บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 20 - 24 มีนาคม 2023

EUR/USD: ECB ไม่หวั่นต่อวิกฤติธนาคาร

  • สัปดาห์ที่ผ่านมาปรากฏแท่งเทียนสีดำแท่งใหญ่ขึ้นเมื่อ EUR/USD ดิ่งลงจาก 1.0759 ลงมาที่ 1.0515 และไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคมที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ทำการตัดสินใจกำหนดอัตราดอกเบี้ย แต่เกิดขึ้นหนึ่งวันก่อนหน้า สาเหตุที่ยูโรอ่อนค่ามาจากอิทธิพลของธนาคารแห่งชาติซาอุดิอาระเบีย

    สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ หลังจากธนาคารสามแห่งในสหรัฐฯ ล่มลง ทั้ง Silvergate, Silicon Valley และ Signature วิกฤติธนาคารขยายตัวไปยังยุโรปและตามมาด้วย Credit Suisse ที่ล่มลง ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในสวิสแห่งนี้ประสบปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรงจากข่าวฉาวเรื่องการทุจริตในโมซัมบิกและข่าวลือเกี่ยวกับเงินสกปรกจากมาเฟียค้ายาเพสติดชาวบัลแกเรียที่สื่อแห่กันรายงานข่าว จนวันพุธที่ 15 มีนาคม มีรายงานว่าธนาคารแห่งชาติซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของ Credit Suisse ได้ตัดสินใจที่จะไม่ให้เงินช่วยเหลือธนาคารอีกต่อไป

    หุ้นของ Credit Suisse ร่วงลงมากกว่า 30% แต่ไม่หยุดแค่นั้น คลื่นความวิตกกังวลกระทบต่อธนาคารยุโรปรายใหญ่อื่น ๆ  โดยหุ้นของ Societe Generale ร่วงลง 12% หุ้น BNP Paribas  10%, Commerzbank  9% ในสถานการณ์เช่นนี้ นักลงทุนตัดสินว่า ECB จะไม่กล้าขึ้นดอกเบี้ยอีก 50 จุดพื้นฐาน (bp) แนวโน้มท่าทีดังกล่าวลดลงจากความเป็นไปได้ที่ 90% เหลือ 20% ซึ่งทำให้เงินยูโรถูกแห่ขาย

    แต่ก็อย่างที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง นักลงทุนคิดผิด ในวันพฤหัสบดี ธนาคารกลางยุโรปก็ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ในเดือนก่อน และตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย 50 จุด นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับภาคธนาคารเริ่มลดลง ธนาคารแห่งชาติสวิตเซอร์แลนด์เข้ามาอุ้ม Credit Suisse และทางการสหรัฐฯ ก็ยื่นมือให้ความช่วยเหลือธนาคารอเมริกัน รวมถึงกระทรวงการคลังและธนาคารเฟด อีกทั้ง ธนาคารเอกชนอีก 11 แห่ง ได้เข้าร่วมภารกิจการกอบกู้ธนาคารดังกล่าว โดยจัดสรรเงินกว่าสามหมื่นล้านดอลลาร์เพื่อวัตถุประสงค์นี้ ผลลัพธ์ก็คือพายุสงบลง EUR/USD กลับสู่โซนปลอดภัยที่ 1.0650 และตลาดเริ่มพูดถึงว่าธนาคารเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเท่าใดในวันพุธที่จะถึงนี้

    อย่าลืมว่าการประชุมของคณะกรรมการ FOMC (คณะกรรมการกำหนดนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ) ที่ใก้ลที่สุดมีกำหนดในวันพุธที่ 22 มีนาคม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีน้ำเสียงสายเหยี่ยว (เน้นมาตรการเข้มงวด) ของนาย Jerome Powell และผู้บริหารคนอื่น ๆ สถิติเศรษฐกิจบ่งชี้ถึงสภาวะผ่อนคลายทางการเงินมากกว่าการถอนสภาพคล่องในนโยบายของธนาคารเฟด

    สถิติจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 9 และ 10 มีนาคม ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศ โดยจำนวนยอดขอรับสวัสดิการว่างงานเบื้องต้นอยู่ที่ 211K สูงกว่า 195K และ 190K ที่คาดการณ์ไว้เมื่อหนึ่งเดือนก่อนหน้า ตัวเลขนี้สูงเกิน 200K เป็นครั้งแรกและขยับถึงระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2022 สำหรับจำนวนตำแหน่งงานใหม่นอกภาคการเกษตร (NFP) อยู่ที่ 311K ซึ่งน้อยกว่าตัวเลขเดือนมกราคมอยู่มากที่ 503K เมื่อพิจารณาแนวโน้มอัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นเป็น 3.6% (3.4% ในเดือนมกราคม) อัตราการเติบโตของยอดค้าปลีกที่ลดลง และวิกฤติธนาคารที่เกิดขึ้น สถิติเหล่านี้อาจช่วยให้น้ำเสียงสายเหยี่ยวของกรรมการ FOMC สงบลงได้บ้าง ในขณะนี้ โอกาสที่จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 จุด (จาก 4.75% เป็น 5.00%) ในวันที่ 22 มีนาคมอยู่ที่ 80% นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงต่ำกว่า 4% ภายในสิ้นปี 2023 ซึ่งเป็นข่าวร้ายสำหรับดอลลาร์

    อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจยุโรปไม่ได้ทำผลงานดีเท่าไรนักเช่นกัน ซึ่งอาจกระตุ้นให้ ECB ใช้มาตรการที่ผ่อนปรนมากขึ้น ตลาดสวอปมั่นใจเกือบ 100% ว่าในวันที่ 4 พฤษภาคม ธนาคารกลางยุโรปจะขึ้นดอกเบี้ยเพียง 25 จุด จาก 3.00% เป็น 3.25%

    EUR/USD ปิดตลาดรอบห้าวันทำการที่ 1.0664 ซึ่ง ณ ขณะที่เขียนบทรีวิวฉบับนี้ในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 17 มีนาคม มีนักวิเคราะห์ 40% คาดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น และจำนวนเดียวกันทำนายว่าดอลลาร์จะอ่อนค่า ส่วน 20% ที่เหลือมีท่าทีเป็นกลาง ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 มี 75% ให้สัญญาณสีเขียว อีก 10% ให้สัญญาณสีแดง และ 15% ให้สีเทากลาง ในส่วนของอินดิเคเตอร์เทรนด์ 90% แนะนำให้เข้าซื้อ และ 10% แนะนำให้ขาย โดยแนวรับที่ใกล้ที่สุดของคู่นี้อยู่ที่บริเวณ 1.0590-1.0620 ตามมาด้วยโซนและระดับที่ 1.5000-1.0530, 1.0440, 1.0375-1.0400, 1.0300 และ 1.0220-1.0255 ซึ่งฝั่งกระทิงจะเจอกับแนวต้านในบริเวณ 1.0680-1.0700, 1.0740-1.0760, 1.0800, 1.0865, 1.0930, 1.0985-1.1030

    มีความชัดเจนว่าเหตุการณ์สำคัญหลักของสัปดาห์ที่จะถึงนี้จะเป็นการประชุมของธนาคารเฟดในวันที่ 22 มีนาคม ผลสรุปของการคาดการณ์ และงานแถลงข่าวที่ตามมาของผู้บริหารธนาคารฯ นอกจากนี้ในวันจันทร์ที่ 20 มีนาคม ธนาคารแห่งชาติจีนจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจส่งผลต่อดัชนีดอลลาร์ DXY ในส่วนของช่วงปลายสัปดาห์ทำการในวันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคมจะมีการประกาศสถิติแรงงานสหรัฐฯ อีกชุดหนึ่ง และในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม จะมีการประกาศตัวชี้วัดกิจกรรมทางธุรกิจ (PMI) ของเยอรมนีและยูโรโซน และปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าทุนและสินค้าคงทนในสหรัฐฯ

