ปัจจัยพื้นฐานของการวิเคราะห์เชิงเทคนิค: ทำความเข้าใจกราฟ MT4 หลักสามประเภท

MetaTrader 4 (MT4) คือหนึ่งในแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในการเทรดฟอเร็กซ์ หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ และตลาดคริปโต คุณสมบัติหลักของ MT4 คือ ความหลากหลายของวิธีการแสดงราคาบนกราฟ เพียงแค่คลิกขวาบนหน้าต่างคู่สกุลเงินและไปที่ “Properties” และจากนั้นไปที่ “Common” นักเทรดก็สามารถเลือกกราฟสามประเภท ได้แก่ Bar Chart (กราฟแท่ง), Candle Sticks (กราฟแท่งเทียนญี่ปุ่น) และ Line Chart (กราฟเส้น) ได้ แต่ละกราฟเหล่านี้มีลักษณะเฉพาะและข้อดีที่แตกต่างกันไป ซึ่งเราจะมาอธิบายให้ทราบในบทความฉบับนี้

กราฟแท่ง

Bar Chart หรือ กราฟแท่ง เป็นกราฟที่มีโครงสร้างดังนี้ แต่ละแท่งบนกราฟจะแสดงถึงระยะเวลาการเทรดที่เฉพาะเจาะจง (ตามกรอบเวลา) เช่น หนึ่งวัน (D1) หนึ่งชั่วโมง (H1) และหนึ่งนาที (M1) เป็นต้น ด้านบนแท่งจะแสดงถึงราคาสูงสุดของสินทรัพย์ในระยะเวลานั้น ๆ และด้านล่างสุดแสดงถึงราคาต่ำสุด เส้นแนวนอนบนแท่งแสดงถึงราคาเปิด (ด้านซ้ายมือ) และราคาปิด (ด้านขวามือ) ในระยะเวลาเดียวกัน

การเปรียบเทียบด้วยภาพกราฟแท่ง แท่งเทียน และกราฟเส้นของ MetaTrader 4 โดยเน้นคุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ ภาพนี้ช่วยเสริมการสำรวจวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของบทความและการนำไปใช้จริงของแผนภูมิเหล่านี้ในการซื้อขายออนไลน์

พัฒนาการของกราฟประเภทนี้มีความใกล้ชิดกันเป็นอย่างมากกับวิวัฒนาการของตลาดการเงิน และความจำเป็นในการแสดงผลข้อมูลราคาเพื่อการวิเคราะห์แนวโน้มตลาดอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รูปแบบดั้งเดิมที่สุดของข้อมูลราคาที่แสดงเป็นภาพนั้นปรากฏขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18 อย่างไรก็ตาม กราฟในสมัยนั้นค่อนข้างเรียบง่ายและขาดข้อมูลที่ละเอียด กราฟแท่งสมัยใหม่แบบที่เรารู้จักกันนั้นเริ่มกำเนิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 Charles Dow นักเขียนชาวอเมริกันและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Dow Jones & Company เป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนากราฟประเภทนี้ ในปี 1884 Dow ได้พัฒนาดัชนีหุ้นชุดแรกึ้นมา ซึ่งประกอบด้วย บริษัทอเมริกัน 11 บริษัท เขาใช้กราฟเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นเหล่านี้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความนิยมในกราฟแท่ง แม้ว่า Dow จะไม่ใช่ผู้คิดค้นกราฟฮิสโตแกรมดังกล่าวในความหมายของความทันสมัย ผลงานของเขาก็มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและการใช้งานกราฟเหล่านี้ในการวิเคราะห์ด้านการเงิน

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อตลาดหุ้นพัฒนาขึ้นมา และมีจำนวนนักเทรดเพิ่มขึ้น กราฟแท่งกลายเป็นเครื่องมือมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคา ความนิยมที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นเพราะความง่ายในการตีความ และความสามารถในการแสดงผลข้อมูลราคาอย่างละเอียด กราฟประเภทนี้ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถประเมิงองค์ประกอบหลักของการเคลื่อนไหวองราคาได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นราคาสูงสุด ต่ำสุด ราคาเปิด และราคาปิดในช่วงเวลาที่เลือก จึงให้ความเข้าใจแนวโน้มตลาดอย่างลึกซึ้งและเอื้อต่อการตัดสินใจอย่างเหมาะสม เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัฒนาขึ้น และมีซอฟต์แวร์การเทรด เช่น MetaTrader การใช้กราฟแท่งก็ยิ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางและใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

