บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 15 - 19 พฤษภาคม 2023

EUR/USD: เพราะอะไรดอลลาร์จึงแข็งค่าขึ้น

  • เราตั้งชื่อหัวข้อบทวิเคราะห์ฉบับที่แล้วว่า “ตลาดอยู่กลางสี่แยก” ในครั้งนี้ เราบอกได้แล้วว่าตลาดได้ทำการตัดสินใจในที่สุดและเลือกดอลลาร์ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยราคาเริ่มต้นที่ 1.1018 เมื่อวันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม โดย EUR/USD ขยับถึงจุดต่ำสุดในกรอบที่ 1.0848 เมื่อวันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม ที่น่าสนใจกก็คือ การเติบโตของดอลลาร์เกิดขึ้นแม้ว่าเศรษฐกิจจะสงบลง ไม่มีแม้แต่แนวโน้มการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯ หรือโอกาสการลดอัตราดอกเบี้ยที่จะมาหยุดเงินดอลลาร์ได้

    การชะลอตัวของเศรษฐกิจอเมริกันเห็นได้ชัดเจนจากแนวโน้มที่ลดลงของดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) มายังระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2021 ที่ 2.3% และการเพิ่มขึ้นยอดขอรับสวัสดิการว่างงานที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2021 ที่ 264K (เทียบกับตัวเลขคาดการณ์ที่ 245K และตัวเลขครั้งก่อนหน้า 242K) อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งวัดโดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ลดลง 4.9% รายปีในเดือนเมษายนจาก 5.0% ในเดือนมีนาคม (ตัวเลขคาดการณ์ที่ 5.0%) ในขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานรายเดือนคงที่ที่ระดับเดิมคือ 0.4%

    อาจดูเหมือนว่าสถานการณ์จะกระตุ้นให้ธนาคารเฟดสหรัฐฯ เริ่มผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน อย่างไรก็ดี จากคำแถลงล่าสุดของเจ้าหน้าที่ชี้ให้เห็นว่า ธนาคารกลางยังไม่ตั้งใจจะดำเนินการดังกล่าว เช่น Neel Kashkari ประธานธนาคารเฟดสาขามินนิอาโปลีสกล่าวว่า แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะผ่อนคลายลงเล็กน้อย แต่ยังคงสูงกว่าระดับเป้าหมายที่ 2% Kashkari เห็นด้วยว่าวิกฤติธนาคารอาจเป็นสาเหตุของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี เขาเชื่อว่าตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่งเพียงพอ

    ถัดจากความเห็นของประธานเฟดสาขามินนิอาโปลีสเป็นความเห็นจาก Michelle Bowman ผู้แทนธนาคารเฟด ผู้ยืนยันเช่นกันถึงความลังเลของธนาคารฯ ที่จะเปลี่ยนแปลงทิศทางนโยบายให้ผ่อนคลายมากขึ้น Bowman กล่าวว่า “อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงเกินไป” และ “อัตราดอกเบี้ยจะต้องถูกจำกัดอย่างเหมาะสมอยู่สักระยะหนึ่ง” นอกจากนี้ Bowman กล่าวเสริมว่า ยังไม่มีความแน่นอนว่านโยบายในปัจจุบันนั้น “จำกัดเพียงพอที่จะกดเงินเฟ้อลงได้” และหากอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงและตลาดแรงงานมีความรัดตัว การขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปก็น่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสม

    นักวิเคราะห์ได้ข้อสรุปที่คล้ายกัน เช่น ผู้เชี่ยวชาญจาก Commerzbank กล่าวว่า “แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวอย่างช้า ๆ แต่ยังอยู่สูงกว่าระดับเป้าหมาย ธนาคารเฟดจึงไม่น่าจะพิจารณาความเป็นไปได้ในการลดอัตราดอกเบี้ยในฤดูใบไม้ร่วงนี้”

    ตลาดตอบสนองต่อแนวโน้มการคงอัตราดอกเบี้ย (และอาจขึ้นดอกเบี้ยต่อ) ด้วยดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น การแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์อเมริกันอาจจะยิ่งรุนแรงกว่านี้ หากไม่ใช่เพราะวิกฤติธนาคารและปัญหาเรื่องเพดานหนี้รัฐบาลสหรัฐฯ

