จุด (point) เป็นหลักการที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการคำนวณผลกำไรและขาดทุนที่เกิดขึ้นได้ในตลาดการเงิน ในการทำธุรกรรม คุณจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจอย่างชัดเจนว่า หนึ่งจุดมีค่าเท่าไร และเงินฝากของคุณจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรในกรณีที่ราคาขยับไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เช่น 50 หรือ 100 จุด สิ่งนี้ส่งผลต่อทั้งการเลือกคู่สกุลเงินและกลยุทธ์การเทรด รวมถึงการกำหนดปริมาณของแต่ละธุรกรรม ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ การตั้งค่าคำสั่ง Stop Loss และ Take Profit สิ่งสำคัญคือการทราบมูลค่าของจุดเพื่อคำนวณค่าสเปรด เพื่อทำความเข้าใจว่าคุณจะทำกำไรหรือขาดทุนได้เท่าไรเนื่องด้วยค่าสวอป อีกทั้งว่า Margin Call และ Stop Out จะเกิดขึ้นได้เมื่อไร
โดยทั่วไปแล้ว จุดคือสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการบริหารจัดการเงิน
จุดคืออะไรในฟอเร็กซ์
สกุลเงินมาตรฐานและที่ใช้ฝากเงินบ่อยมากที่สุดของนักเทรดคือ ดอลลาร์สหรัฐ และโดยหลักแล้ว เราจะต้องทราบว่าหนึ่งจุดมีค่าเท่าไรในสกุลเงิน USD นี่เป็นวิธีเดียวที่เราสามารถทำความเข้าใจว่าการผันผวนของราคาจะส่งผลต่อยอดเงินคงเหลือในบัญชีซื้อขายของเราอย่างไร ถึงแม้ว่าการคำนวณค่าต่าง ๆ ของคู่ฟอเร็กซ์อย่าง EUR/USD จะทำได้ค่อนข้างง่าย การคำนวณค่าสเปรดหรือค่าสวอปเป็นเงินดอลลาร์สำหรับคู่อื่น ๆ เช่น NZD/CHF นั้นทำได้ยากกว่า เพราะมีความแตกต่างกันระหว่างค่าต่าง ๆ หลายตัว
1. ช่วงแรกในตลาดฟอเร็กซ์ ราคาอ้างอิง (quotes) นั้นเคยถูกกำหนดจากตัวเลขสี่หลัก (1.0000) เป็นเวลานาน และคำว่า “จุด” (point) แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงราคาที่เล็กที่สุดซึ่งก็คือ 0.0001 เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ราคาอ้างอิงก็เปลี่ยนเป็นความแม่นยำของตัวเลขห้าหลัก (1.00000) ซึ่งชัดเจนว่าวิธีนี้มีความแม่นยำมากกว่าและช่วยประหยัดเงินให้กับนักเทรด แต่พอเกิด 0.00001 ที่กลายเป็นการเปลี่ยนแปลงราคาขั้นต่ำ หลักทศนิยมดังกล่าวก่อให้เกิดความสับสน และเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความสับสนนี้ หลายตำรามักจะเรียกทศนิยมสี่หลักว่าเป็นรูปแบบ “เก่า” และเรียกแบบห้าหลักว่าเป็นรูปแบบ “ใหม่” หรือ “micropoints” นอกจากนี้ ยังเรียกทศนิยมหลักที่ห้าว่า “tick”
2. ความแตกต่างถัดไป คุณจะเห็นไม่ได้เห็นแค่คำว่า “จุด” ในแวดวงฟอเร็กซ์เท่านั้น แต่ยังมีคำว่ “ปิป” (pip) อีกด้วย ความแตกต่างระหว่างสองคำนี้ไม่มีความชัดเจน ปิปคือตัวย่อของคำภาษาอังกฤษ "Price Interest Point" (จุดการเปลี่ยนแปลงของราคา) และคำนี้หมายถึงคำว่าจุดในรูปแบบ “เก่า”