GBP/USD: กระทรวงการคลังสหราชอาณาจักรกระตุ้นเงินปอนด์

  • GBP/USD เป็นอีกคู่ที่มีแท่งสีดำปรากฏในวันที่ 15 มีนาคมเช่นกัน แต่ราคาร่วงลงน้อยกว่า 170 ปิป อย่างไรก็ดี ภายในปลายสัปดาห์ เงินปอนด์ก็ฟื้นตัวขึ้นมาโดยสมบูรณ์และแข็งค่าขึ้นเทียบกับช่วงสิบวันแรกของเดือนมีนาคม โดยปิดตลาดที่ 1.2175 ทั้งหมดนี้เป็นเพราะทัศนคติที่ดีขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร Jeremy Hunt รัฐมนตรีกระทรวงการคลังได้นำเสนอแผนงบประมาณของปีปัจจุบัน ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือการสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า GBP สหราชอาณาจักรจะลดลงเพียง 0.2% เท่านั้นในปีนี้ ดีกว่า 1.5% อย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ เศรษฐกิจจึงจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยได้สำเร็จ นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อน่าจะลดลง 2.9% ภายในปี 2023 ซึ่งต่ำกว่าระดับสูงสุดที่ 10.1% เกือบ 3.5% อีกทั้งยังได้ประกาศชุดมาตรการและสวัสดิการสำหรับประชาชนเพื่อช่วยชดเชยการขาดแคลนแรงงาน

    หลังจากการประกาศอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเฟดในสัปดาห์หน้านี้ ธนาคารแห่งชาติอังกฤษ (BoE) จะประกาศอัตราดอกเบี้ยหลังจากนั้นเพียง 18 ชั่วโมง ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าคำแถลงของ Andrew Bailey ผู้ว่าการธนาคาร BoE เมื่อวันพุธที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมามีความกำกวม และกล่าวว่าการตัดสินใจสุดท้ายเกี่ยวกับแนวโน้มนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางอังกฤษยังไม่เกิดขึ้น และธนาคารฯ ควรจะมีความยืดหยุ่นในช่วงหลายเดือนข้างหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้ตลาดตื่นตระหนก ขณะนี้ ความระมัดระวังของธนาคารจะยิ่งหนักหน่วงขึ้นเนื่องด้วยวิกฤติธนาคารและมาตรการที่เด็ดขาดจากธนาคารเฟดอีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก และเดิมทีตลาดมั่นใจว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 จุดจากระดับปัจจุบันีท่ 4.00% (และบางทีอาจขึ้นถึง 50 จุดพื้นฐาน) ตอนนี้พวกเขามีความกังวลว่า จะเกิดอะไรขึ้นถ้า BoE ตัดสินใจหยุดพักเพื่อประเมินสถานการณ์และหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด?

    ในเวลานี้ ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (50%) อยู่ฝั่งดอลลาร์ โดยมี 10% เท่านั้นที่โหวตให้กับแนวโน้มแข็งค่าของเงินปอนด์ ในขณะที่ส่วนที่เหลือ 40% ยังคงรอดูสถานการณ์ไปพลาง ๆ ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 ให้ภาพรวมดังนี้ 85% โหวตให้กับสีเขียว (โดยหนึ่งในสี่ของจำนวนนี้อยู่ในโซน overbought) และ 15% โหวตให้สีแดง ด้านอินดิเคเตอร์เทรนด์ชี้ชัดว่าฝั่งสีเขียวชนะขาดถึง 100% โดยมีระดับและโซนแนวรับอยู่ที่ 1.2145, 1.2075-1.2085, 1.2000-1,2025, 1.1960, 1.1900-1.1920, 1.1800-1.1840, 1.1720 และ 1.1600 ซึ่งหากราคาขยับขึ้นทิศเหนือ จะต้องเจอกับแนวต้านที่ระดับ 1.2200-1.2210, 1.2270, 1.2335, 1.2390-1.2400, 1.2430-1.2450, 1.2510, 1.2575-1.2610, 1.2700, 1.2750 และ 1.2940

    ในส่วนของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร นอกเหนือจากการประชุมของ BoE จะเป็นการประกาศยอดค้าปลีกและกิจกรรมทางธุรกิจในภาคบริการของสหราชอาณาจักรในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคมนี้

USD/JPY: อัตราดอกเบี้ยจะขยับลดลงอีกไหม?

