EUR/USD: เพราะอะไรดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง
- เราตั้งชื่อหัวข้อบทวิเคราะห์ฉบับที่แล้วว่า “เพราะอะไรดอลลาร์จึงแข็งค่าขึ้น” และอธิบายสาเหตุที่ดอลลาร์แข็งค่า ซึ่งหัวข้อยังคงตรงกับบทวิเคราะห์ฉบับนี้คือ “เพราะอะไรดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง” และเราจะมาตอบคำถามนี้กัน
ดัชนีดอลลาร์ DXY ขยับขึ้นมาตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมาถึงระดับ 103.485 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2023 สิ่งนี้สอดคล้องกับความเป็นไปได้ที่สูงขึ้ที่จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยรอบใหม่ในการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ของธนาคารเฟดที่จะมาถึงในวันที่ 14 มิถุนายนนี้
โอกาสการผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ อาจกระทบต่อนโยบายสายเหยี่ยว (นโยบายแบบเข้มงวดทางการเงิน) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ธนาคารเฟดได้พัฒนาระบบมาตรการต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2011 เพื่อรับมือกับผลกระทบของพันธะหนี้สินรัฐบาลของสหรัฐฯ อันดับที่สองและที่สำคัญที่สุด มีความเป็นไปได้น้อยที่พวกเขาจะกลับไปใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณดังกล่าว (QE) ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้แสดงความเชื่อมั่นในการบรรลุข้อตกลงกับพรรครีพับลิคกัน นอกจากนี้ Kevin McCarthy โฆษกพรรครีพับลิคกันยังได้ยืนยันด้วยว่าจะมีการลงคะแนนเสียงเรื่องเพดานหนี้สาธารณะในสัปดาห์หน้า
ตลาดตอบสนองต่อข่าวนี้ด้วยทัศนคติที่ดีและความเชื่อมั่นว่า วิกฤติเศรษฐกิจและตลาดอาจพลิกกลับได้ ซึ่งไม่ช่วยแค่กระตุ้นเงินดอลลาร์แต่รวมถึงตลาดหุ้น S&P500, Dow Jones และ Nasdaq (ทั้งนี้ โอกาสที่สิ่งเหล่านี้จะเกิดพร้อมกันเป็นสถานการณ์ที่พบไม่บ่อย) โอกาสการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 5.5% จึงเพิ่มขึ้นเป็น 33% (เดิมโอกาสอยู่ที่ 0% เมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคม)
Lorie Logan ประธานธนาคารเฟด (FRB) สาขาดัลลาสและ James Bullard ประธานสาขาเซนต์หลุยส์เตรียมลงคะแนนเสียงให้มีการใช้มาตรการเข้มงวดทางการเงิน ด้าน Raphael Bostic ประธาน FRB สาขาแอตแลนตายังไม่ตัดโอกาสที่หลังจากการหยุดพักในเดือนมิถุนายน อัตราดอกเบี้ยอาจถูกปรับขึ้นในการประชุมเดือนกรกฎาคม ส่วน Neil Kashkari ประธาน FRB สาขามินนิอาโปลีสก็ให้ท่าทีสายเหยี่ยวเช่นกัน เขาเห็นด้วยว่าวิกฤติธนาคารอาจเป็นสาเหตุของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของเขา ตลาดแรงงานยังคงค่อนข้างแข็งแกร่ง แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอ่อนกำลังลงบ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังเกินระดับเป้าหมายที่ 2.0% ดังนั้น ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงการผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน
EUR/USD ร่วงลงมาที่ระดับ 1.0760 เมื่อวันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม หลังจากแนวโน้มขาลงหยุดลง แนวโน้มดังกล่าวเป็นผลมาจากคำพูดของ Christine Lagarde ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) เธอกล่าวว่า ECB “จะทำการตัดสินใจอย่างชัดเจนเพื่อกดเงินเฟ้อกลับไปที่ 2%” คล้ายกันกับธนาคารเฟด แน่นอนว่าการดำเนินการดังกล่าวจะต้องอาศัยการเพิ่มมาตรการความเข้มงวดในนโยบายสินเชื่อและนโยบายทางการเงิน (QT) และการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเงินเฟ้อ (CPI) ในยูโรโซนยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง สถิติที่ประกาศเมื่อวันพุธที่ 17 มีนาคมชี้ให้เห็นว่า ดัชนีรายปีเพิ่มขึ้นในรอบเดือนจาก 6.9% เป็น 7.0%
นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารด้านการลงทุน TD Securities (TDS) ของแคนาดาเชื่อว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของยูโรจะเพิ่มขึ้นจากระดับปัจจุบันที่ 3.25% เป็น 4.00% ภายในเดือนกันยายนและจะคงที่ที่ระดับนี้ไปจนถึงกลางปี 2024 หลังจากดอกเบี้ยขึ้น 75 จุดพื้นฐาน (bpis) อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 4.5%
ภาพรวมบทวิเคราะห์ของสัปดาห์ที่แล้วจะไม่สมบูรณ์หากปราศจากส่วนสุดท้ายที่ตั้งเป็นชื่อหัวข้อว่า “เพราะอะไรดอลลาร์จึงร่วงลง” สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม เนื่องด้วยธนาคารเฟดเช่นเคย ซึ่งก็คือคำพูดของนาย Jerome POwell ประธานธนาคารเฟด ในวันดังกล่าว เขากล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าเป้าหมายมาก ซึ่งได้สร้างอุปสรรคที่สำคัญ และดังนั้น เงินเฟ้อจะต้องถูกกดลงมาที่ 2% คำกล่าวนี้ไม่ส่งผลต่อผู้เล่นในตลาด เพราะมันเป็นตามความคาดหวังของพวกเขา แต่การแถลงครั้งที่สองในช่วงท้ายสัปดาห์ เขากล่าวคำพูดที่ช็อคตลาดว่า วิกฤติธนาคารล่าสุด ซึ่งทำให้มาตรฐานการให้สินเชื่อเข้มงวดขึ้นยิ่งลดความจำเป็นในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย “อัตราดอกเบี้ยของเราอาจไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นอย่างที่เราต้องการ” เขากล่าวและเสริมด้วยว่า “ตลาดเก็งกำไรสถานการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยไว้ต่างๆ นานา มากกว่าที่ธนาคารเฟดเองคาดการณ์ไว้"
หลังจากคำพูดดังกล่าว EUR/USD ก็ทะยานขึ้นและปิดท้ายสัปดาห์ที่แล้วที่ระดับ 1.0805 ในส่วนของอนาคตอันใกล้ ในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ ภาพรวมคือนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ (55%) คาดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นต่อไป การปรับฐานขาขึ้นเป็นที่คาดการณ์โดย 30% และ 15% ที่เหลือมีท่าทีเป็นกลาง ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 100% ให้สัญญาณสีแดง (แต่หนึ่งในสี่ให้สัญญาณว่าราคาอยู่ในโซน oversold แล้ว) ในส่วนของอินดิเคเตอร์เทรนด์ 75% ชี้ไปทางทิศใต้ และ 25% ชี้ไปยังทิศเหนือ ด้านแนวรับที่ใกล้ที่สุดของคู่นี้อยู่ที่บริเวณ 1.0740-1.0760 ตามมาด้วยโซนและระดับที่ 1.0680-1.0710, 1.0620 และ 1.0490-1.0525 ฝั่งกระทิงจะเจอกับแนวต้านที่บริเวณ 1.0820-1.0835 จากนั้นคือ 1.0865, 1.0895-1.0925, 1.0985, 1.1045, 1.1090-1.1110, 1.1230, 1.1280 และ 1.1355-1.1390
กิจกรรมที่น่าสนใจในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ ได้แก่ การประกาศดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจของเยอรมนี (PMI) และดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจ (IFO) ในวันที่ 23 และ 24 พฤษภาคม ตามลำดับ นอกจากนี้จะมีการประกาศผลการประชุมของคณะกรรมการ FOMC ครั้งล่าสุดในวันพุธที่ 24 พฤษภาคม เราจะได้ทราบดัชนี GDP เยอรมนี และของสหรัฐฯ (ตัวเลขเบื้องต้น) ไตรมาส 1 ปี 2023 รวมถึงสถิติจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม และส่งท้ายสัปดาห์ด้วยดัชนีสินค้าคงทนพื้นฐานของสหรัฐฯ และค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคลในวันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม
GBP/USD: BoE ให้สัญญาณพลิกกลับมาสายพิราบ
- การดิ่งลงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 และ 12 พฤษภาคมของ GBP/USD ไม่สามารถคงราคาไว้เหนือระดับแนวรับที่สำคัญคือ 1.2500 ได้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาวันที่ 18 พฤษภาคม โดยราคาขยับถึงระดับแนวรับที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน แต่ไม่สามารถหลุดแนวรับดังกล่าวได้ หลังจากพยายามอยู่หลายครั้ง ราคาก็ร่วงลงมาที่ต่ำกว่า 1.2391 และกลับตัว ก่อนที่จะขึ้นทิศเหนือและปิดท้ายสัปดาห์ที่ 1.2445
เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรในปัจจุบันดูไม่ค่อยดูนัก ระดับเงินเฟ้อยังคงเป็นตัวเลขสองหลัก และสภาวะเงินเฟ้อโดยรวมชะลอตัวในช่วงหนึ่งเดือนจาก 10.4% เป็น 10.1% แต่เงินเฟ้อในค่าอาหารนั้นพุ่งสูงขึ้น ถึง 19.1% และอาจขึ้นต่อเนื่อง.
