EUR/USD: ยังคงทำนายอัตราดอกเบี้ยต่อไป
- ดอลลร์เหมือนจะอ่อนค่าหรือไม่ อีกด้านหนึ่งดัชนีดอลลาร์ DXY ทำระดับต่ำสุดในรอบสองเดือนเมื่อวันที่ 4 เมษายน โดยขยับลงมาต่ำกว่าแนวรับที่ 101.50 และ EUR/USD ขยับขึ้นมายังระดับสูงสุดใหม่ที่ 1.0972 แต่อีกด้านหนึ่งในช่วงท้ายสัปดาห์ราคาก็กลับมายังระดับวันที่ 23 และ 31 มีนาคม
ดัชนี DXY ยังคงเจอแรงกดดันจากสถิติเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ย่ำแย่ การเติบโตของ GDP สหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2022 อยู่ที่ 2.6% ซึ่งต่ำกว่าทั้งตัวเลขคาดการณ์และตัวเลขก่อนหน้า (2.7%) กิจกรรมทางธุรกิจในเดือนมีนาคมยังคงลดลงในอัตราเร่งตัว ดัชนี PMI ในภาคการผลิตลดลงมาที่ 46.3 จากตัวเลขคาดการณ์ที่ 47.5 และ 47.7 ในเดือนกุมภาพันธ์ และลดลงมายัง 51.2 ในภาคบริการ (ตัวเลขคาดกรณ์ที่ 54.5 และตัวเลขเดือนธันวาคมที่ 55.1) ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมลดลง 0.7% ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 0.5% อีกครั้ง และถึงแม้ว่าดัชนีจะลดลง 2.1% ในเดือนก่อน รายงาน JOLTS จากตลาดแรงงานแสดงถึงแนวโน้มขาลงในตำแหน่งงานเปิดใหม่ที่ 9.9 ล้านตำแหน่ง ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบสองปีที่ผ่านมา
สำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐฯ ได้ประกาศรายงานอัตราว่างงานเดือนมีนาคมเมื่อวันศุกร์ที่ 7 มีนาคม จำนวนตำแหน่งงานใหม่นอกภาคการเกษตร (NFP) ในสหรัฐฯ จากการคาดการณ์ที่ 240K ลดลงมาที่ 236K ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าสถิติเดือนกุมภาพันธ์อย่างมาก ซึ่งอยู่ที่ 326K แต่อัตราการว่างงานลดลงจาก 3.6% เหลือ 3.5% ซึ่งช่วยสนับสนุนค่าเงินดอลลาร์เล็กน้อย (ในช่วงที่ตลาดมีสภาพคล่องต่ำ DXY ขยับขึ้นไปเหนือ 102.00) อย่างไรก็ดี ปฏิกิริยาตอบสนองหลักของตลาดต่อสถิติเหล่านี้จะตามมาในสัปดาห์หน้า วันที่ 7 เมษายน เป็นวันหยุดในยุโรป สหรัฐฯ และอีกหลายประเทศ ซึ่งเป็นวัน Good Friday นอกจากนี้ยุโรปยังหยุดวันจันทร์ที่ 10 เมษายน เนื่องในวันหยุดเทศกาลอีสเตอร์ด้วย ครั้งสุดท้ายที่ NFP ประกาศในวัน Good Friday คือปี 2021 และถึงแม้ว่าดัชนีจะพุ่งขึ้นอย่างมากในครั้งนั้น การตอบสนองของตลาดกลับน้อยมาก
แน่นอนว่า ตัวชี้วัดทั้งหมดข้างต้นอาจทำให้ความคาดหวังของตลาดต่ออัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เปลี่ยนไป แต่ทั้งนี้ การประชุมครั้งถัดไปของคณะกรรมการ FOMC (คณะกรรมการกำหนดนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ) จะจัดขึ้นในวันที่ 3 พฤษภาคม และจะมีการประกาศสถิติอีกหลายชุดก่อนถึงวันนั้น สถานการณ์เศรษฐกิจที่อ่อนแออาจช่วยผ่อนคลายท่าทีของกรรมการบริหาร FOMC ได้บ้างและบีบให้พวกเขาต้องพักนโยบายการเงินแบบเข้มงดไว้ก่อน และอาจคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมคือ 5.00% ในขณะนี้ CME Group FedWatch Tool มีโอกาส 52.7% ที่ัอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นอีกครั้งที่ 25 จุดพื้นฐาน (bp)
