หากคุณมีความสนใจในคริปโตเคอเรนซีแม้เพียงเล็กน้อย คุณคงเคยได้ยินชื่อของ ซาโตชิ นากะโมโตะ ผู้อาจจะเป็นบุคคลที่ลึกลับที่สุดแห่งศตวรรษที่ 21 ผู้สร้างคริปโตเคอเรนซีแรกของโลก บุคคลที่อยู่ ๆ ก็ปรากฏตัวจากไม่รู้ที่ไหนและหายตัวไปอย่างไม่มีใครรู้ หรือเขาอาจไม่ใช่คนเดียวแต่เป็นกลุ่มคน? จะเป็นเขา? หรือเป็นเธอ? หรือเป็นพวกเขา? เราจะเรียกเขาว่า “เขา” ในบทความนี้ แม้ว่าจะเป็นเพียงการคาดเดา แต่ใครกันที่สามารถซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังชื่อนี้? เรามาเจาะลึกเรื่องราวที่น่าฉงนนี้กันเลย
การปรากฏตัว ต้นกำเนิด และการหายตัว
Veni, vidi, vici เป็นคำกล่าวของ จูเลียส ซีซาร์ ผู้นำจอมทัพและเผด็จการแห่งโรมันโบราณ โดยคำกล่าวนี้เป็นภาษาละตินที่แปลว่า “ฉันมาถึง ฉันเห็น ฉันชนะ” ซึ่งในบริบทของนายซาโตชิ นากะโมโตะ เราอาจเพิ่มอีกหนึ่งคำในภาษิตนี้ว่า: Veni, vidi, vici, abiit หรือ ฉันมาถึง ฉันเห็น ฉันชนะ และฉันก็ไป
การปรากฏตัว (Veni) โลกเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับชายคนนี้ครั้งแรกในปี 2008 โดยมีการจดทะเบียน bitcoin.org ในเดือนสิงหาคม โดยมีคำอธิบาย (เอกสารพิมพ์ขาวหรือ White Paper) ของคริปโตเคอเรนซีที่เผยแพร่หลังจากนั้นระยะหนึ่ง ซาโตชิ นากะโมโตะ เป็นผู้เขียนเอกสารจำนวน 9 หน้าที่มีชื่อเรื่องว่า “Bitcoin: ระบบเงินสดอิเล็กทรอนิกส์แบบ Peer-to-Peer” และอีเมลของเขาก็ปรากฏถัดจากชื่อเรื่องนี้ (เว็บไซต์ bitcoin.org ยังคงปรากฏอยู่และบทความดั้งเดิมก็สามารถเปิดดูได้บนเว็บไซต์ดังกล่าว)
ต้นกำเนิด (Vidi, Vici) เอกสารที่เผยแพร่ของนากะโมโตะได้ดึงดูดความสนใจของทั้งชุมชนคริปโตวิทยาศาสตร์และแวดวงการเข้ารหั โดยเริ่มจากการพูดคุยในกระทู้สนทนาและแลกเปลี่ยนกัน ไอเดียนี้เริ่มก่อตัวในไม่กี่เดือนหลังจากนั้น โดยในเดือนมกราคม 2009 เครือข่ายบิทคอยน์ (BTC) เปิดตัวขึ้นและนากะโมโตะก็สร้างบล็อกของบล็อกเชนแรกขึ้นมา
จากการประมาณการชี้ว่า บิทคอยน์ 1.48 ล้านจาก 1.6 ล้านเหรียญที่ขุดไว้ในปี 2009 อาจเป็นของนายซาโตชิ โดย “หีบสมบัติแห่งทองคำดิจิทัล” นี้ยังไม่มีใครอ้างว่าเป็นเจ้าของจนถึงตอนนี้ (2022) แม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยน BTC จะมีความผันผวน แต่เหรียญจำนวนนี้มีค่าถึงหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น หากนายนากะโมโตะปรากฏตัวขึ้นมา เขาจะเป็นหนึ่งในคนที่ร่ำรวยที่สุดบนโลกใบนี้
การหายตัว (Abiit) ซาโตชิ นากะโมโต ได้สละสิทธิ์จากลิขสิทธิ์ของตนในช่วงกลางปี 2021 โดยได้ส่งรหัส BTC ให้กับโปรแกรมเมอร์ที่มีชื่อว่า กาวิน แอนเดอร์เสน และโอนสิทธิ์ในการเข้าถึงโดเมนให้กับสมาชิกในชุมชนบิทคอยน์ อีกทั้งยังถอนตัวออกจากการทำงานต่อกับโครงการนี้ อีเมลฉบับสุดท้ายของเขาส่งไว้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2011 หลังจากนั้น เขาก็…หายตัวไปโดยสิ้นเชิง ดังนั้น ตัวตนของผู้สร้างบิทคอยน์นี้ปรากฏตัวในพื้นที่สาธารณะไม่ถึงสามปี แต่ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เปลี่ยนโลกไปโดยสิ้นเชิงในระยะเวลาอันสั้น อย่างน้อยงานของเขาก็ได้ส่งอิทธิพลเป็นอย่างมาก บิทคอยน์มีแฟน ๆ ผู้ติดตามหลายล้านคน อีกทั้งมีบางประเทศที่เริ่มใช้เหรียญนี้ในระดับเดียวกันกับสกุลเงินในประเท และแม้แต่ธนาคารกลางหลายแห่งก็เริ่มสร้างสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นของตนเอง
นากะโมโตะคือใคร?