ในเรื่องของการล้มละลาย สหราชอาณาจักรติดอันดับสามของโลกในเดือนมีนาคม ตามหลังสวิตเซอร์แลนด์และฮ่องกง นอกจากนี้ คลื่นสภาพคล่องที่ถูกกำจัดอาจนำไปสู่สถานการณ์พายุสึนามิแบบเต็มรูปแบบได้ เนื่องจากโปรแกรมการเยียวยาค่าไฟฟ้าสิ้นสุดลง และแม้ว่ารัฐบาลจะไม่ขยายเวลาต่อ ธุรกิจอีกหลายแห่งจะปิดตัวลงภายใต้กฎหมายใหม่เหล่านี้ สิ่งเดียวที่ช่วยให้พอใจชื้นขึ้นบ้างคือ สัดส่วนของอุตสาหกรรมใน GDP ประเทศนั้นต่ำกว่า 20% โดยภาคบริการ ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่ามากคิดเป็น 75% ของ GDP
เงินปอนด์ได้รับแรงหนุนจากมาตรการที่เข้มงวดขึ้นของนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาคำแถลงล่าสุดของผู้บริหาร วัฎจักรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยกำลังมาสู่จุดสิ้นสุด โดยน่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน Dave Ramsden รองผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษได้กล่าวต่อหน้าคณะกรรมการด้านการคลังของรัฐสภาอังกฤษว่า แม้ว่ามาตรการเข้มงวดเชิงปริมาณ (QT) จะมีผลต่อเศรษฐกิจอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากพอ Ben Broadbent รองผู้ว่าการอีกท่านหนึ่งได้ประกาศว่าจะลดปริมาณมาตรการ QT ลงเพื่อให้ส่งผลต่อสภาพคล่องในตลาด แต่เขาพูดถึงเฉพาะปริมาณการขายพันธบัตรเท่านั้น แต่ทิศทางการเคลื่อนที่โดยรวมยังคงชัดเจนอยู่
นักยุทธศาสตร์ Commerzbank เชื่ออย่างชัดเจนว่า การลังเลของ BoE ในการต่อสู้กับเงินเฟ้อกำลังส่งแรงกดดันอย่างรุนแรงต่อเงินปอนด์ ผู้เชี่ยวชาญจากธนาคาร Internationale Nederlanden Groep (ING) พูดถึงโอกาสที่ธนาคารกลางอังกฤษจะยังคงท่าทีสายเหยี่ยวต่อไป ซึ่ง GBP/USD อาจขยับถึงระดับ 1.3300 ภายในสิ้นปี แต่ธนาคารจะคงท่าทีดังกล่าวหรือไม่?