    ท่าทีสายเหยี่ยวมาจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งอาจจะช่วยพยุงยูโรและพลิกเทรนด์ EUR/USD กลับขึ้นมาได้ อย่างไรก็ดี หลังการประชุมของธนาคารกลางยุโรป ดูเหมือนว่าจุดสิ้นสุดลงนโยบายจำกัดทางการเงินใกล้เข้ามาแล้ว จึงค่อนข้างเป็นไปได้ที่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนจะเป็นครั้งสุดท้าย “ณ จุดนี้ ธนาคารกลางยุโรปจะเซอร์ไพรส์เราได้ด้วยท่าทีเชิงพิราบเท่านั้น ฝ่ายกระทิงยูโรควรเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งนี้" นักเศรษฐศาสตร์จาก Commerzbank กล่าวเตือน

    ราคาสุดท้ายของ EUR/USD อยู่ที่ 1.0849 ในส่วนแนวโน้มระยะใกล้ ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ในวันที่ 12 พฤษภาคม นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ (65%) เชื่อว่าดอลลาร์มีแรงซื้อมากเกินไป (overbought) และถึงเวลาที่ราคานี้จะต้องปรับฐานขึ้นมา มีเพียง 15% เท่านั้นที่คาดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น ในขณะที่ 20% มีท่าทีเป็นกลาง ในส่วนของการวิเคราะห์เชิงเทคนิค ออสซิลเลเตอร์บนกรอบ (D1) มี 90% ที่ให้สัญญาณสีแดง (แต่หนึ่งในสามของจำนวนนี้ให้สัญญาณ oversold) และมีสีเขียวแค่ 10% เท่านั้น ระดับแนวรับสำหรับคู่นี้อยู่ที่บริเวณ 1.0800-1.0835 ตามมาด้วย 1.0740-1.0760, 1.0675-1.0710, 1.0620 และ 1.0490-1.0530 ฝั่งกระทิงจะเจอกับแนวต้านที่บริเวณ 1.0865 ตามด้วยระดับ 1.0895–1.0925, 1.0985, 1.1090-1.1110, 1.1230, 1.1280, และ 1.1355-1.1390

    สัปดาห์ที่จะถึงนี้จะค่อนข้างเต็มไปด้วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ในวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม เราจะได้ทราบสถิติยอดค้าปลีกในสหรัฐฯ และดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของสถาบัน ZEW จากเยอรมนี ในวันเดียวกันนั้นยังมีการประกาศสถิติ GDP เบื้องต้นของยูโรโซนในไตรมาสที่ 1 ส่วนวันพุธที่ 17 พฤษภาคม จะมีการประกาศสถิติเงินเฟ้อ (CPI) ของยูโรโซน วันอังคารที่ 18 พฤษภาคมจะมีการรายงานสถิติจากสหรัฐฯ หลายชุด ได้แก่ อัตราว่างงาน ดัชนีกิจกรรมภาคการผลิต และตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ นอกจากนี้ คำแถลงของ Christine Lagarde ประธานธนาคารกลางยุโรปคาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 16 และ 19 พฤษภาคมนี้ และจะปิดท้ายสัปดาห์ด้วยคำแถลงของ Jerome Powell ประธานธนาคารเฟดสหรัฐฯ

GBP/USD: ธนาคารกลางอังกฤษและ GDP ทำให้นักลงทุนโกรธเคือง

  • ฝั่งกระทิงสามารถดันคู่ GBP/USD ขึ้นไปสูงขึ้นจนถึงวันพฤหัสบดี แม้ว่าการคาดการณ์จะชี้ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 จุดพื้นฐานในที่ประชุมวันที่ 11 พฤษภาคม นักลงทุนต่างหวังว่าจะได้เห็นปาฏิหารย์ ซึ่งไม่ใช่ที่ 25 แต่เป็น 50 จุด แต่ปาฏิหารย์กลับไม่เกิดขึ้น และจากราคาทำระดับสูงสุดที่ 1.2679 ราคาคู่นี้ก็กลับตัวและเริ่มขยับลดลง