  • เงินเยนเป็นสกุลเงินที่ไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ จากวิกฤติธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป ในทางกลับกัน วิกฤตินี้กลับเพิ่มความน่าดึงดูดให้กับเงินเยนในฐานะสกุลเงินหลบภัยเพื่อป้องกันจากพายุการเงินที่เกิดขึ้น ถึงขนาดที่คำแถลงของ Haruhiko Kuroda ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่น (BoJ) ที่ใกล้จะอำลาตำแหน่งว่า จะลดอัตราดอกเบี้ยต่อจากที่ติดลบอยู่แล้ว -0.1% ก็ไม่ส่งผลสะเทือนใด ๆ ต่อนักลงทุน USD/JPY จึงปิดตลาดที่จุดเดียวกับช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ระดับ 131.80

    สำหรับแนวโน้มที่ใกล้ที่สุดในขณะนี้มีผู้เชี่ยวชาญ 50% โหวตว่าราคาจะขยับขึ้น 25% ชี้ไปยังทิศทางตรงกันข้าม และอีก 25% หลีกเลี่ยงที่จะให้การคาดการณ์ใด ๆ ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 90% ชี้ไปยังทิศใต้ (หนึ่งในสามให้สัญญาณ oversold) ในขณะที่ 10% ชี้ไปยังทิศทางตรงกันข้าม อินดิเคเตอร์เทรนด์ทั้งหมดชี้ไปทางทิศใต้เช่นกัน โดยระดับแนวรับตั้งอยู่ที่โซน 131.25 ตามมาด้วยระดับและโซนคือ 130.50, 129.70-130.00, 128.00-128.15 และ 127.20 ทางด้านระดับและโซนแนวต้านได้แก่ 132.80-133.20, 134.00-134.35, 135.00-135.35, 135.90-136.00, 137.00, 137.50 และ 137.90-138.00

    ในสัปดาห์หน้าไม่คาดว่าจะมีการประกาศสถิติเศรษฐกิจที่สำคัญใด ๆ จากญี่ปุ่น แต่นักเทรดควรทราบว่าในวันอังคารที่ 21 มีนาคม เป็นวันหยุดในญี่ปุ่นที่เรียกว่า วันชุนบุน และแน่นอนที่ต้องไม่ลืมก็คือการประชุมของ FOMC ของธนาคารเฟดสหรัฐฯ ในวันที่ 22 มีนาคม

CRYPTOCURRENCIES: อะไรที่แย่ต่อธนาคาร เป็นสิ่งที่ดีต่อบิทคอยน์

  • ในบทรีวิวฉบับที่แล้ว เราได้พูดถึงปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อตลาดคริปโตในเชิงลบ ส่วนหนึ่งคือทางการสหรัฐฯ ได้แก่ กระทรวงการคลัง คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารเฟด อัยการสูงสุด วุฒิสภา และแม้แต่รัฐบาลไบเดน อย่างไรก็ตาม ปัญหาของอัลท์คอยน์และแม้แต่เรื่องการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับภาษีถือว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรเทียบกับวิกฤติภาคธนาคารอเมริกัน เมื่อวันที่ 8 มีนาคม Silvergate ธนาคารคริปโตได้ประกาศหมดสภาพคล่องแบบสมัครใจ ตามมาด้วย Silicon Valley Bank (SVB) และ Signature Bank ซึ่งเป็นธนาคารที่บริษัทคริปโตจำนวนมากใช้เป็นช่องทางแลกเปลี่ยนเงินเฟียต และในสัปดาห์ที่แล้วมีธนาคารในยุโรปก็ล้มตามอย่างที่เราอธิบายไปแล้วข้างต้น