กราฟแท่งเทียน

แต่ละแท่งเทียนในกราฟแท่งเทียน หรือ Candlesticks เป็นแท่งที่แสดงช่วงราคาในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ส่วนลำตัวของแท่งเทียนบ่งบอกส่วนต่างระหว่างราคาเปิดและราคาปิด ส่วนไส้เทียนแสดงถึงราคาสูงสุดและต่ำสุดของช่วงราคา ในการตั้งค่า MT4 แบบมาตรฐาน ส่วนลำตัวของแท่งเทียนกระทิง (Bull candle) จะมีสีดำ และแท่งเทียนหมี (Bear candle) จะเป็นสีขาว อย่างไรก็ตาม นักเทรดสามารถเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าเหล่านี้ได้อย่างเป็นอิสระ รวมถึงจะตั้งค่าเป็นสีอะไรก็ได้บนกราฟ

กราฟแท่งเทียนมักเรียกชื่อกันว่า แท่งเทียนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นชื่อที่มีประวัติย้อนไปยังสมัยนักเทรดท่านหนึ่งที่ชื่อว่า Homma Munehisa ผู้เป็นนักเทรดจากเมืองซากาตะของญี่ปุ่น หรืออีกชื่อของเขาคือ Sokyu Homma ชายผู้นี้คือบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ตลาดการเงิน โดยเฉพาะบทบาทของเขาในการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์เชิงเทคนิค ได้แก่ การพัฒนาระบบแท่งเทียนญี่ปุ่น

เขาเกิดในปี 1724 ในครอบครัวพ่อค้าที่มีฐานะร่ำรวยและได้รับการศึกษาที่ดี นาย Homma ได้กลายเป็นคนที่มีชื่อเสียงในการซื้อขายข้าวที่ตลาดขายข้าวโดจิมะในเมืองโอซาก้า ซึ่งถือว่าเป็นตลาดฟิวเจอร์สแห่งแรกของโลก ที่นั่นเขาเริ่มสังเกตเห็นว่า นอกจากปัจจัยพื้นฐาน เช่น อุปสงค์และอุปทานแล้ว จิตวิทยาของนักเทรดยังมีบทบาทสำคัญต่อการก่อตัวของราคาด้วย

เชื่อกันว่า Homma ได้พัฒนาการวิเคราะห์แท่งเทียนในรูปแบบเริ่มต้นเพื่อแสดงภาพสภาวะอารมณ์ของตลาด จึงเอื้อให้เขาสามารถทำนายการเคลื่อนที่ของราคาได้อย่างแม่นยำ และทำกำไรได้มหาศาล ในขณะที่รายละเอียดวิธีการของเขายังคงเป็นประเด็นถกเถียงและต้องตีความ ความสำเร็จของนาย Homma Munehisa ก็ทำให้เขาเป็นตำนานท่านหนึ่งในโลกการเงิน แนวทางและทฤษฎีของเขาช่วยวางรากฐานให้กับกลยุทธ์การเทรดสมัยใหม่มากมาย