EUR/USD ปิดท้ายสัปดาห์ที่แล้วที่ 1.0901 ซึ่ง ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 7 เมษายน ความเห็นของนักวิเคราะห์แบ่งออกเกือบเท่า ๆ กันดังนี้ 35% คาดว่าดอลลาร์จะอ่อนค่าลงต่อ 35% คาดว่าจะแข็งค่า และ 30% ที่เหลือมีท่าทีเป็นกลาง ในส่วนออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 90% ให้สัญญาณสีเขียว อีก 10% ให้สีเทากลาง ส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์ 75% แนะนำให้ซื้อ 15% แนะนำให้ขาย ระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดของคู่นี้อยู่ที่ 1.0885, 1.0860 จากนั้นคือ 1.0740-1.0760, 1.0675-1.0710, 1.0620 และ 1.0490-1.0530 ด้านกระทิงจะเจอกับแนวต้านที่ 1.0925 ตามมาด้วย 1.0955, 1.0985-1.1030, 1.1110, 1.1230, 1.1280 และ 1.1355-1.1390
ดัชนียอดค้าปลีกในยูโรโซนจะประกาศในสัปดาห์นี้ วันจันทร์ที่ 11 เมษายน โดยในวันถัดไปจะมีการประกาศสถิติสำคัญ ดัชนีเงินเฟ้อผู้บริโภค (CPI) ในสหรัฐฯ ผลการประชุมของคณะกรรมการ FOMC ประจำเดือนมีนาคมจะประกาศให้ทราบในวันพุธเช่นกัน และในวันพฤหัสบดีจะมีการประกาศดัชนี CPI เยอรมนี รวมถึงจำนวนยอดขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐฯ และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) สหรัฐฯ และในวันศุกร์ เราจะได้ทราบสถิติชุดเต็มของยอดค้าปลีกสหรัฐฯ
GBP/USD: PMI ให้ความหวังแก่นักลงทุน
- ท่ามกลางสถานการณ์ที่ดอลลาร์อ่อนค่าลง GBP/USD รู้สึกค่อนข้างดี และเงินปอนด์ทำระดับสูงสุดอีกครั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน ขึ้นมาที่ 1.2525 โดยราคาไม่เคยเทรดที่ระดับสูงขนาดนี้นับตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน 2022 อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นราคามีการปรับฐานเล็กน้อย และปิดตลาดท้ายสัปดาห์ที่ระดับ 1.2414 โดยกลับมายังระดับเดียวกับช่วงกลางเดือนธันวาคม 22 - ครึ่งหลังของเดือนมกราคม 2023
จริง ๆ แล้ว เศรษฐกิจสหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ไม่มีอะไรให้โอ้อวดในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ (PMI) ในภาคการผลิตของประเทศ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 3 เมษายน แสดงแนวโน้มลดลงจาก 49.3 เหลือ 47.9 จุด (จากการคาดการณ์ที่ 48.0) ดัชนี PMI ในภาคบริการปรากฏว่าต่ำกว่าตัวเลขครั้งก่อนหน้าที่ 52.9/53.5 และ 52.2/53.1 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การที่ดัชนีทั้งสองยังคงยืนหยัดอยู่เหนือระดับ 50.0 ให้ความหวังต่อนักลงทุนว่าเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้สำเร็จ ซึ่งช่วยพยุงค่าเงินของประเทศ
ณ ขณะนี้ ผู้เชี่ยวชาญ 40% อยู่ฝั่งเงินปอนด์ ผู้เชี่ยวชาญจำนวนเดียวกัน (40%) ยังคงรอดูสถานการณ์ และมีเพียง 20% เท่านั้นที่อยู่ฝั่งดอลลาร์ ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 สมดุลอำนาจมีดังนี้: 90% โหวตให้ฝั่งสีเขียว และ 10% โหวตให้สีแดง ในส่วนของอินดิเคเตอร์เทรนด์ ฝ่ายที่ได้เปรียบคือสีเขียวที่ 85% สีแดงมี 15% สำหรับระดับและโซนแนวรับของคู่นี้อยู่ที่ 1.2390, 1.2330, 1.2275, 1.2200, 1.2145, 1.2075-1.2085, 1.2000-1.2025, 1.1960, 1.1900-1.1920, 1.1800-1.1840 หากราคาขยับขึ้นไปด้านบน จะเจอกับระดับแนวต้านที่ 1.2450, 1.2510-1.2525, 1.2575-1.2610, 1.2700, 1.2750 และ 1.2940