ดังนั้น 1 จุด (ปิป) ในฟอเร็กซ์คือขั้นต่ำที่ราคาของอัตราแลกเปลี่ยนสามารถเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มขึ้นหรือลดลงในทศนิยมสี่หลักของคู่ต่าง ๆ เช่น EUR/USD ซึ่งก็คือ 0.0001
3. สิ่งที่เพิ่มความน่าสับสนก็คือ อัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงินอาจดูแตกต่างกันไป เช่น การเปิดคำสั่งเทรดของคู่ EUR/USD หรือ USD/CNH เราจะเห็นตัวเลขหนึ่งหลักก่อนจุดทศนิยมและตัวเลขห้าหลัก (ตำแหน่งทศนิยม) หลังจุด (1.11345 และ 6.37495 ตามลำดับ) และราคาอ้างอิงของ USD/CHF จะเป็นรูปแบบนี้ 0.92351 สมมติว่าเราเรียกมันว่ารูปแบบ X.YYYYy ส่วนภาพของคู่ดังเช่น USD/JPY หรือ CHF/JPY จะแตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง โดยจะมีตัวเลขสามหลักก่อนจุดทศนิยม และมีตัวเลขตามหลังจุดทศนิยมอีกสามตำแหน่ง (122.739 และ 131.617 ตามลำดับ) และเราจะเรียกรูปแบบนี้ว่า XXX.YYy
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น หนึ่งจุดคือ 0.00010 สำหรับคู่ในรูปแบบ X.YYYYy กล่าวคือ หากอัตราแลกเปลี่ยนของคู่ EUR/USD เปลี่ยนจาก 1.10000 เป็น 1.10010 จะถือว่ามันได้ขยับไป 1 จุด และในกรณีตัวอย่างที่ราคาเปลี่ยนแปลงจาก 1.10750 เป็น 1.11000 จะหมายความว่าราคาได้ขยับขึ้นไป 25 จุด ในทางกลับกันก็เช่นกัน หากราคาขยับจาก 1.10000 ลงมาที่ 1.09000 จะแปลว่า ราคาได้ขยับลดลงมา 100 จุด เป็นต้น
สำหรับรูปแบบ XXX.YYy ในกรณีนี้ 1 จุดมีค่าเท่ากับ 0.01 กล่าวคือ หากสมมติว่าราคาขยับจาก 120.250 ขึ้นไปที่ 120.750 นี่แปลว่าราคาได้เคลื่อนที่ 25 จุด เป็นต้น
ล็อตคืออะไร และสกุลเงินหลักและสกุลเงินอ้างอิงคืออะไร
นอกเหนือจากจุดแล้ว เราจะต้องใช้มูลค่าที่เรียกว่าล็อต (lot) ในการคำนวณด้วยเช่นกัน ล็อตคือหน่วยปริมาณการเทรดที่เท่ากับสกุลเงินหลักจำนวน 100,000 หน่วยเสมอ
สกุลเงินหลัก (base currency) หรือสกุลเงินฐาน คือสกุลเงินที่อยู่ลำดับแรกในคู่ โดยเป็นสกุลเงินที่นักเทรดซื้อหรือขายเพื่อแลกกับสกุลเงินอ้างอิง (สกุลเงินรอง) เช่น อัตราแลกเปลี่ยนที่ 1.1020 สำหรับคู่ EUR/USD หมายความว่า มูลค่าปัจจุบันของเงิน 1 EUR (สกุลเงินหลัก) เท่ากับ 1.1020 USD (สกุลเงินอ้างอิง) ดังนั้น ต้นทุนของ 1 ล็อต (100,000 EUR) ในกรณีนี้จะเท่ากับ 110,200 USD
เมื่อมองในแวบแรกอาจดูเหมือนว่า ขนาด 1 ล็อตนั้นใหญ่มาก แต่อย่าลืมเกี่ยวกับค่าอัตราทด (leverage) ตัวอย่างเช่น ที่บริษัทโบรกเกอร์ NordFX อัตราทดอาจสูงถึง 1:1000 ตามคำขอของนักเทรด ดังนั้น การเปิดตำแหน่งจำนวน 1 ล็อต ในคู่ EUR/USD ที่อัตราทด 1:1000 คุณจะต้องฝากเงินต่ำกว่ามูลค่าของล็อตถึงหนึ่งพันเท่า คือ 1.102 USD และคุณจำเป็นจะต้องมีเงิน 11.02 USD เพื่อเปิดคำสั่งเทรดขั้นต่ำที่ 0.01 ล็อต (นี่คือในทางทฤษฎี เพราะในทางปฏิบัติยังจะต้องพิจารณาถึงต้นทุนเพิ่มเติม ได้แก่ ค่าสเปรด หรือค่าธรรมเนียม รวมถึงกรณีที่คำสั่งเทรดอาจขยับสวนทางกับทิศทางที่คุณเปิด)