คำถามนี้เป็นที่สงสัยและรบกวนจิตใจของใครหลาย ๆ คนในแวดวงคริปโตมาหลายปี นากะโมโตะระบุในส่วนโปรไฟล์ของเขาบนเว็บไซต์ P2P Foundation ว่าเขาเกิดเมื่อปี 1975 และอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่น (P2P Foundation นั้นเป็นกองทุนทางเลือก ซึ่งมุ่งมั่นในการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีแบบ Peer-to-Peer ต่อสังคม)
บางคนอาจจะเชื่อในข้อมูลชีวประวัติของเขา แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันแต่อย่างใดว่าวันเกิด สัญชาติ หรือที่อยู่อาศัยของเขานั้นจริงหรือไม่ นอกจากนี้ ในบรรดาอีเมลทั้งหมดเกือบ 500 ฉบับ ไม่มีอีเมลฉบับไหนที่ส่งมาในช่วงเวลาทำการของญี่ปุ่นระหว่างเวลา 14:00 น. และ 20:00 น. เขามักจะเขียนอีเมลในช่วงกลางคืนที่ญี่ปุ่น แต่เป็นช่วงเวลากลางวันที่กิจกรรมกำลังคึกคักในสหรัฐฯ
ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากเชื่อว่า ทั้งเอกสาร White Paper และอีเมลของนากะโมโตะนั้นเขียนขึ้นโดยคนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ อย่างไรก็ตาม ความเห็นนั้นล้วนแตกต่างกันไปว่าเขาเป็นคนอเมริกันหรืออังกฤษ คุณสามารถพบกับคำพูดเฉพาะ ๆ และวลีในข้อความที่มีลักษณะเหมือนทั้งสองสไตล์ บางทีเขาอาจจะเป็นคนอังกฤษที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ มาเป็นเวลานาน? หรืออาจจะไม่ใช่เขา แต่เป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษและอเมริกัน?
อีกหนึ่งคุณลักษณะที่นักวิจัยให้ความสนใจก็คือ นากะโมโตะจะเว้นวรรคไม่ใช่แค่หนึ่งบรรทัดแต่สองบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้าเสมอ ข้อความที่มีรูปแบบเฉพาะนี้เป็นเรื่องที่ปกติสำหรับผู้ที่เคยชินกับการพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ดีด ไม่ใช่บนคอมพิวเตอร์ จึงมีความเป็นไปได้ที่เขาอาจจะไม่ได้เกินในปี 1975 แต่เกิดหลายปีก่อนหน้านั้น.