ด้านเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรจะมีการกล่าวถ้อยแถลงโดยผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) Andrew Bailey ในสัปดาห์หน้าในวันพุธที่ 12 เมษายน ในวันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายนจะมีการประกาศสถิติปริมาณการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงค่า GDP ของประเทศ ที่สำคัญวันจันทร์ที่ 10 เมษายนนี้จะเป็นวันหยุดธนาคารเนื่องในเทศกาลอีสเตอร์ในสหราชอาณาจักรด้วย
USD/JPY: BoJ ยังคงผ่อนคลาย
- ในครั้งนี้ พฤติกรรมของคู่ USD/JPY โดยรวมแล้วตอบสนอง (สะท้อนตามที่ควรจะเป็น) ต่อ “คู่มิตร” ในดัชนี DXY ในช่วงต้นสัปดาห์ ราคาคู่นี้ขยับลงจากระดับที่ 133.75 และทำระดับต่ำสุดในกรอบที่ 130.60 เมื่อวันที่ 5 เมษายน หลังจากนั้นมันก็ขยับขึ้นมาที่ 132.37 ในช่วงตลาดมีสภาพคล่องต่ำและผลรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่เฉื่อยชา โดยราคาปิดตลาดท้ายสัปดาห์ต่ำลงมาเล็กน้อยที่ 132.14
ในส่วนของนโยบายการเงินของญี่ปุ่นยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ผู้มีอิทธิพลภายนอกยังหวังว่าจะมีการเพิ่มความเข้มงวดในมาตรการทางการเงิน ผู้มีอิทธิพลภายในกล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนคลายสุดต่างจะยังคงตามเดิม ผลที่ได้ก็คือวันศุกร์ที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา Kristalina Georgieva ผู้อำนวยการบริหารไอเอมเอฟ (IMF) ให้สัญญาณอย่างเบา ๆ ว่า “มันมีความเหมาะสมที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นควรจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น” และ Shunichi Suzuki รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่นได้เอ่ยชมความพยายามของนาย Haruhiko Kuroda ผู้ว่าการธนาคารฯ ที่กำลังจะพ้นตำแหน่ง และแสดงความหวังว่าภายใต้การบริหารของผู้ว่าการคนใหม่ ธนาคารกลางฯ “จะยังคงสนับสนุนนโยบายอย่างเพียงพอและเหมาะสม”
เราเคยเขียนไว้ในบทวิเคราะห์ฉบับที่แล้วว่า นักเศรษฐศาสตร์จาก Societe Generale คาดการณ์ว่า มาตรการกรเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของ BoJ ใด ๆ อาจเกิดขึ้นหลังจากเดือนมิถุนายนไปแล้ว ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจาก ANZ Bank คล้ายกันเช่นกัน “ในระยะเวลาอันใกล้ การเปลี่ยนแปลงในนโยบายยังไม่น่าเป็นไปได้” และหากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ANZ Bank คาดการณ์ว่ามันจะเกิดขึ้นเฉพาะหลังไตรมาสที่ 2 ในปีนี้เท่านั้น
สำหรับแนวโน้มอันใกล้ของคู่ USD/JPY ในขณะนี้มีผู้เชี่ยวชาญ 55% ที่โหวตว่าราคาคู่นี้จะขยับต่อไปในทิศเหนือ และ 45% ชี้ไปยังทิศทางตรงกันข้าม ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 25% ชี้ไปยังทิศใต้ จำนวนเดียวกันชี้ไปยังทิศเหนือ และ 50% มีท่าทีเป็นกลาง ด้านอินดิเคเตอร์เทรนด์ 40% ชี้ไปยังทิศเหนือ ส่วนที่เหลือ 60% ชี้ไปยังทิศใต้ สำหรับแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ในโซน 131.85-132.00 จากนั้นคือระดับและโซนที่ 131.25, 130.50-130.60, 129.70-130.00, 128.00-128.15 และ 127.20 ส่วนระดับและโซนแนวต้าน ได้แก่ 132.80-133.00, 133.60-133.75, 134.35, 135.00-135.35, 135.90-136.00, 137.00, 137.50 และ 137.90-138.00.