    Silvergate ประสบปัญหาเนื่องด้วยภาวะหนี้สินจาก FTX แพลตฟอร์มคริปโตที่ล่มลง ส่วน SVB และ Signature ล้มละลายเพราะนโยบายทางการเงินของธนาคารเฟด ซึ่งเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงและการลดดุลงบประมาณ “ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 18 [SVB] ล้มละลาย เราได้เรียนรู้ว่าการแห่ขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐนำไปสู่การขาดทุนเป็นเงินหลายพันดอลลาร์ในภาคธนาคารอย่างไร ดังนั้น เราจึงได้เห็นอีกหนึ่งตัวอย่างว่าระบบการใช้เงินสำรองส่วนหนึ่งเป็นระบบที่มีผู้ให้สินเชื่อ ไม่ใช่ผู้ฝาก" เป็นความเห็นของ The Bitcoin Layer ต่อเหตุการณ์นี้ สถิติจาก FDIC ชี้ว่าในปีที่แล้ว ธนาครสหรัฐฯ มีการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นเพิ่มขึ้นจาก $3 เป็น $652 พันล้านดอลลาร์

    ถึงแม้ว่าธนาคารกลางจะเป็นตัวการที่พาธนาคารต่าง ๆ ล้มละลาย แต่ก็เตรียมแผนการที่จะอุ้มธนาคารเหล่านี้ SVB และ Signature อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทประกันภัยเงินฝากของรัฐ ซึ่งผู้ฝากเงินจะเข้าถึงเงินฝากของตนเองได้โดยสมบูรณ์ นอกจากนี้ ธนาคารเฟดยังได้ประกาศจัดตั้งโครงการระดมเงินสำหรับธนาคาร เพื่อธนาคารที่กำลังเผชิญกับปัญหาที่คล้ายกัน (BTFP) โดยมีการจัดสรรเงินกว่า $2.5 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว

    Robert Kiyosaki ผู้เขียนหนังสือขายดีเรื่อง Rich Dad Poor Dad และผู้ประกอบการได้ออกมากระตุ้นให้คนลงทุนในทองคำ เงิน และบิทคอยน์อีกครั้ง ถึงแม้ว่าจะมีข่าวเรื่องปัญหาวิกฤติธนาคารในสหรัฐฯ เขามองว่าธนาคารสามารถพิมพ์ “เงินปลอม ๆ ได้อีกมาก” เพื่อพยุง “เศรษฐกิจที่ป่วยหนัก” จงดูแลตนเอง ภาวะเศรษฐกิจทรุดตัวอยู่ข้างหน้า” Kiyosaki กล่าว

    Tedtalksmacro นักวิเคราะห์ตลาดมองว่าท่าทีดังกล่าวของธนาคารเฟดเป็นจุดเริ่มต้นของการผ่อนคลายเชิงปริมาณแบบไม่เป็นทางการ Arthur Hayes อดีตซีอีโอ BitMEX กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า “เตรียมพร้อมสำหรับการทะยานขึ้นในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เครื่องพิมพ์เงินเริ่มทำงานอีกแล้ว!” เขาเขียนว่า “การช่วยเหลือผู้ฝากเงินในธนาคารที่ล้มละลายแปลว่าจะต้องอัดฉีดเงินเพิ่มเข้าในเศรษฐกิจ ซึ่งสภาพคล่องจะถูกถอนออกในช่วงปีนี้เท่านั้น นี่เป็นเชื้อเพลิงที่ดีเยี่ยมสำหรับสินทรัพย์กลุ่มเสี่ยง”

    ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม เราได้เห็นกระแสเงินไหลออกจากนักลงทุนรายสถาบัน ซึ่งยิ่งทำให้ธนาคารหลายแห่งหวาดกลัว ในเวลาเพียงสัปดาห์เดียว เงินไหลออกจากกองทุนบิทคอยน์ทำสถิติ $244 ล้านดอลลาร์ และขณะนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมด ราคา BTC พุ่งขึ้นกว่า 30% และมูลค่ารวมในตลาดคริปโตเพิ่มขึ้นอีกครั้งเหนือระดับ $1 ล้านล้านดอลลาร์ ตลาดกลับมาตระหนักถึงศักยภาพของเงินคริปโตอีกครั้งที่จะเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองเงิน และบิทคอยน์ก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับมือกับภาวะช็อคเช่นนี้นั่นเอง มีคนตั้งข้อสังเกตความคล้ายกันกับเหตุการณ์วิกฤติไซปรัสปี 2013 ซึ่งเน้นให้เห็นถึงข้อเสียของระบบเงินสำรองและเน้นความสำคัญของการประกันความเสี่ยงแบบกระจายศูนย์กลาง ซึ่งตรงกันข้ามกับภาคธนาคารแบบมีศูนย์กลาง

    ผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่งมองว่านี่เป็นโฆษณาที่ดีเยี่ยมสำหรับบิทคอยน์ แต่ก็มีผู้ที่ตั้งข้อกังขาเช่นกัน เช่น Jim Cramer พิธีกรรายการ Mad Money ของ CNBC ยังคงวิจารณ์อุตสาหกรรมคริปโตต่อเนื่อง ในรายการเทปล่าสุด เขาแสดงถึงข้อกังขาเกี่ยวกับราคาที่พุ่งขึ้นในขณะนี้ เขายังเรียกบิทคอยน์ว่าเป็น “สัตว์ประหลาด” อีกด้วย ในมุมมองของเขา สกุลเงินคริปโตนั้นถูกบงการโดยสถาบันการเงินขนาดใหญ่และนักลงทุนที่ร่ำรวยอย่างลับ ๆ “โปรดอย่าคิดว่าทุกอย่างมันเกิดขึ้นด้วยตนเอง” Cramer ออกมาเตือนผู้ชมและเสริมว่าเขาเองไม่เคยเชื่อในบิทคอยน์

    การคาดการณ์ในครั้งนี้มาจากนักวิเคราะห์แมคโครและเทรดเดอร์ชื่อดัง Henrik Zeberg เขาประเมินความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ดัชนีที่อยู่อาศัยของ NAHB ดัชนีตลาดหุ้นและคริปโต ผู้เชี่ยวชาญท่านนี้เน้นย้ำถึงความคล้ายกันจนน่ากังวลของสถานการณ์ในเวลานี้กับวิกฤติช่วงปี 1929 และกล่าวเสริมว่าตลาดกำลังเข้าถึงช่วงเศรษฐกิจทรุดตัว ซึ่งจะยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี เขามองว่าตลาดทุกแห่งกำลัง “คุกรุ่นอย่างสุดโต่ง และภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบถัดไปอาจรุนแรงยิ่งกว่าช่วงปี 2007-2009” ซึ่งนักวิเคราะห์รายนี้ชี้ว่าตลาดคริปโตจะถูกกระทบอย่างรุนแรง และเหรียญดิจิทัลหลายสกุลจะไม่สามารถต้านทานแรงกดดันได้

    Zeberg ได้ให้การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามหลักทฤษฎีคลื่น Elliott Wave ซึ่งจากการวิเคราะห์ของเขา คลื่นที่ 4 อาจถึงจุดสูงสุดในช่วงต้นปี 2024 หลังจากนั้น ตลาดการเงินขนาดใหญ่จะต้องล่มลง ผู้เชี่ยวชาญรายนี้เน้นย้ำว่าทุกคนควรให้ความสนใจกับภาพรวมเศรษฐกิจของไตรมาสที่สามและสี่ของปี 2023 ซึ่งอาจเป็นช่วงแนวโน้ม “กระทิง” ครั้งสุดท้ายของวัฎจักรตลาดนี้

    ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 17 มีนาคม BTC/USD ซื้อขายอยู่บริเวณ $27,500 โดยมีมูลค่ารวมในตลาดคริปโตเพิ่มขึ้นจาก $0.937 เป็น $1.155 ล้านล้านดอลลาร์ในรอบสัปดาห์ ด้านดัชนี Bitcoin fear and greed index เพิ่มขึ้นจาก 34 เป็น 51 จุดในเวลาเจ็ดวันและขยับจากโซน Fear เข้าสู่โซน Neutra

 

NordFX Analytical Group

 

Notice: These materials are not investment recommendations or guidelines for working in financial markets and are intended for informational purposes only. Trading in financial markets is risky and can result in a complete loss of deposited funds.

กลับ กลับ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายคุกกี้ ของเรา