    ราคาขยับลดลงจนถึงวันถัดมา ดอลลลาร์แข็งค่าขึ้นก็มีบทบาทสำคัญ และสถิติเบื้องต้นที่สับสนจาก GDP ของสหราชอาณาจักรยิ่งเพิ่มปัจจัยเชิงลบต่อตลาด เศรษฐกิจอังกฤษเติบโตขึ้น 0.1% ในไตรมาสที่ 1 ปี 2023 ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์โดยสมบูรณ์และตรงกับการเติบโตของไตรมาสที่ 4 ปี 2022 ในส่วน GDP รายปีนั้นเพิ่มขึ้นมา 0.2% ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นไปตามการคาดการณ์ แต่ก็ยังถือว่าต่ำกว่าตัวเลขก่อนหน้าที่ 0.6% อยู่มาก อย่างไรก็ดี ในส่วนของตัวเลขรายเดือน GDP มีการหดตัวอย่างไม่คาดคิดที่ -0.3% ในเดือนมีนาคมจากที่คาดการณ์คือ 0.1% และตัวเลขก่อนหน้าที่ 0.0% แม้ว่าจะมีทัศนคติเชิงบวกจากคำพูดของ Jeremy Hunt รัฐมนตรีการคลังสหราชอาณาจักรว่านี่เป็น “ข่าวดี” เพราะเศรษฐกิจกำลังเติบโตขึ้น มันไม่ช่วยเงินปอนด์แต่อย่างใด และเห็นได้ชัดเจนว่าการเติบโตนั้นเกิดขึ้นเฉพาะในเดือนมกราคมเท่านั้น ก่อนที่จะหยุดนิ่งในเดือนกุมภาพันธ์ และเริ่มหดตัวในเดือนมีนาคม

    นักเศรษฐศาสตร์จาก Commerzbank ตั้งข้อสังเกตว่าการไม่ตัดสินใจของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อเป็นปัจจัยเชิงลบต่อเงินปอนด์ “ข้อมูลในอนาคตจะเป็นสิ่งสำคัญต่อการตัดสินใจกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่อไปของ BoE” กล่าวโดย Commerzbank “หากเงินเฟ้อลดลงอย่างรวดเร็วอย่างเห็นได้ชัดตามที่คาดการณ์โดย BoE พวกเขาน่าจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ ซึ่งจะส่งแรงกดดันต่อเงินปอนด์”

    นักยุทธศาสตร์ที่ Internationale Nederlanden Groep (ING) เชื่อเช่นกันว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยวันที่ 11 พฤษภาคม อาจเป็นครั้งสุดท้าย อย่างไรก็ดี พวกเขากล่าวเสริมว่า “ธนาคารกลางอังกฤษอาจคงความยืดหยุ่นและเปิดประตูไว้ให้สามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อได้ หากเงินเฟ้อยังคงอยู่"

    ราคาที่ร่วงลงในวันที่ 11 และ 12 พฤษภาคมทำให้ GBP/USD หลุดจากแนวรับที่สำคัญคือ 1.2500 และปิดท้ายสัปดาห์ที่ 1.2447 อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญ 70% ชี้ว่าฝั่งกระทิงจะพยายามที่จะกลับขึ้นมายังระดับแนวรับนี้ 15% ที่เหลือเลี่ยงที่จะให้การคาดการณ์ และ 15% เชื่อว่า 1.2500 จะคงเป็นแนวต้านและกดราคาให้ลงต่อ ด้านออสซิลเลเตอร์บนกรอบ (D1) มี 60% ที่แนะนำให้ขาย  (ซึ่ง 15% ชี้ถึงสภาวะ oversold) 20% มีแนวโน้มที่จะเข้าซื้อ และ 20% เป็นกลาง ด้านอินดิเคเตอร์เทรนด์ สมดุลระหว่างสีแดงและสีเขียวค่อนข้างจะเท่ากันที่ 50%

    ระดับและโซนแนวรับของคู่นี้อยู่ที่ 1.2390-1.2420, 1.2330, 1.2275, 1.2200, 1.2145, 1.2075-1.2085, 1.2000-1.2025, 1.1960, 1.1900-1.1920 และ 1.1800-1.1840 ในกรณีที่ราคาขยับขึ้นด้านบน คู่นี้จะเจอกับแนวต้านที่ระดับ 1.2500, 1.2540, 1.2570, 1.2610-1.2635, 1.2675-1.2700, 1.2820 และ 1.2940