ในสัปดาห์หน้าไม่คาดว่าจะมีการประกาศสถิติที่สำคัญใด ๆ จากเศรษฐกิจญี่ปุ่น
คริปโตเคอเรนซี: แนวต้านที่ $29,000 ยังไม่เคยฝ่าได้
- ช่วงต้นของบทวิเคราะห์ครั้งที่แล้วกล่าวถึง “วิกฤติที่กระทบต่อ Silvergate, Silicon Valley Bank (SVB) และ Signature และกระทบต่อ Credit Suisse แน่นอนว่าได้ช่วยตลาดคริปโต โดยเป็นการย้ำเตือนว่าระบบการเงินแบบกระจายศูนย์นั้นสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร อย่างไรก็ตาม ความกลัวของนักลงทุนต่อคลื่นวิกฤติธนาคารรอบถัดไปในสหรัฐฯ และยุโรปค่อย ๆ เลือนหายไป ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนบนกราฟ BTC/USD เดิมในช่วงวันที่ 10-17 มีนาคม ทองคำดิจิทัลทำราคาขึ้นมาเกือบ 45% แต่ราคาพยายามจะฝ่าแนวต้านที่สำคัญที่ $29,000 อย่างล้มเหลวมาตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมา และ BTC มีแนวรับที่ระดับ $26,500”
เราเคยเขียนไปแล้วในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ตอนนี้ทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม สิ่งที่เปลี่ยนไปมีแต่กรอบความผันผวนที่แคบลงมากกว่าสัปดาห์ที่แล้ว และราคาต่ำสุดในกรอบอยู่ที่ $27,190 ทั้งนี้ ต้องมีแรงกระตุ้นที่ให้ราคาสามารถวิ่งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งใด แต่เรายังไม่เห็นแรงกระตุ้นดังกล่าว
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว ตลาดคริปโตโดยเฉพาะบิทคอยน์ได้รับแรงหนุนจากวิกฤติธนาคารและสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงโดยรวม อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมคริปโตยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันจากหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งตอนนี้ได้พรรคพวกหนุนหลังจากสหราชอาณาจักร ด้านหนึ่งเราจึงเห็นสภาพคล่องที่ลดลงใน BTC ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน และอีกด้านหนึ่งเรากลับเห็นปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น
ผลการสำรวจเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ในวงการโดย CNBC ชี้ว่า ตลาดยังคงแนวโน้มกระทิงสำหรับอนาคตของบิทคอยน์ในระยะนี้ Glassnode บริษัทด้านการวิเคราะห์ชี้ว่า ความน่าดึงดูดของมันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยตั้งข้อสังเกตถึงปริมาณกิจกรรมของนักเทรดที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้ว เมื่อราคาบิทคอยน์ลดลงมาเหลือ $15,000 และแนวโน้มดังกล่าวนั้นเคยเกิดขึ้นให้เห็นในปี 2023
จำนวนแอดเดรสเครือข่ายบิทคอยน์ที่มียอดเงินอย่างน้อยหนึ่งเหรียญเพิ่มขึ้นเป็น 992,243 จำนวนแอดเดรสที่มีเงินตั้งแต่ 100 ถึง 1000 BTC อยู่ที่ 14,004 โดยวาฬสี่ตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นเจ้าของบิทคอยน์จำนวนระหว่าง 100,000 และ 1 ล้าน BTC รวมถึง Binance และ Bitfinex ที่ดูแลบิทคอยน์จำนวน 248,597 และ 178,010 เหรียญตามลำดับ ในขณะเดียวกันมีความเป็นไปได้ว่าวาฬหนึ่งในสี่ตัวนั้นคือรัฐบาลสหรัฐฯ นักวิเคราะห์จาก Dune เชื่อว่า มูลค่ารวมของบิทคอยน์ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ซื้อไว้คือ 205,515 BTC หรือมากกว่า 1% ของปริมาณเหรียญทั้งหมด สินทรัพย์เหล่านี้ส่วนใหญ่ได้มาจากการยึดจากอาชญากร
