ขยับขึ้น เป็นที่ทราบกันว่า นักลงทุนรายสถาบันมีบทบาทนำในหมู่วาฬคริปโต โดยมีความสัมพันธ์ที่ขึ้นตรงกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในวอลล์ตรีท การดำเนินงานของสถาบันกับสินทรัพย์ดิจิทัลจะเกิดขึ้นผ่านกองทุนคริปโต และสถิติชี้ให้เห็นว่า กระแสการลงทุนในกองทุนเหล่านี้เริ่มหยุดลงในช่วงต้นเดือนสิงหาคม และเหล่าวาฬก็กลับมาขายเหรียญ BTC
ในสัปดาห์ที่สองของเดือน: กระแสเงินที่ไหลออกคิดเป็นเงินประมาณ $21 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม กาวิน ไมเคิล ซีอีโอของแพลตฟอร์มคริปโต Bakkt ชี้ว่า ท่ามกลางสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบิทคอยน์จะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในช่วงหลายปีข้างหน้า แพลตฟอร์มคริปโต Bakkt ให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและสัญญาฟิวเจอร์สสำหรับนักลงทุนรายสถาบัน และความสนใจในตลาดของพวกเขาก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
หนึ่งในสัญญาณหลักว่าราคาจะเติบโตขึ้นในอนาคตคือการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมบนเครือข่ายและการปรากฏขึ้นของแอดเดรสใหม่ ขณะนี้ กิจกรรมบนเครือข่ายบิทคอยน์ขยับถึงระดับเดียวกันกับช่วงปลายปี 2018-2019 ที่เป็นช่วงตลาดหมี ความเห็นนี้เป็นของนักวิเคราะห์จาก Glassnode อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีสัญญาณว่าถึงจุดจบของ “ช่วงฤดูหนาวคริปโต” ดัชนีเครือข่ายยังไม่ให้สัญญาณกลับตัวของเทรนด์ใด ๆ นักวิจัยเน้นย้ำว่า เครือข่ายบิทคอยน์ยังคงไม่เห็นอุปสงค์ในสกุลเงินคริปโตจากนักลงทุน ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับแนวโน้มขาขึ้นที่ยั่งยืน “ราคาขาขึ้นล่าสุดไม่สามารถดึงดูดผู้ใช้งานรายใหม่ให้เข้ามาอย่างมีนัยสำคัญได้ ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดเจนในหมู่นักลงทุนรายย่อยและนักเก็งกำไร” กล่าวโดยนักวิจัยจาก Glassnode การขาดกระแสดังกล่าวนั้นยังเห็นได้จากค่าธรรมเนียมที่ลดลงของเครือข่ายบิทคอยน์ ซึ่งค่าเฉลี่ยลดลงต่ำกว่า $1 ในปัจจุบัน ต้นทุนเฉลี่ยของธุรกรรม BTC ลดลงเหลือ $0.825 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2020 อย่างไรก็ตาม Glassnode เชื่อว่า บิทคอยน์พยายามวางรากฐานที่แข็งแกร่งเพื่อการเติบโตในอนาคตที่ราคา ณ ปัจจุบัน
เมลเทม ดีเมียรส์ ผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์จาก CoinShares เชื่อว่า “BTC ยังไม่มีปัจจัยกระตุ้นที่จะนำไปสู่การเติบโตจนกว่าจะถึงปลายไตรมาสที่ 3” แต่อย่างไรก็ตาม “เราก็ได้เห็นแรงซื้อปริมาณมากกับ BTC” ในช่วงฤดูร้อน ซึ่งเธอมองว่ามันแสดงถึงกระแสเงินทุนที่ยินดีจะสะสมสินทรัพย์นี้
