ความผันผวน: คืออะไรและทำไมคุณจำเป็นต้องรู้

ทุกคนที่พอคุ้นเคยกับการเทรดย่อมเคยเจอกับสิ่งที่เรียกว่า ความผันผวน แน่นอนว่าหลักการเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นเรื่องที่พูดถึงทั้งในตำราและบทความมกมาย การเลือกกลยุทธ์การเทรด การจัดการเงิน และความสำเร็จในการเทรดที่จะตามมานั้นล้วนขึ้นอยู่กับความผันผวน แต่ความผันผวนคืออะไร? เรามาหาคำตอบกัน

หลักการเรื่องความผันผวนในนิยามแบบง่ายและแบบยาก

คำนิยามที่พบบ่อยที่สุดในตำราต่าง ๆ คือ “ความผันผวนเป็นตัวบ่งชี้ทางสถิติการเงิน ซึ่งแสดงให้เห็นคุณลักษณะความผันแปรของราคาของบางสิ่งบางอย่าง” และอย่างเช่น “ความผันผวนเป็นตัวบ่งชี้ทางการเงินที่สำคัญมากที่สุดและเป็นหลักการในการจัดการความเสี่ยงทางการเงิน ซึ่งวัดระดับความเสี่ยงโดยใช้เครื่องมือทางการเงินในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง”

กล่าวง่าย ๆ ก็คือ ความผันผวนเป็นระดับความเสถียรของความผันแปรในอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินหรือสินทรัพย์ใด ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ดัชนีหลักทรัพย์ ทองคำ น้ำมัน หรือคริปโตเคอเรนซี หากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของสินทรัพย์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งนั้นเกิดขึ้นอย่างเท่ากันและอยู่ในกรอบที่คาดการณ์ ความผันผวนจะถือว่าต่ำ หากเราเห็นอัตราแลกเปลี่ยนที่กระโดดขึ้นลงและไม่เท่ากัน พร้อมด้วยค่าสเปรดที่กว้าง นี่จะเป็นสัญญาณของความผันผวนสูง

ในกรณีที่ความผันผวนสูง กราฟราคาจะแสดงแท่งเทียนญี่ปุ่นหรือแท่งขนาดใหญ่ในทิศทางเดียว หรือในทางกลับกันจะมีการเปลี่ยนแปลงในเทรนด์อย่างรวดเร็วและเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เราอาจสังเกตเห็นได้บ่อยในสถานการณ์ที่มีการประกาศข่าวสำคัญทางเศรษฐกิจ หรือในกรณีที่มีเหตุการณ์ที่มีความสำคัญทางการเมืองเกิดขึ้นเหนือความคาดหมาย 

ความผันผวนต่ำแสดงถึงช่วงเวลาที่ตลาดสงบนิ่ง ตลาดหยุดพัก หรือเฉื่อยชา สถานการณ์นี้จะเกิดขึ้นในช่วงเวลา เช่น วันหยุดเทศกาลคริสต์มาส วันหยุดธนาคาร หรือก่อนช่วงท้ายการประกาศรายงานผลประกอบการ ช่วงเดือนหรือไตรมาสที่ธนาคารรายใหญ่และกองทุนต่าง ๆ สรุปผลงานระยะกลาง โดยตลาดมักหยุดนิ่งเพื่อรอการประกาศสถิติทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ เช่น ดัชนี NFP (บันทึกเงินเดือนของพนักงานนอกภาคการเกษตร) และจำนวนตำแหน่งงานใหม่นอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ

ทั้งนี้ กิจกรรมการเทรดทั้งในคู่สกุลเงินทั่วไปหรือคู่สกุลเงินบางคู่โดยเฉพาะก็มีความหลากหลายในช่วงรอบการซื้อขายที่ต่างกัน เช่น รอบการซื้อขายฝั่งแปซิฟิกจะถือว่ามีความผันผวนที่ค่อนข้างต่ำและเป็นช่วงที่นิ่งสงบมากที่สุด ปริมาณการซื้อขายสูงสุดจะเกิดขึ้นในช่วงที่เวลาทับซ้อนกันระหว่างตลาดยุโรปและตลาดอเมริกา โดย 70% ของธุรกรรมฟอเร็กซ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในช่วงตลาดยุโรป และ 80% ในช่วงตลาดอเมริกา

ระยะเวลาที่ความผันผวนต่ำจะมองเห็นได้ชัดเจนบนกราฟในรูปแบบของกราฟด้านข้างและวิ่งในกรอบแคบ ๆ (ซึ่งมักจะเรียกกันว่า flat) อย่างไรก็ดี การเคลื่อนที่ที่นิ่งสงบตามเทรนด์และอยู่ในกรอบใด ๆ ก็ถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่มีความผันผวนต่ำได้เช่นกัน