ด้านผู้แทนจากแพลตฟอร์ม Derebit ชี้แจงว่า สถานะคงคงในอนุพันธ์บิทคอยน์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พวกเขาเน้นย้ำว่าคำสั่งส่วนใหญ่เป็นคำสั่งซื้อ เนื่องจากนักลงทุนยังเชื่อในศักยภาพของบิทคอยน์และตลาดคริปโต
คู่ขนานไปกับความน่าดึงดูดที่เพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ดิจิทัลในหมู่นักลงทุน มันยังดึงดูดความสนใจเพิ่มขึ้นจากหมู่อาชญากรเช่นกัน โดยอาชญากรทางไซเบอร์ได้ขโมยสกุลเงินดิจิทัล $255.8 ล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ต้นปีนี้ ในขณะเดียวกันมีเงิน “แค่” $8.8 ล้านดอลลาร์เท่านั้นที่ถูกโจรกรรมในเดือนมกราคม ซึ่งสูงกว่าตัวเลขเดือนกุมภาพันธ์ที่ $35.5 ล้านดอลลาร์ถึง 3.5 เท่า และตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นมาเป็น $211.5 ล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม
Stockmoney Lizards นักวิเคราะห์คริปโตชื่อดังได้วิเคราะห์พฤติกรรมของสินทรัพย์คริปโต เขามองว่า กราฟรายเดือนบิทคอยน์ดูสดใสและชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่ราคาจะขยับขึ้นต่อ ข้อสันนิษฐานของผู้เชี่ยวชาญได้รับการสนับสนุนโดยอินดิเคเตอร์ RSI ซึ่ง Stockmoney Lizards เชื่อว่าสถานการณ์ตลาดในปัจจุบันนั้นคล้ายกันกับช่วงปี 2017-2020 เป็นอย่างมาก ซึ่งมีแนวโน้มขาขึ้นต่อเนื่องและเทรนด์เริ่มก่อตัว หลังจากนั้นบิทคอยน์จะเริ่มขยับถึงระดับสำคัญที่ $47,000 ในเร็ว ๆ นี้
Michael Van De Poppe นักวิเคราะห์ชื่อดังอีกท่านหนึ่งได้แบ่งปันมุมมองของเขา เขาชี้ว่าผู้ซื้อยังคงเป็นฝ่ายคุมสถานการณ์ หากราคาบิทคอยน์ยังคงยืนเหนือระดับ $25,000 ได้ระยะหนึ่ง เราอาจได้เห็นราคาขยับขึ้นไปที่ $40,000
Charles Edwards ผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันสินทรัพย์ดิจิทัล Capriole Investments ชี้ถึงสัญญาณกระทิง “ที่คุ้นเคย” จากเกณฑ์ SLRV Ribbons ในทวีตข้อความของเขา SLRV Ribbons คือเครื่องมือที่ใช้วัดผลตอบแทนที่เป็นไปได้จากบิทคอยน์ เครื่องมือนี้วิเคราะห์การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สองเส้น เมื่อเส้น MA 30 วันระยะสั้นตัดผ่านเส้น MA 150 วันระยะยาว บิทคอยน์จะเริ่มต้นระยะกระทิง เกณฑ์นี้ “มันเรียบง่ายแบบนั้นเลย” Edwards กล่าว “ขณะนี้มันกำลังมีพฤติกรรมคลาสสิกอีกครั้งอย่างที่มันเคยมีการตัดผ่านกันในช่วงต้นปี 2023” ผู้เชี่ยวชาญท่านนี้กล่าวเสริมว่า SLRV Ribbons แม้ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างใหม่ แต่ก็ได้มีการทดสอบและแสดงให้เห็นว่าน่าเชื่อถือ และสามารถเพิ่มผลตอบแทนให้กับการลงทุนใน BTC ได้