ความเป็นนิรนามมีหลายหน้า
แล้วใครกันเล่าที่อยู่เบื้องหลังนามปากกา ซาโตชิ นากะโมโตะ นี้และใครกันที่เป็นผู้สร้างคริปโตเคอเรนซีแรกขึ้นมา? คำตอบมีหลายเวอร์ชัน เราจะมาเริ่มกันที่เวอร์ชันที่น่าเชื่อถือมากที่สุดในความเห็นของเรา
เวอร์ชัน 0 โดยประวัติศาสตร: Henry Ford ย้อนไปเมื่อปี 1921 เฮนรี ฟอร์ด นักอุตสาหกรรมชาวอเมริกันได้นำเสนอให้มีการสร้าง “สกุลเงินพลังงาน” ขึ้นมา ซึ่งสามารถเป็นรากฐานของระบบการชำระเงินใหม่ได้ ไอเดียนี้มีความคล้ายคลึงกันอย่างน่าทึ่งกับระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีอธิบายไว้ในเอกสาร White Paper และการขุดเหรียญ โดยผู้ผลิตรถยนต์ในตำนานท่านนี้ได้ตีพิมพ์บทความลงในนิตยสาร New York Tribune เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 1921 โดยให้แนวคิดการใช้สกุลเงินพลังงานแทนที่ทองคำ ซึ่งอาจช่วยลดอำนาจของเหล่าชนชั้นนำธนาคารต่อความมั่งคั่งของโลกได้ โดยเฮนรี ฟอร์ด เสนอให้สร้าง “โรงงานไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก” และสร้างระบบการชำระเงินแบบใหม่ที่ทำงานบนฐานของ “หน่วยพลังงาน”
เวอร์ชัน 1: กลุ่มบริษัท แฟนตัวยงของทฤษฎีสมคบคิดจำนวนมากยังได้ระบุชื่อสมาชิกในกลุ่มนี้ โดยพวกเขาเชื่อว่าชื่อนี้มาจาก: Samsung, Toshiba, Nakamichi และ Motorola. คุณจะเห็นได้ว่าการนำชื่อมาปะติดปะต่อกันก็เกิดเป็นชื่อของนามปากกานี้ได้ง่าย ๆ แต่ทำไมบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ถึงจำเป็นต้องสร้างบิทคอยน์ขึ้นมา และทำไมพวกเขายังซ่อนการมีส่วนเกี่ยวข้องของตนเองในโครงการนี้? แต่ก็คงยากที่จะมีใครสามารถให้คำตอบที่น่าเชื่อถือได้ต่อคำถามเหล่านี้
เวอร์ชันที่ 2: หน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐฯ นักทฤษฎีสมคบคิดกล่าวว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ไม่น่าจะใช่หน่วยงาน CIA แต่เป็นหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ NSA โดยสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซ็ทของอเมริกา (MIT) ได้ตีพิมพ์งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1996 โดยมีผู้เขียนที่มาจากแผนกการเข้ารหัสคริปโตจาก NSA บทความนี้ยังคงมีเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ MIT และมีชื่อเรื่องว่า "How to Make A Mint: The Cryptography Of Anonymous Electronic Cash" ผู้เขียน ได้แก่: Laurie Law, Susan Sabett, Jerry Solinas จากหน่วยงาน NSA จากสำนักงานวิจัยความมั่นคงด้านข้อมูลและแผนกเทคโนโลยี/การเข้ารหัส หากคุณดูที่เอกสารฉบับนี้ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่านี่คือคำอธิบายของหลักการของคริปโตเคอเรนซีในทางปฏิบัติ
เวอร์ชันนี้แตกต่างไปจากเวอร์ชันแรก โดยมีความชัดเจนมากกว่าว่าทำไมหน่วยงานด้านความลับจำเป็นต้องพัฒนามันขึ้นมา (อย่างน้อยก็เพื่อเป็นงบให้กับการปฏิบัติการลับทั่วโลก) และทำไมจะต้องปิดบังเรื่องราวทั้งหมด
เวอร์ชันที่ 3: Nick Szabo นักวิทยาการเข้ารหัสลับและโปรแกรมเมอร์จากสหรัฐฯ ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาทองคำดิจิทัล เขาได้พัฒนาต้นฉบับของบิทคอยน์ที่เรียกว่า BitGold ขึ้นมา อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ไม่ได้เป็นที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย และ Nick Szabo เองก็ปฏิเสธเสมอว่าเขาและซาโตชิ นากะโมโตะ นั้นไม่ใช่คนเดียวกัน