แน่นอนว่าหากมีช่วงความผันผวนสูงหรือต่ำ ก็จะต้องมีช่วงเวลาที่ความผันผวนปกติ (มาตรฐาน) ซึ่งราคาเป็นไปตามระยะห่างโดยเฉลี่ยระหว่างราคาต่ำสุดและสูงสุดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (วัน เดือน หรือปี)

Volatility 800x470_th

ความผันผวนอื่น ๆ

เราได้แบ่งประเภทความผันผวนตามระดับความผันผวนแบบต่ำ ปกติ และสูงกันไปแล้ว แต่ยังมีหลักเกณฑ์อีกประเภทหนึ่ง ซึ่ง ไซมอน ไวน์ (Simon Vine) นักการเงินและผู้เชี่ยวชาญในการเทรดและการลงทุน ได้แบ่งความผันผวนออกเป็นอีกสามประเภทไว้ในหนังสือของเขาเรื่อง "Options. A Complete Course for Professionals” ซึ่งได้แก่

- ความผันผวนที่เกิดขึ้นในอดีต (คล้ายกับแบบปกติ) เป็นค่าที่เกิดขึ้นจริงซึ่งเท่ากับการเบี่ยงเบนมาตรฐานของราคาสินทรัพย์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีต ตามกฎแล้ว ความผันผวนในอดีตถือว่าเป็นค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ 1 ปีขึ้นไป เช่น ความผันผวนในอดีตของคู่ EUR/USD ในช่วงรอบการซื้อขายตลาดเอเชียอยู่ที่ 61 จุด และจะขยับขึ้นเป็น 97 จุดในช่วงเวลาที่ทับซ้อนกันระหว่างตลาดยุโรปและอเมริกา ค่าความผันผวนเดียวกันสำหรับคู่ GBP/JPY คือ 112 และ 145 ตามลำดับ ในขณะที่คู่ AUD/USD ผันผวนเพียง 38 และ 53 จุด

- ความผันผวนที่คาดการณ์ในอดีต คือ บันทึกการคาดการณ์ความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งช่วยให้คุณทำความเข้าใจว่าการคาดการณ์เหล่านี้ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอย่างไร

- ความผันผวนที่คาดการณ์ คือ การประมาณการความผันผวนในตลาดในอนาคต ซึ่งจะคำนวณจากค่าปัจจุบันของสินทรัพย์และพิจารณาความเสี่ยงที่เป็นไปได้

ชัดเจนว่าหลักเกณฑ์ทั้งสามข้อนี้ ข้อสุดท้ายเป็นข้อที่สำคัญมากที่สุดสำหรับนักเทรด เนื่องจากหลักเกณฑ์ข้อนี้เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ และจังหวะในการเปิดและปิดคำสั่งเทรด ความผันผวนที่คาดการณ์นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ความผันผวนทั้งในอดีตและที่คาดการณ์ในอดีต ที่สำคัญยังต้องพิจารณาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบัน และเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น (การประกาศสถิติสำคัญ สภาพแวดล้อมในตลาด การเลือกตั้ง มาตรการคว่ำบาตรทางการค้า ความขัดแย้งที่รุนแรง ฯลฯ) ดังนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งการคาดการณ์ที่ค่อนข้างแม่นยำ คุณจำเป็นต้องเพิ่มปัจจัยเหล่านี้ลงไปในการวิเคราะห์ทางเทคนิค รวมถึงระดับแนวรับ/แนวต้านที่สินทรัพย์พยายามพิชิตให้สำเร็จ

ความผันผวนและอินดิเคเตอร์ภาวะนิ่งสงบ


จากเนื้อหาข้างต้นอาจดูเหมือนว่า การคาดการณ์ความผันผวนของสินทรัพย์การเทรดใด ๆ ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยาก ตรงนี้เองที่อินดิเคเตอร์เข้ามาเป็นตัวช่วยให้กับเรา อินดิเคเตอร์หลายตัวมีติดตั้งมาให้พร้อมใช้งานบนระบบอินเทอร์เฟซมาตรฐานของเทอร์มินอลการเทรด MetaTrader 4 (MT4) แพลตฟอร์มนี้เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในมาเป็นเวลากว่าหลายปี และนี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมโบรกเกอร์ NordFX จึงนำเสนอให้กับลูกค้า

อินดิเคเตอร์ความผันผวนอาจกลายเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับคุณ และจะช่วยให้คุณเห็นและวิเคราะห์ระยะความผันผวนของสินทรัพย์การเทรดบางชนิดบนแต่ละกรอบเวลาได้อย่างชัดเจน จากการวิเคราะห์ดังกล่าว นักเทรดจะสามารถระบุได้ทั้งเทรนด์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และยังสามารถทำการคาดการณ์อนาคตได้อีกด้วย รวมถึงคำนวณจุดเข้าและออกตลาด โดยพิจารณาโอกาสความคลาดเคลื่อนของราคา เราจะไม่อธิบายโดยละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้งานอินดิเคเตอร์เหล่านี้ที่นี่ (ซึ่งสามารถหาอ่านได้ออนไลน์ได้ไม่ยาก) แต่เราจะพูดถึงอินดิเคเตอร์ตัวหลัก ๆ และอธิบายคุณลักษณะพอสังเขป