    เหตุการณ์ที่น่าสนใจในปฏิทินในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ ได้แก่ รายงานภาวะเงินเฟ้อที่จะประกาศในวันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม สถิติจากตลาดแรงงานอังกฤษในวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม และการกล่าวแถลงของ Andrew Bailey ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษในวันพุธที่ 17 พฤษภาคม

USD/JPY: เงินเยนเป็นที่หลบภัยจากพายุทางการเงิน

  • เงินเยนเป็นสกุลเงินที่ทำผลงานได้ย่ำแย่ที่สุดในตะกร้าสกุลเงิน DXY ในเดือนเมษายน USD/JPY พุ่งขึ้นมาที่ระดับ 137.77 จากคำแถลงที่เป็นสายพิราบสุดโต่งจาก Kadsuo Ueda ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นคนใหม่ อย่างไรก็ดี หลังจากนั้น เงินเยนก็สวมบทบาทเป็นที่หลบภัยจากวิกฤติธนาคารในสหรัฐฯ ทำให้ราคากลับทิศทางลงด้านล่าง

    ในส่วนของธนาคารกลางญี่ปุ่น Ueda กล่าวเมื่อวันอังคารที่ 9 พฤษภาคมว่า “ผลกระทบจากข่าวการล้มละลายล่าสุดของธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรปต่อระบบการเงินญี่ปุ่นน่าจะมีจำกัด” และ “สถาบันการเงินในญี่ปุ่นมีเงินสำรองเพียงพอ” คำยืนยันถึงเสถียรภาพของระบบการเงินประเทศยังกล่าวโดย Shunichi Suzuki รัฐมนตรีการคลังญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน

    นักยุทธศาสตร์จาก HSBC ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในอังกฤษยังคงเชื่อว่าเงินเยนญี่ปุ่นจะแข็งค่าขึ้นต่อ โดยได้รับผลจากสถานะ “ที่หลบภัย” ท่ามกลางวิกฤติธนาคารและประเด็นหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ การวิเคราะห์ของพวกเขาชี้ว่า เงินเยนอาจแข็งค่าขึ้นเช่นกันเนื่องด้วยการประเมินโดยธนาคารกลางญี่ปุ่นในขณะนี้นั้นไม่พิจารณาการเปลี่ยนแปลงในนโยบายการควบคุมอัตราผลตอบแทน (Yield Curve Control - YCC) และถึงแม้ว่ามันจะเกิดขึ้นล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย การเปลี่ยนแปลงในท่าทีของ BoJ อาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยเงินเฟ้อพื้นฐานในญี่ปุ่นที่คงตัวในเดือนมีนาคม และราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 41 ปีที่ 3.8% อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเปรียบเทียบระดับนี้กับตัวชี้วัดเดียวกันในสหรัฐฯ อียู หรือสหราชอาณาจักร มันก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะสรุปว่านี่เป็นปัญหาสำคัญ

    ในขณะที่นักวิเคราะห์จาก Societe Generale ธนาคารจากฝรั่งเศสเชื่อว่า เมื่อพิจารณาพฤติกรรมผลตอบแทน ความไม่แน่นอนทางการเมือง และแนวโน้มเศรษฐกิจ USD/JPY อาจ “ติดอยู่ในกรอบแคบ ๆ อยู่ระยะหนึ่ง” แต่ก็กล่าวด้วยว่า ความรู้สึกว่าดอลลาร์มีมูลค่าเกินจริงและความคาดหวังต่อท่าทีของธนาคารกลางญี่ปุ่นยังเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาอยู่ ความเข้าใจว่าการฟื้นตัวของเงินเยนเป็นเรื่องของการรอให้ธนาคารกลางดำเนินการยังคงอยู่

    การประชุมครั้งถัดไปของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีกำหนดวันที่ 16 มิถุนายน ตอนนั้นจึงจะมีความชัดเจนว่าตกลงจะมีการเปลี่ยนแปลงในนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นเกิดขึ้นหรือไม่

    ก่อนจะถึงวันนั้น อัตราแลกเปลี่ยน USD/JPY น่าจะขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ เป็นหลัก