SLRV ไม่ใช่ตัวชี้วัดเดียวที่ทำให้ผู้ก่อตั้ง Capriole Investment รู้สึกคุ้นเคยราวกับเดจาวูเช่นนี้ เครื่องมือ Bitcoin Yardstick ยังแสดงให้เห็นถึงการปรับฐานของมูลค่าตลาดบิทคอยน์เทียบกับแฮชเรต แต่ยังคงถือว่า BTC “มีราคาถูก” ที่ราคาปัจจุบัน “Bitcoin Yardstick กำลังวาดสัญลักษณ์ที่คล้ายกันกับช่วงราคาต่ำสุดปี 2019” Edwards แสดงความเห็นต่อผลการวิเคราะห์ ซึ่งในช่วงต้นปีนี้ หลังจากราคาออกจากโซน “ราคาถูก” แล้ว BTC/USD มีราคาลดลงสั้น ๆ ในช่วงเวลาวิกฤติที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในเดือนมีนาคม 2020 ในขณะนี้ อินดิเคเตอร์ดังกล่าวชี้ว่าราคา BTC มีเป้าหมายที่ $35,000
เมื่อเปลี่ยนจากระยะสั้นมาเป็นการคาดการณ์ระยะยาว Arthur Hayes อดีตซีอีโอคริปโต BitMEX ได้ให้คำทำนายอย่างชัดเจนว่าราคาบิทคอยน์จะไปถึง $1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เขาเชื่อเช่นนี้หลังจากที่ได้เห็นข่าวว่าธนาคารกลางประเทศจีนได้ปรับลดอัตราส่วนเงินสำรองตามเงื่อนไข (RRR) ของธนาคารทุกแห่งลง 0.25%
ทั้งนี้ อัตราส่วน RRR (Require Reserve Ratio) เป็นสัดส่วนตามกฎหมายที่เป็นหนี้สินของธนาคารพาณิชย์ต่อเงินฝากที่ดูแล เมื่อมีการปรับลดอัตรานี้ จำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์จะสามารถออกให้สำหรับการให้สินเชื่อหรือลงทุนจะเพิ่มขึ้น
ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 7 เมษายน BTC/USD ยังคงอยู่ห่างไกลจาก $1 ล้านดอลลาร์ต่อเหรียญและตอนนี้ซื้อขายอยู่ที่ $27,860 โดยมูลค่ารวมของตลาดคริปโตคือ $1.77 ล้านล้านดอลลาร์ ($1.185 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) ดัชนี Crypto Fear & Greed Index ปรับขึ้นมาเพียงหนึ่งจุดในรอบเจ็ดวันจาก 63 เป็น 64 และยังคงอยู่ในโซนความโลภ (Greed)
และสุดท้ายนี้เราจะพูดถึงอัลท์คอยน์หรือเหรียญทางเลือกเล็กน้อย ฮาร์ดฟอร์กในเซี่ยงไฮ้ที่รอกันมาอย่างยาวนานจะเกิดขึ้นในเครือข่ายในวันที่ 12 เมษายน ซึ่งจะอนุญาตให้ผู้ตรวจสอบธุรกรรมสามารถถอนเหรียญที่ถูกแช่แข็งจากการค้ำเงินไว้ ซึ่ง ณ ขณะนี้ ปริมาณเหรียญอยู่ที่ 18 ล้าน ETH หรือ 15% ของปริมาณรวมทั้งหมด
เพื่อเป็นการลดแรงกดดันที่อาจเกิดขึ้นต่อราคาและไม่สร้างภาระต่อเครือข่ายมากเกินไป ผู้ที่ต้องการถอนเงินคืนจะต้องถูกบีบให้ต้องรอคิว และปริมาณที่ถอนได้มากสุดต่อวันจำกัดที่ 2,200 ธุรกรรมหรือ 70k เหรียญ โดยมีความเป็นไปได้สูงที่คิวนี้จะยาวมาก และสาเหตุส่วนใหญ่มาจากหน่วยงานสหรัฐฯ ที่สร้างแรงกดดันต่อ Ethereum มากกว่า Bitcoin เช่น กรกะบวนการพิจารณาก่อนขึ้นศาลกับ Kraken และ Coinbase ที่จะปฏิเสธการวางเงินค้ำประกันและความต้องการของกลต. (SEC) ที่จะให้สถานะ ETH เป็นหลักทรัพย์ ปัจจัยทั้งหมดนี้ ถึงแม้ว่าจะมีฮาร์ดฟอร์กที่ใกล้เข้ามา แต่ก็ลดความน่าดึงดูดต่อสินทรัพย์สำหรับนักลงทุน และทำให้แนวโน้มของ Ethereum ดูกำกวมมาก นักเทรดและนักวิเคราะห์ชื่อดัง Benjamin Cowen เชื่อว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเข้าซื้อ Ethereum จะเป็นช่วงที่ ETH/BTC ขยับลงมาในกรอบ 0.03 ถึง 0.04 (ตอนนี้อยู่ที่ 0.067) โดยนักวิเคราะห์มั่นใจว่า เขาจะรอจนกว่าจะถึงตัวเลขดังกล่าว และเมื่อถึงตอนนั้นเขาถึงจะเริ่มทำการตัดสินใจลงทุนอย่างเหมาะสม
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