ATR (Average True Range) - อินดิเคเตอร์ตัวนี้คิดค้นขึ้นโดย เจ เวลส์ ไวลเดอร์ (J. Wells Wilder) และช่วยให้คุณทราบระยะที่แท้จริงของการเคลื่อนที่ของราคา ค่าอินดิเคเตอร์ที่ต่ำแสดงถึงแนวโน้มด้านข้าง ในขณะที่ค่าที่สูงจะเป็นสัญญาณการเกิดการเคลื่อนที่ของเทรนด์รอบใหม่ ATR ใหม่สำหรับการทำงานในทุกกรอบเวลา อย่างไรก็ตาม อินดิเคเตอร์นี้เดิมทีพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในกราฟรายวัน (D1) เป็นหลัก

Bollinger Bands เป็นอีกหนึ่งอินดิเคเตอร์มาตรฐานของ MT4 ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงต้นปี 80s โดย จอห์น โบลลิงเกอร์ (John Bollinger) และแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความเปลี่ยนแปลงในตลาดฟอเร็กซ์และตลาดอื่น ๆ อินดิเคเตอร์นี้มีพื้นฐานมาจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Averages) ที่สร้างกรอบ ระยะห่างระหว่างกรอบด้านนอกจะกว้างขึ้นตามความผันผวนที่สูงขึ้นและเทรนด์แข็งแกร่ง และกรอบจะแคบลงในช่วงเวลาระยะเวลาที่ตลาดมีการกระจุกตัวและมีแนวโน้มที่อ่อนแอ กล่าวคือ กรอบจะขยายตัวเมื่อความผันผวนเพิ่มขึ้น และจะแคบลงเมื่อความผันผวนลดลง

อินดิเคเตอร์ CCI (Commodity Channel Index) คือ ออสซิลเลเตอร์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย โดนัลด์ แลมเบิร์ต (Donald Lambert) ในปี 1980 และยังมีติดตั้งอยู่ใน MT4 อินดิเคเตอร์ CCI ได้รับความนิยมมากเพราะมันช่วยให้คุณค้นพบเทรนด์ที่เป็นวัฎจักรไม่ใช่แค่ในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงตลาดหุ้นและฟอเร็กซ์ CCI ใช้วัดค่าเบี่ยงเบนของราคาของสินทรัพย์ทางการเงินจากค่าเฉลี่ย เราจะเห็นความผันผวนที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเส้นอินดิเคเตอร์ตัดผ่านระดับ +100 หรือ -100

ที่สำคัญเราควรพูดถึงอินดิเคเตอร์ชื่อดังอย่าง Alligator จริงอยู่ที่มันมีความแตกต่างไปจาก ATR, Bollinger Bands และ CCI และปกติมักถูกเรียกว่าเป็นอินดิเคเตอร์ภาวะตลาดนิ่ง Alligator นั้นทำงานโดยใช้เส้น Moving Averages 3 เส้น และเมื่อเส้นเหล่านี้ซ้อนกันไปมา และไม่มีมุมการลาดเอียงที่ชัดเจน เราจะถือว่าตลาดนั้นอยู่ในสภาพนิ่งสงบ

โดยทั่วไป อินดิเคเตอร์ความผันผวนและภาวะนิ่งสงบนั้นมีมากมาย อินดิเคเตอร์เหล่านี้ต่างมีลักษณะพิเศษตามการพัฒนาของผู้คิดค้นและมีการปรับแก้ไขแตกต่างกันไป สามารถหาซื้อได้บนอินเทอร์เน็ตหรือดาวน์โหลดได้ฟรี อินดิเคเตอร์บางตัวแม้จะมีราคาแพงมากก็อาจไร้ประโยชน์ได้เช่นกัน หลายชนิดที่ใช้งานได้ฟรีนั้นสามารถมีประโยชน์และช่วยคุณได้มาก นอกเหนือจากอินดิเคเตอร์แล้ว ยังมีกลยุทธ์การเทรดอีกมากมายที่ใช้งานอินดิเคเตอร์เหล่านี้ แต่ก่อนที่จะเริ่มเทรดด้วยเงินจริง เราแนะนำอย่างยิ่งให้คุณลองใช้อินดิเคเตอร์เหล่านี้และกลยุทธ์ต่าง ๆ บนบัญชีทดลองที่ใช้ได้ฟรีของ NordFX มีความเป็นไปได้ที่คุณจะสามารถปรับการใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดกับสินทรัพย์ใด ๆ โดยเฉพาะ และปรับมันตามทักษะการเทรดและความชอบของคุณ และสิ่งนี้เองจะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในตลาดการเงิน

กลับ กลับ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายคุกกี้ ของเรา