    ราคาคู่นี้ปิดตลาดในสัปดาห์ที่แล้วที่ 130.72 ซึ่งหากพูดถึงแนวโน้มระยะใกล้ ความเห็นของนักวิเคราะห์มีดังนี้ ในเวลานี้ 75% โหวตว่าเงินเยนจะแข็งค่าขึ้น 15% ของผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์แนวโน้มขาขึ้น ในขณะที่จำนวนเดียวกันมีท่าทีเป็นกลาง ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บนกรอบรายวัน (D1) สมดุลเอนไปทางฝั่งดอลลาร์ ด้าน 65% ชี้แนวโน้มขาขึ้น 20% มีความเห็นเป็นกลาง และ 15% ที่เหลือชี้ไปยังขาลง ด้านอินดิเคเตอร์เทรนด์ 90% ให้สัญญาณสีเขียว โดยมีระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ในช่วงราคา 134.85-135.15 ตามมาด้วยระดับและโซนที่ 134.40, 133.60, 132.80-133.00, 132.00, 131.25, 130.50-130.60, 129.65, 128.00-128.15 และ 127.20 ด้านระดับและโซนแนวต้านอยู่ที่ 135.95-136.25, 137.50-137.75, 139.05 และ 140.60

    สำหรับการประกาศข่าวสำคัญทางเศรษฐกิจ GDP เบื้องต้นของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 1 ปี 2023 จะประกาศให้ทราบในวันพุธที่ 17 พฤษภาคม อย่างไรก็ดี ไม่คาดว่าจะมีข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญอื่น ๆ ที่จะประกาศจากฝั่งญี่ปุ่นในสัปดาห์ที่จะถึงนี้

คริปโตเคอเรนซี: บิทคอยน์คาดหวังกับวิกฤติธนาคาร

  • บิทคอยน์ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันเป็นเวลาแปดสัปดาห์ติดต่อกัน แต่ยังคงพยายามยืนให้อยู่ภายในโซนแนวรับ/แนวต้านที่สำคัญที่ $26,500 สัปดาห์ที่แล้วเป็นอีกครั้งที่ไม่ทำให้นักลงทุนยินดีนัก WhaleWire รายงานว่าค่าธรรมเนียมธุรกรรมในระบบนิเวศบิทคอยน์ถึงระดับสูงสุดของโลกเป็นครั้งที่สามในประวัติศาสตร์ (คล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นในปี 2017 และ 2021) ความเร็วของเครือข่ายโดยเฉลี่ยไม่เกิน 7 ธุรกรรมต่อวินาที ดังนั้น ผู้ที่ต้องการจะทำการโอนเงินจึงยิ่งเพิ่มปริมาณค่าธรรมเนียมธุรกรรมเพื่อเร่งความเร็วในการดำเนินการ ส่งผลให้ค่าธรรมเนียมเฉลี่ยในวันที่ 8 พฤษภาคมพุ่งขึ้นเป็น $31 ต่อธุรกรรม สิ่งนี้น่าเบื่อหน่ายสำหรับผู้ใช้งานมาก แต่เป็นเรื่องดีสำหรับนักขุดเหรียญ เพราะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2017 ที่ค่าธรรมเนียมสูงกว่าผลตอบแทนจากบล็อก

    ผู้ให้บริการบางรายอย่าง Binance ไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับสิ่งนี้และไม่ได้ปรับค่าธรรมเนียมทันเวลาสำหรับผู้ใช้งาน ธุรกรรมหลายแสนธุรกรรมจึงติดขัดอยู่ใน mempool เพื่อเป็นการเร่งขั้นตอน “การเคลียร์ริ่ง” Binance จึงระงับการถอนเงินสองครั้งและเพิ่มค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน สถานการณ์นี้ยิ่งรุนแรงขึ้นหลังจากทางการสหรัฐฯ เริ่มการสอบสวนแพลตฟอร์มดังกล่าว Bloomberg รายงานว่า ทางการสงสัยว่ามีการละเมิดมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเนื่องจากการรุกรานประเทศยูเครน