ในขณะนี้ หากเราพูดถึงแนวโน้มระยะใกล้ของคู่นี้ ผู้เชี่ยวชาญ 35% ยังคงมุมมองตลาดกระทิง 55% ชี้ถึงตลาดหมี และ 10% ที่เหลือ หลีกเลี่ยงจากการคาดการณ์ใด ๆ ในส่วนของออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 75% แนะนำให้ขาย (20% ชี้ว่าราคาอยู่ในโซน oversold) ส่วน 10% แนะนำให้ซื้อและ 15% ให้สีเทากลาง อินดิเคเตอร์เทรนด์ให้ผลเหมือนในสัปดาห์ที่แล้วคือ 50 ต่อ 50% ระหว่างฝั่งสีเขียวและสีแดง ด้านระดับและโซนแนวรับของคู่นี้คือ 1.2390-1.2420, 1.2330, 1.2275, 1.2200, 1.2145, 1.2075-1.2085, 1.2000-1,2025, 1.1960, 1.1900-1.1920, 1.1800-1.1840 และถ้าราคาขยับขึ้นทิศเหนือจะเจอกับแนวต้านที่ระดับ 1.2480, 1.2510, 1.2540, 1.2570, 1.2610-1.2635, 1.2675-1.2700, 1.2820 และ 1.2940
ในส่วนของกิจกรรมสำคัญในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ในปฏิทินเศรษฐกิจ ได้แก่ วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม ที่จะมีการประกาศสถิติกิจกรรมทางธุรกิจ (PMI) จากหลายภาคเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ในวันถัดมาจะมีการประกาหนึ่งในดัชนีหลักที่บ่งบอกระดับเงินเฟ้อ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ตามมาด้วยการแถลงข่าวโดยนาย Andrew Bailey ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ และดัชนีค้าปลีกจะปิดท้ายในวันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม
USD/JPY: เงินเยนถูกทุบ
- ในเดือนเมษายน เงินเยนเป็นสกุลเงินที่ย่ำแย่ที่สุดในตะกร้าสกุลเงิน DXY ท่าทีสายพิราบสุดโต่งจากนาย Kazuo Ueda ผู้ว่าการคนใหม่ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ทำให้ราคาพุ่งขึ้นไปที่ 137.77 ในวันที่ 2 พฤษภาคม หลังจากนั้น วิกฤติธนาคารในสหรัฐฯ ก็เข้ามาช่วยพยุงเงินเยนไว้ และทำหน้าที่สินทรัพย์ปลอดภัย และพาราคากลับลงมา แต่ก็ไม่นานนัก…
เป็นอีกครั้งที่ Ueda สร้างแรงสะเทือนต่อเงินเยน เมื่อให้ความเห็นต่อรายงานเงินเฟ้อของญี่ปุ่น เขากล่าวว่า “สถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในปัจจุบันเป็นเพราะปัจจัยภายนอก และต้นทุนที่สูงขึ้น ไม่ใช่ความต้องการที่แข็งค่าขึ้น” และ “อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นน่าจะชะลอตัวต่ำกว่า 2% ในช่วงกลายปีงบประมาณปัจจุบัน” และ “โนยบายการเงินแบบเข้มงวดจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ” เงินเยนยังได้รับผลกระทบจากสถิติ GDP ของญี่ปุ่นที่ประกาศเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นร่วงลงในไตรมาสที่สามและสี่ปี 2022 หลังจากนั้นในไตรมาสแรกของปี 2023 สถิติเพิ่มขึ้น 1.6% ปีต่อปี
ดังนั้น หากเงินเฟ้อลดลงต่ำกว่า 2.0% ภายในกลางปี GDP เติบโตขึ้น แล้วทำไมธนาคารกลางจะต้องเปลี่ยนแปลงทุกอย่างในนโยบายการเงินและขึ้นอัตราดอกเบี้ย? ก็ปล่อยให้มันอยู่ระดับติดลบที่ -0.1% ซึ่งเป็นสิ่งที่ตลาดคาดคิดไว้และพาเงินให้จมดิ่ง และคู่ USD/JPY จึงทะยานขึ้น ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ราคาทำระดับสูงสุดในรอบหกเดือนที่ 138.74 ในวันที่ 8 พฤษภาคม คำพูดของประธานเฟดในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม ทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าและราคาปิดตลาดที่ระดับ 137.93