ถ้าเมลเทม ดีเมียร์ มองโลกในแง่บวกอย่างระมัดระวัง จัสติน เบนเนตต์ นักวิเคราะห์รายนี้ก็ถือว่ามองโลกในแง่ลบ และเขาเชื่อว่า BTC อาจเผชิญกับการเทขายอีกครั้ง เขามองว่า บิทคอยน์ได้ขยับลงต่ำกว่าแนวรับที่เป็นเส้นทแยงมุม ซึ่งพยุงแนวโน้มกระทิงไว้ตลอดช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เบนเนตต์มองว่า ราคา BTC ลดลงมากกว่า 30% สองครั้งล่าสุดในสถานการณ์ดังกล่าว
แม้ว่านักวิเคราะห์รายนี้จะมองแนวโน้มขาลงเป็นหลัก เขาทำนายว่าราคาจะทะยานขึ้นในระยะสั้นเล็กน้อยไปที่ $23,000 ซึ่งควรจะถูกทดสอบเป็นระดับแนวต้าน จากนั้นคาดว่าราคาจะลงไปที่ $19,000 เบนเนตต์เชื่อว่า ปฏิกิริยาตอบสนองของบิทคอยน์ที่ระดับ $19,000 จะเป็นตัววัดพฤติกรรมราคาตลอดปีที่เหลือ “คำถามก็คือว่า เราจะได้เห็นรีบาวด์และราคาต่ำสุดที่สูงขึ้นหรือไม่ หรือเราจะได้เห็นราคาต่ำสุดที่ต่ำลงในช่วงที่เหลือของปี”
ในส่วนของ Ethereum เมลเทม ดีเมียร์ส เชื่อว่า นักลงทุนกำลังเพิกเฉยต่อสถานการณ์โดยรวมในตลาด ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนผ่านไปใช้กลไก PoS และแม้ว่าจะมีประโยชน์ในการเปลี่ยนเครือข่าย Ethereum แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะดึงดูดเงินลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน “แม้ว่าจะมีกระแสความตื่นตัวในชุมชนคริปโตจากการเปลี่ยนผ่านนี้ ซึ่งจะลดปริมาณอย่างรวดเร็ว และเพิ่มความต้องการในเหรียญ ความเป็นจริงไม่ขนาดนั้น นักลงทุนต่างกังวลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและดัชนีมหภาค ฉันเชื่อว่าจำนวนกระแสเงินใหม่ไม่น่าจะเข้าสู่ ETH มีความเสี่ยงบางประการที่จะเกิดขึ้นในตลาด เพราะการเปลี่ยนกลไกนี้เคยถูกใช้เป็นข้ออ้างให้คนซื้อเพราะข่าวลือและขายตามข่าวจริง ความเสี่ยงนี้จะเป็นอะไร? มีแนวโน้มสูงที่จะเป็นความเสี่ยงจากฝั่งสถาบันหรือการเทรด แต่น่าจะเป็นเพราะตัวเลือกมากกว่าการซื้อสินทรัพย์”
เบนจามิน โคเวน นักยุทธศาสตร์ชื่อดังอีกท่านหนึ่ง ได้กล่าวถึง Ethereum ว่า สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดกำลังเกิดขึ้น และมองว่านี่เป็นช่วงการถดถอยแบบลอการิทึม ซึ่งบ่งชี้ว่าราคาคู่ ETH/USD อาจขยับลดลงไปที่บริเวณ $400-800 “ผมคิดว่าเราควรพิจารณาโอกาสนี้ว่าเป็นจังหวะที่ดีเยี่ยมในการออมเงิน”
ในขณะเดียวกัน โคเวนยังเน้นถึงความเป็นไปได้ที่ ETH จะขยับไปในทิศทางอื่น “ในขณะเดียวกัน ETH อาจแสดงการทะยานขึ้น หากการเปลี่ยนผ่านเป็นกลไก PoS เป็นไปอย่างราบรื่น (ต้องพิจารณาด้วยว่าการอัปเดตซอฟต์แวร์บางครั้งอาจไม่ราบรื่นเสมอไป) และการเปลี่ยนแปลงเรื่องการเมืองและการเงินของธนาคารเฟด" (ทั้งนี้ การอัปเดตเครือข่าย Ethereum มีกำหนดว่าจะมีขึ้นในช่วงวันที่ 15-20 กันยายน จึงเหลือเวลาให้รออีกไม่นาน)
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