    ภาวะวิตกกังวลยิ่งเพิ่มขึ้นหลังจากข่าวแพลตฟอร์มคริปโต Bittrex ยื่นล้มละลายในวันเดียวกันคือวันที่ 8 พฤษภาคม (แม้ว่าขั้นตอนนี้คาดว่าจะส่งผลต่อสาขาในสหรัฐฯ เท่านั้น) ปัญหาที่ Binance และ Bittrex ประสบยิ่งเตือนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการทรุดลงของ FTX ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความกลัว ความไม่แน่นอน และข้อกังขาในหมู่ผู้เล่นในตลาดคริปโต และนำไปสู่จำนวนแอดเดรสที่มีความเคลื่อนไหวที่ลดลงต่ำสุดในรอบปี และราคาบิทคอยน์ร่วงลงท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว

    รูปแบบกราฟ "head and shoulders" กำลังก่อตัวขึ้นบนกราฟบิทคอยน์ในกรอบวัน นักเทรดและนักวิเคราะห์ที่มีชื่อสมมุติว่า Altcoin Sherpa ได้เสนอว่า ราคาบิทคอยน์อาจร่วงลงมาที่ $25,000 ซึ่งในความเห็นของเขา ราคาที่ระดับดังกล่าวตรงกับเส้น EMA 200 วัน และ Fibonacci ระดับที่ 0.382  ซึ่งเป็นระดับที่ราคาเคยทดสอบมาก่อนสองครั้งในฐานะแนวรับ/แนวต้าน อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญจาก CoinGape เน้นย้ำว่าปริมาณของบิทคอยน์บนแพลตฟอร์มที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ ยังคงมีโอกาสที่ราคาจะปรับฐานลึกลงไปที่ระดับ $24,000 ผู้เชี่ยวชาญยังกล่าวด้วยว่าระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2017 โดยระบุว่าการปรับฐานที่จะมาถึงอาจเป็นไปตามธรรมชาติ

    การแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์ในสัปดาห์ที่แล้วยังเป็นผลเสียต่อบิทคอยน์ อย่างไรก็ตาม ความหวังว่าวิกฤติธนาคารในสหรัฐฯ จะยังคงสนับสนุนตลาดดิจิทัลอยู่ ผู้ที่ชื่นชอบคริปโตหลายคนมองว่า บิทคอยน์เป็นที่หลบภัยและเป็นเครื่องสะสมมูลค่าที่คล้ายกันกับทองคำ จึงยิ่งช่วยปกป้องคุ้มครองเงิน

    นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดขึ้นโดยธนาคารเฟดลดมูลค่าสินทรัพย์บางชนิดในงบดุลของธนาคารและลดความต้องการในบริการธนาคาร ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่จะเกิดการบุกเบิกใหม่ ๆ ในภาคการเงินดั้งเดิม ธนาคารสหรัฐฯ สี่แห่ง (First Republic Bank, Silicon Valley Bank, Signature Bank และ Silvergate Bank) ได้ยื่นเรื่องล้มละลาย และอีกหลายแห่งกำลังเจอกับปัญหายากลำบาก ซึ่งผลสำรวจจาก Gallup เผยว่า ประชาชนชาวสหรัฐฯ กว่าครึ่งหนึ่งกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของเงินตนเองในบัญชีธนาคาร

    Robert Kiyosaki เจ้าของหนังสือเรื่อง Rich Dad, Poor Dad และนักเศรษฐศาสตร์มักจะกล่าวย้ำว่าเศรษฐกิจอเมริกันและเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาที่ยากลำบาก ในครั้งนี้ เขาบอกกับผู้ติดตามทาง Twitter 2.4 ล้านคนว่า ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ในหนึ่งเดือนชี้ให้เห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยกำลังใกล้เข้ามา “นี่หมายความว่าระบบการเงินโลกกำลังทรุดตัวลงหรือไม่?” “ดังนั้นตอนนี้โฟกัสอยู่ที่ทองคำ เงิน และบิทคอยน์” ทั้งนี้ Kiyosaki ทำนายด้วยว่าราคาบิทคอยน์อาจขยับขึ้นไปที่ $100,000 ในเร็ว ๆ นี้

    Michael Van de Poppe นักวิเคราะห์ นักเทรด และผู้ก่อตั้ง EightGlobal แพลตฟอร์มให้คำปรึกษา ได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาคธนาคารและตลาดคริปโต

    หุ้นบริษัทอเมริกันร่วงลง ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความพยายามของนาย Jerome Powell ประธานธนาคารเฟดที่จะนำความสงบมาสู่ตลาดการเงิน ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังคำถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ในวันที่ 3 พฤษภาคม หุ้นของบริษัทถือหุ้นธนาคาร PacWest Bancorp ร่วงลงเกือบ 58% และ Western Alliance ร่วงลงกว่า 28% สถาบันการเงินอื่น ๆ ในตลาดก็ประสบกับแนวโน้มขาลงที่คล้ายกัน เช่น Comerica (-10.06%), Zion Bancorp (-9.71%) และ KeyCorp (-6.93%)

    หากดูกราฟ 30 นาที Van de Poppe ชี้ให้เห็นว่าแม้ว่าหุ้นธนาคารจะมีราคาลดลง บิทคอยน์และทองคำกลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ผู้ก่อตั้ง EightGlobal ชี้ว่า ความไม่แน่นอนและความไว้ใจต่อคำแถลงของทางการนั้นเริ่มเห็นได้ชัดเจนขึ้นในหมู่นักธนาคาร ท่าทีดังกล่าวอาจนำไปสู่ปัญหาที่รุนแรงยิ่งขึ้นในตลาดการเงินและกระตุ้นให้เกิดการเติบโตสำหรับทั้งทองคำดิจิทัลและทองคำจริง ๆ

    Warren Buffett เศรษฐีพันล้านได้กล่าวในที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีของ Berkshire Hathaway ว่า เขาไม่เห็นคู่แข่งใดที่จะมาแทนที่ดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินสำรองของโลกได้ เขากล่าวว่า แม้ว่าผู้คนจะหมดศรัทธาในดอลลาร์ แต่ไม่ได้หมายความว่าบิทคอยน์จะกลายเป็นสกุลเงินสำรองของโลกได้ James Ryan ผู้ก่อตั้ง Six Sigma Black Belt ตอบในเรื่องนี้ว่า Buffett เองก็ไม่เชื่อในทองคำเช่นกัน เขาคิดว่า “โลหะมีค่าไม่ได้ผลิตอะไรและไม่ได้สร้างกระแสเงินสด”

    แต่ Warren Buffett อาจพูดถูกเกี่ยวกับทองคำ งานวิจัยโดย DocumentingBTC นักลงทุนที่หากได้ลงทุนเป็นเงิน $100 ในทองคำเมื่อสิบปีที่แล้ว ปัจจุบันจะมีเงินเพียง $134 ในบัญชี แต่หากพวกเขาลงทุนในทองคำดิจิทัล พวกเขาจะมีเงินถึง $25,600! ด้วยเหตุนี้เอง บิทคอยน์จึงถือว่าเป็นการลงทุนที่ดีที่สุดแห่งทศวรรษ

    อันดับที่สองคือหุ้น NVIDIA ที่ $8,599 และอันดับที่สามคือหุ้น Tesla - $4,475 นักลงทุน Apple จะได้รับเงินกำไร $1,208, Microsoft - $1,111, Netflix - $1,040, Amazon - $830, Facebook - $818 และหากซื้อหุ้น Google ด้วยเงินดังกล่าว นักลงทุนจะมีเงินในบัญชีในปัจจุบันคือ $504

    เพื่อเติมความหวังให้กับแฟน ๆ บิทคอยน์ ในทางเทคนิคนั้น บิทคอยน์จะต้องขยับขึ้นไปเหนือ $28,900 เพื่อทดสอบระดับ $30,400 และยืนให้อยู่เหนือระดับที่ $31,000 อย่างไรก็ดี ณ ขณะที่เขียนรีวิวฉบับนี้ในวันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม BTC/USD บิทคอยน์มีราคาซื้อขายอยู่ที่ $26,415 โดยมูลค่ารวมตามราคาตลาดคริปโตอยู่ที่ $1.108 ล้านล้านดอลลาร์ ($1.219 ในสัปดาห์ที่แล้ว) ด้านดัชนี Crypto Fear & Greed Index ได้ขยับลดลงจาก 61 เหลือเป็น 49 จุดในช่วงเจ็ดวันที่ผ่านมา โดยขยับจากโซนความโลภ (Greed) ลงมายังโซนตรงกลาง (Neutral)

 

กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้

กลับ กลับ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายคุกกี้ ของเรา