เวอร์ชันที่ 4: Craig Steven Wright ผู้ประกอบการชาวออสเตรเลียและนักวิทยศาสตร์คอมพิวเตอร์ผู้ที่กลับอ้างว่าตนเองคือนากะโมโตะ หรือกล่าวให้ชัดขึ้นก็คือ เขาเองนั้นเป็นสมาชิกคนหลักในทีมงานที่ทำงานภายใต้นามปากกานี้ นี่คือสิ่งที่เขาเคยให้สัมภาษณ์กับ BBC ในเดือนพฤษภาคมปี 2016 แต่ก็ไม่สามารถให้หลักฐานที่น่าเชื่อแต่อย่างใด
เวอร์ชันที่ 5: Hal Finney อีกหนึ่งคู่ท้าชิงตำแหน่งผู้คิดค้นบิทคอยน์ นักวิทยาการการเข้ารหัสรายนี้อยู่ในรายชื่อบนเอกสาร White Paper โดยเขาเป็นคนกลุ่มแรกที่มีบทบาทในการพัฒนาเหรียญบิทคอยน์ และเริ่มขุด BTC ฮาล ฟินนีย์ ได้รับธุรกรรมบิทคอยน์แรกจาก ซาโตชิ นากะโมโตะ ซึ่งเขาได้ทำงานกับโครงการนี้ในช่วงระยะเริ่มต้น และเขาก็เป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยี Proof-of-Work (PoW) เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2009 นอกจากนี้ เขาเองเคยอาศัยอยู่บ้านถัดจากคนที่มีชื่อว่า Dorian Prentice Satoshi Nakamoto อีกด้วย อีกทั้ง สไตล์การเขียนของฟินนีย์ยังมีความคล้ายคลึงกับของซาโตชิ ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยว่าการที่พวกเขามีการสื่อสารกันนั้นเป็นแค่การหลอกตาเพื่อเบี่ยงเบียนความสนใจเท่านั้น
เวอร์ชันที่.6: Dorian Prentice Satoshi Nakamot อาจจะดูค่อนข้างสมเหตุสมผลด้วยซ้ำถ้าเราจะเดาว่า ซาโตชิ นากะโมโตะ ก็คือ ซาโตชิ นากะโมโตะ ข้อมูลเก่ียวกับนักฟิสิกส์และวิศวกรด้านระบบจากแคลิฟอร์เนียรายนี้ปราฏในปี 2014 ปัญหาเดียวก็คือ ชายที่มีชื่อนี้นั้นไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับบิทคอยน์แต่อย่างใด และเขาเองก็ปฏิเสธข้อสันนิษฐานดังกล่าว
จากทฤษฎีสมคบคิดมาถึงเงิน
เรายังมีอีกหลายเวอร์ชันที่สามารถเล่ากันต่อได้อีกยาว ทั้งนี้ มีคลิปวิดีโอมาจากสุสานแห่งหนึ่ง ซึ่งลือกันว่าบุคคลที่รู้จักกับผู้พัฒนาบิทคอยน์นั้นได้ลำเลียงโลงศพที่มีศพของนายซาโตชิอยู่ด้านใน ซึ่งวิดีโอดังกล่าวแพร่อยู่ในอินเทอร์เน็ต แต่เราคิดว่าเรื่องลึกลับและทฤษฎีสมคบคิดนี้ก็น่าจะเพียงพอสำหรับบทความนี้แล้ว ถึงเวลาที่เราจะมาพูดถึงเรื่องที่จับต้องได้กันบ้าง
ในกรณีของเรา แน่นอนว่าการเดาว่าใครคือผู้สร้างบิทคอยน์นั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือเราจะทำเงินจากคริปโตเคอเรนซีนี้ได้อย่างไร คุณสามารถทำเงินได้ง่าย ๆ แค่เปิดบัญชีกับบริษัทโบรกเกอร์ NordFX ซึ่งคุณจะสามารถเข้าถึงสารพัดเครื่องมือการเทรด ซึ่งแน่นอนว่าบิทคอยน์และคริปโตเคอเรนซีอื่น ๆ ก็รวมอยู่ด้วยเช่นกัน
สิ่งที่สำคัญมากที่ควรทราบก็คือ โอกาสในการทำเงินนั้นไม่ใช่แค่ขาขึ้น แต่ยังรวมถึงขาลงของสินทรัพย์ดิจิทัลในช่วงเวลาที่โกลาหลเช่นนี้อีกด้วย และคุณจะได้รับโอกาสนี้ที่ NordFX นอกจากนี้ เนื่องด้วยการเทรดแบบใช้มาร์จิน คุณจะสามารถทวีคูณผลกำไรของคุณ โดยคุณจะต้องใช้เงินแค่ 150 USD ในการเปิดคำสั่ง 1 บิทคอยน์, ส่วน 1 Ethereum จะใช้ 15 USD, 1 EOS ใช้ 0.3 USD, และr 1 Ripple - ใช้เพียง 0.02 USD เท่านั้น ในการเทรดสกุลเงินคริปโตเหล่านี้และสกุลเงินยอดนิยมอื่น ๆ คุณจะสามารถใช้งานหลากหลายกลยุทธ์การเทรด แต่ในขณะเดียวกัน แน่นอนว่าคุณต้องไม่ลืมเกี่ยวกับการจัดการเงินและความเสี่ยงของการเทรดโดยใช้มาร์จิน และถ้าหากคุณทราบว่า ซาโตชิ นากะโมโตะ คือใคร อย่าลืมมาแชร์ให้เราทราบถึงการค้นพบที่น่าตื่นเต้นนี้ด้วยล่ะ
กลับ กลับ