การคำนวณมูลค่าจุดสำหรับคู่สกุลเงินประเภทต่าง ๆ
แล้วเราจะคำนวณมูลค่าของ 1 จุด ได้อย่างไร? (ในที่นี้ เรากำลังพูดถึงจุดแบบ “เก่า” คือ 0.0001 ส่วนราคา 1 หน่วยจะต่ำกว่า “micropoints แบบใหม่” 10 เท่า) โดยสูตรในการคำนวณมีดังนี้:
(ขนาดของตำแหน่ง × จุด) / อัตราสกุลเงินอ้างอิงต่อ USD = มูลค่าของจุด
ตัวเลือกที่ 1. สำหรับคู่ที่ดอลลาร์เป็นสกุลเงินด้านหลัง กล่าวคือ เป็นสกุลเงินอ้างอิงนั้น (EUR/USD, GBP/USD, AUD/USD ฯลฯ) อัตราอ้างอิงจะเท่ากับ 1 ดังนั้น ในการคำนวณ คุณก็แค่ต้องคูณปริมาณของคำสั่งที่เป็นล็อตกับขนาดของจุด เช่น หากคุณเปิดคำสั่งที่ขนาด 0.1 กล่าวคือ 0.1x100,000=10,000 เราก็ได้การคำนวณคือ:
(10,000 × 0.0001) / 1 = 1 USD
ตัวเลือกที่ 2. สำหรับคู่ที่ดอลลาร์อยู่ด้านหน้า จะมีหลักเกณฑ์เพิ่มเข้ามาคือ: อัตราปัจจุบันของสกุลเงินอ้างอิงคือ 1 USD เช่น ถ้าเราเปิดคำสั่งเทรดกับ USD/CAD จำนวน 1 ล็อต (100,000 USD) ที่อัตราปัจจุบันคือ 1.2645 เราจะคำนวณได้ดังนี้:
(100,000 × 0.0001) / 1.2645 = 7.91 USD
ตัวเลือกที่ 3. สำหรับคู่รองที่ไม่มีดอลลาร์สหรัฐรวมอยู่ด้วย จะใช้วิธีการคำนวณมูลค่าของจุดที่แตกต่างกันไป:
(ขนาดของตำแหน่ง × จุด) x สกุลเงินหลักต่อดอลลาร์ / อัตราแลกเปลี่ยนของคู่ปัจจุบัน = มูลค่าของจุด
สมมติว่าเราคำนวณโดยใช้ตัวอย่างคู่ GBP/NZD สำหรับการเทรดด้วยปริมาณ 1 ล็อตที่อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันคือ 1.9020 และอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินหลัก GBP/USD ที่ 1.3015:
(10,000 × 0.0001) × 1.3015 / 1.9020 = 0.68 USD.
เครื่องคิดเลขของนักเทรดและ MetaTrader-4 ช่วยได้อย่างไร
กล่าวโดยสรุป เราอยากจะเตือนให้คุณคำนึงถึงตัวเลือกที่สะดวกต่อการใช้งานคือ เครื่องคิดเลขของนักเทรด ซึ่งอยู่ในส่วน “เครื่องมือ” บนเว็บไซต์ทางการของ NordFX คุณสามารถใช้เครื่องคิดเลขนี้เพื่อทำการคำนวณมูลค่าของหนึ่งจุดได้โดยทันที เพื่อดูขนาดของค่าสเปรดและค่าสวอป รวมถึงเงื่อนไขมาร์จินสำหรับบัญชีแต่ละประเภท ในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีคุณก็จะได้ศึกษาหลักเกณฑ์ที่สำคัญสำหรับการเทรดทั้งหลายเหล่านี้ อีกทั้งยังได้คำนวณขนาดผลกำไร (หรือการขาดทุน) ที่อาจเกิดขึ้นสำหรับหลายธุรกรรมในคราวเดียว ในขณะเดียวกัน ความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดก็ลดลงเป็นศูนย์ เนื่องจากหลักเกณฑ์ของบัญชีทั้งหมดนั้นรวมอยู่ในเครื่องคิดเลขอยู่แล้ว คุณสามารถศึกษาคำอธิบายโดยละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้งานทั้งหมดนี้ได้บนหน้าเว็บไซต์เดียวกัน สำหรับสถานะของธุรกรรมที่คุณเปิดแล้ว คุณสามารถติดตามผลกำไรหรือการขาดทุนปัจจุบันได้ในเทอร์มินอลการเทรด MetaTrader-4
กลับ กลับ