แน่นอนว่าการต่อสู้นี้คงเป็นไปไม่ได้ หากดอลลาร์ไม่แข็งค่าขึ้นพร้อมกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นที่ทราบกันดีว่าพันธบัตรชุดสิบปีและ USD/JPY มีความสัมพันธ์ต่อกันแบบแปรผันตรง หากผลตอบแทนของพันธบัตรเพิ่มขึ้น ราคาคู่นี้ก็จะเพิ่มขึ้น และในสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางอารมณ์สายเหยี่ยวของธนาคารเฟด ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมา 8% อีกหนึ่งข่าวที่ไม่ค่อยดูสดใสนักจากญี่ปุ่นก็คือ สถิติจาก SWIFT ชี้ว่าในเดือนเมษายน การใช้งานดอลลาร์ในการชำระเงินข้ามพรมแดนเพิ่มขึ้นจาก 41.74% เป็น 42.71% ในขณะที่สัดส่วนของเงินเยนลดลงมาจาก 4.78% เหลือ 3.51%
ในส่วนของแนวโน้มระยะใกล้สำหรับ USD/JPY ผลคะแนนของนักวิเคราะห์แบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้ ในขณะนี้นักวิเคราะห์ 35% โหวตให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 45% คาดว่าราคาจะทะยานขึ้นไปบนดวงจันทร์ 20% มีท่าทีเป็นกลาง ในส่วนของอินดิเคเตอร์บนกรอบ D1 ฝั่งที่ได้เปรียบอย่างชัดเจนคือดอลลาร์ โดยอินดิเคเตอร์เทรนด์ 100% และออสซิลเลเตอร์ชี้ไปยังทิศเหนือ (แต่ในกลุ่มหลักมี 20% ที่ให้สัญญาณว่าราคาอยู่ในโซน overbought) ระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ในโซน 137.30-137.50 ตามมาด้วยระดับและโซนที่ 136.70, 135.95-136.30, 134.85-135.15, 134.40, 133.60, 132.80-133.00, 132.00, 131.25, 130.50-130.60, 129.65, 128.00-128.15 และ 127.20 และแนวต้านที่ใกล้ที่สุดคือ 138.30-138.75 จากนั้นฝั่งกระทิงจะต้องฝ่าอุปสรรคขวางกั้นที่ระดับ 139.05, 139.60, 140.60, 142.25, 143.50 และ 144.90-145.10
ในสัปดาห์หน้าที่จะถึงนี้ไม่มีการประกาศข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญใด ๆ จากฝั่งญี่ปุ่น
คริปโตเคอเรนซี: บิทคอยน์ไม่มีแผนว่าจะถอยหลัง
- บิทคอยน์อยู่ภายใต้แรงกดดันจากฝั่งผู้ขายเป็นเวลาเก้าสัปดาห์ติดต่อกัน อย่างไรก็ตามแม้จะเกิดอุปสรรค ราคายังสามารถยืนหนักแนวรับที่สำคัญในโซน $26,500 ได้อยู่ โดยราคาไม่ตกลงมาต่ำกว่า $25,000 การโจมตีของฝั่งหมีที่เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคมนั้นล้มเหลว หลังากราคาร่วงลงมาที่ $25,800 BTC/USD กลับทิศทางและขยับขึ้นระดับสูงสุดในกรอบที่ $27,656 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนเชื่อว่า นักลงทุนดูอยากจะเข้าซื้อ แต่ยังไม่มีแรงกระตุ้นให้กับฝั่งกระทิง ตลาดกำลังโฟกัสกับแนวโน้มการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯ ในวันที่ 1 มิถุนายนี้ ซึ่งทำให้พวกเขาหลีกเลี่ยงที่จะทำกิจกรรมที่สำคัญใด ๆ ในขณะเดียวกันก็เกิดสถานการณ์ไม่ปกติที่ทั้งดัชนีดอลลาร์ (DXY) และดัชนีหุ้นขยับขึ้นพร้อมกัน ความต้องการในความเสี่ยงของนักลงทุนแน่นอนว่าช่วยให้แรงหนุนกับตลาดคริปโต
ผลการสำรวจโดย Bloomberg ชี้ว่าในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้ นักลงทุนมืออาชีพ 7.8% และนักลงทุนราย่อย 11.3% จะเลือกบิทคอยน์เป็นสินทรัพย์หลบภัย ในขณะที่ 7.8% และ 10.2% จะหันเข้าหาดอลลาร์ตามลำดับ
ทองคำติดอันดับสูงสุดในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย แม้ว่าราคาทองคำ ณ ปัจจุบันจะใกล้ระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ ($2,000 ต่อทรอยออนซ์) ก็ตาม นักลงทุนที่ตอบแบบสำรวจกว่าครึ่งหนึ่งจากทั้งสองกลุ่มเลือกทองคำ รายงานนี้ยังไฮไลต์ประเด็นการขาดแคลนทางเลือกในการรับประกันความเสี่ยงจากทองคำ ณ ขณะนี้
พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ติดอันดับสองในฐานะสินทรัพย์ยอดนิยมมากที่สุด ผู้ตอบแบบสำรวจ 14-15% เลือกจะซื้อพันธบัตร ซึ่งบรรดานักเขียนคิดว่ามันมีความย้อนแย้ง เพราะว่าสินทรัพย์ที่เป็นหนี้สินเหล่านี้เองที่อาจเป็นส่วนหนึ่งของการผิดนัดชำระหนี้ได้ ส่วนบิทคอยน์ตามมาเป็นอันดับ ตามมาด้วยดอลลาร์สหรัฐ เงินเยนญี่ปุ่น และฟรังก์สวิส
การอภิปรายในสภาคองเกรสสหรัฐฯ เกี่ยวกับเพดานนี้สาธารณะเป็นประเด็นที่ค่อนข้างน่าเบื่อในสัปดาห์ที่แล้ว คำพูดของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ต่อเรื่องเพดาน (และ “พื้นด้านล่าง”) ของบิทคอยน์ก็ดูเฉื่อยและไม่แน่นอนพอ ๆ กัน เช่น Chamath Palihapitiya เศรษฐีพันล้านและนักลงทุนกล่าวว่า การอ่อนค่าลงของดอลลาร์จริง ๆ แล้วช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ความเห็นจากนักลงทุนท่านนี้ชี้ว่า การครองตลาดของดอลลาร์ในเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่ในระยะยาว รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่น่าจะสามารถหลีกเลี่ยงการอ่อนค่าลงของดอลลาร์ได้ แต่เขาเชื่อว่า วิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับแนวโน้มนี้คือการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่น หุ้น และคริปโตเคอเรนซี
Paul Tudor Jones ประธานเฮดจ์ฟันด์ Tudor Investment Corporation และผู้สนับสนุนการลงทุนในบิทคอยน์มาอย่างต่อเนื่องได้กล่าวว่า บิทคอยน์มีความน่าดึงดูดน้อยลงในสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจและเงื่อนไขกฎระเบียบในปัจจุบัน เขาตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้บิทคอยน์ “มีปัญหาที่แท้จริง เพราะสหรัฐฯ โดยเฉพาะหน่วยงานกำกับทั้งมวลนั้นต่อต้านคริปโตเคอเรนซี”
นอกจากนี้ เศรษฐีพันล้านคาดหวังว่าเงินเฟ้อจะลดลงในสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้การป้องกันความเสี่ยงจากเงินคริปโตน่าดึงดูดน้อยลง บิทคอยน์มักถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ Paul Tudor Jones เองยังคงถือบิทคอยน์จำนวนไม่มากไว้ และไม่มีแผนที่จะขายคริปโตแม้แต่ในอนาคตอันไกล อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ เขาเคยวางแผนไว้ว่าจะลงทุนสูงสุด 5% ของทรัพย์สินของเขาในบิทคอยน์ แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้เขากลับล้มเลิกแผนการดังกล่าวแล้ว
Mark Yusko ผู้ก่อตั้งและซีอีโอกองทุนเฮดจ์ฟันด์คริปโต Morgan Creek Digital ได้ยืนยันคำคาดการณ์ของเขาต่อแนวโน้มขาขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล เขาเชื่อว่า “ฤดูร้อนคริปโต” น่าจะเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งบิทคอยน์อาจทะลุเพราะว่าเกิดรูปแบบการกลับตัวทางเทคนิคบนกราฟ “หากคุณดูกราฟ (เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2022) คุณจะเห็นรูปแบบ head and shoulders แบบกลับหัวอย่างชัดเจนที่ระดับ $27,000” Yusko กล่าว "มันเป็นรูปแบบเชิงเทคนิคที่น่าสนใจจริง ๆ และคุณรู้ไหม ฉันคิดว่าเราจะได้เห็นข่าวดีที่จะช่วยกระตุ้นมันขึ้นมา”
(เกี่ยวกับเรื่องความจำเป็นที่ต้องมีข่าวดี เราก็คงต้องเห็นด้วยกับ Mark Yusko แต่ถ้าคุณดูที่กราฟตั้งแต่ช่วงวันที่ 17-18 มีนาคม 2023 รูปทรง head and shoulders จะชี้ไปยังทิศทางที่ตรงกันข้าม)
Glassnode คาดหวังให้ช่วงฤดูร้อนเดือนแรกมาถึงเช่นกัน "เรา“มั่นใจในเป้าหมายระยะกลางที่ $35,000 เมื่อแรงกดดันภายนอกผ่อนคลายลง” “ธนาคารเฟดจะหยุดพักการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ซึ่งเวลาที่ดีที่สุดสำหรับขาขึ้น (ของบิทคอยน์) คือช่วงฤดูร้อน ซึ่งดัชนีดอลลาร์ได้ตัดลงจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่สำคัญ แนวโน้มขาขึ้นแบบระเบิดรออยู่ข้างหน้า” อธิบายโดยนักวิเคราะห์
แม้ว่าฤดูร้อนกำลังใกล้เข้ามา แต่มันก็ยังมาไม่ถึง ณ วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม BTC/USD กำลังซื้อขายอยู่ที่ $26,850 โดยมูลค่ารวมในตลาดคริปโตอยู่ที่ $1.126 ล้านล้านดอลลาร์ ($1.108 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) ด้านดัชนี Crypto Fear & Greed Index ยังคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงในรอบเจ็ดวันที่ผ่านและอยู่ในโซนตรงกลางที่ 48 จุด (49 จุดเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า)
เพื่อเป็นการส่งท้ายบทวิเคราะห์และสร้างสีสันให้กับตลาดคริปโตเล็กน้อย เราจะมาพูดถึงกระแส การถกเถียงที่ผุดขึ้นมาในโลกออนไลน์เกี่ยวกับธุรกรรมซื้อขายแรกด้วย BTC ผลปรากฏว่าพิซซ่าในตำนานอาจไม่ใช่การซื้อขายที่เกิดขึ้นจริง มีการค้นพบว่าในปี 2010 ผู้ใช้งานชื่อ Sabunir พยายามลองขายรูป JPEG เป็นเงิน 500 บิทคอยน์ในปี 2010 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ $1 ในขณะนั้น โดยปรากฏหลักฐานเป็นภาพหน้าจอพร้อมลงวันที่ 24 มกราคม 2010 สี่เดือนก่อนที่นาย Laszlo Hanyecz จะซื้อบิทคอยน์สองถาดด้วยราคา 10,000 BTC นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวอ้างว่า ผู้ใช้งานที่มีชื่อว่า Satoshi Nakamoto ยังพยายามที่จะเข้าร่วมในธุรกรรมนี้ด้วย
แต่ความสงสัยยังปรากฏอยู่ว่ามันเป็นความพยายามขายหรือมีธุรกรรมที่เกิดขึ้นจริง ๆ เพื่อตอบโจทย์ข้อนี้ Matt Lohstroh ผู้ร่วมก่อตั้ง Gige Energy จึงตัดสินใจทำการสืบสวนด้วยตนเอง ผลปรากฏว่าธุรกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ข้อมูลบนเครือข่ายระบุว่า 500 BTC (ประมาณ $13.3 ล้านดอลลาร์ ณ ราคาปัจจุบัน) เคยโอนไปยังวอลเล็ตของ Sabunir เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2010 ซึ่งหมายความว่ารูปภาพนี้เป็นสินค้าชิ้นแรกที่ถูกซื้อด้วย BTC
ถ้าอย่างนั้น แทนที่เราจะเฉลิมฉลองวันพิซซ่าที่ 22 พฤษภาคม แฟน ๆ คริปโตควรจะฉลองวันที่ 24 มกราคมเป็นวันรูป JPEG มากกว่าหรือไม่? แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับร้านพิซซ่าที่ชื่อ "Bitcoin Pizza" ที่เป็นของผู้ร่วมก่อตั้ง Morgan Creek นาย Anthony Pompliano? คุณคงต้องเห็นด้วยว่า “JPEG Pizza” คงฟังดูไม่ค่อยน่าทานเท่าไรนัก
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
กลับ กลับ