ก่อนปี 1980 กราฟแท่งเทียนยังคงแทบไม่เป็นที่รู้จักนอกประเทศญี่ปุ่น การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นหลังจาก Steve Nison นักวิเคราะห์ชาวอเมริกันได้ค้นพบแท่งเทียนญี่ปุ่นและประทับใจกับประสิทธิภาพของมัน Nison ได้ศึกษาและใช้เทคนิคการคาดการณ์แท่งเทียนเพื่อนำไปใช้กับตลาดการเงินตะวันตก และยังเป็นเจ้าของหนังสือหลายเล่มในหัวข้อนี้ หลังจากผลงานของเขาเผยแพร่ไป ความสนใจในแท่งเทียนญี่ปุ่นก็พุ่งขึ้นเป็นอย่างมากในหมู่นักเทรดชาวตะวันตก ผู้ให้การยอมรับในข้อดีของแนวทางนี้อย่างรวดเร็ว ผลงานของ Steve Nison ปัจจุบันถือว่ามีความสำคัญในด้านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค ปัจจุบัน กราฟแท่งเทียนญี่ปุ่นเป็นกราฟที่นักเทรดรอบโลกนิยมใช้งานกันเป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่ในตลาดฟอเร็กซ์เท่านั้น แต่รวมถึงตลาดหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ และตลาดคริปโตด้วยเช่นกัน ในเวลาต่อมาก็ได้มีการพัฒนากราฟแท่งเทียนหลากหลายประเภทและรูปแบบ (เช่น doji, hammer, shooting star ฯลฯ) ขึ้นมา ซึ่งแต่ละรูปแบบล้วนมีคุณสมบัติและจุดประสงค์แตกต่างกันไป รูปแบบแท่งเทียนหลายตัวให้สัญญาณโอกาสที่ราคาจะกลับตัว หรือความต่อเนื่องของเทรนด์ และเอื้อต่อการพัฒนากลยุทธ์การเทรดที่ซับซ้อนได้

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงก็คือ การวิเคราะห์ดังกล่าวต้องอาศัยเวลาและประสบการณ์เพื่อการตีความรูปแบบแท่งเทียนอย่างแม่นยำ นักเทรดแต่ละคนอาจตีความรูปแบบเดียวกันแตกต่างกัน การศึกษาสถิติแสดงให้เห็นถึงระดับความแม่นยำที่แตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับแต่ละรูปแบบและสภาพแวดล้อมตลาด ดังนั้น จึงแนะนำให้ใช้กราฟแท่งเทียนควบคู่กับการวิเคราะห์รูปแบบอื่น ๆ เช่น อินดิเคเตอร์เชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เชิงเทคนิค

กราฟเส้น


กราฟเส้น (Line Chart) เกิดจากการเชื่อมต่อราคาปิดที่ติดต่อกันของสินทรัพย์ในระยะเวลาที่เลือก จนปรากฏเป็นเส้นตรงง่าย ๆ ที่แสดงทิศทางโดยรวมของการเคลื่อนที่ของราคา ประวัติของกราฟเส้นนั้นมีความเก่าแก่ยิ่งกว่ากราฟแท่งเทียนญี่ปุ่น และเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของสถิติและการแสดงข้อมูลเป็นภาพ กราฟเส้นเป็นหนึ่งในวิธีการแสดงข้อมูลกราฟที่เก่าแก่และเรียบง่ายมากที่สุด โดยมีประวัติที่เชื่อมโยงกับการทำแผนที่และเศรษฐศาสตร์อย่างใกล้ชิด

แม้ว่าต้นกำเนิดที่ชัดเจนของกราฟเส้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด องค์ประกอบของมันก็พบได้ในผลงานของอารยธรรมโบราณ ชาวอียิปต์และบาบิโลเนียนใช้วิธีการเขียนกราฟเพื่อแสดงข้อมูลทางโหราศาสตร์และเรขาคณิต ในช่วงยุคกลางและยุคเรเนซองส์ นักภูมิศาสตร์ นักโหราศาสตร์ และนักคณิตศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ต่างเริ่มใช้กราฟประเภทนี้กันมากขึ้น เพื่อแสดงผลการสังเกตและการคำนวณ

คนที่กระตุ้นให้เริ่มใช้กราฟทางสถิติกันมากขึ้นนั้นคือ William Playfair วิศวกชาวสก็อตแลนด์และนักเศรษฐศาสตร์ ในปี 1786 เขาได้พิมพ์ผลงานเรื่อง "The Commercial and Political Atlas" ซึ่งเขาได้ใช้กราฟแท่งและกราฟเส้น รวมถึงกราฟพายเป็นครั้งแรกในการสาธิตข้อมูลทางเศรษฐกิจ ผลงานของเขาทำให้ข้อมูลที่ซับซ้อนดูเข้าใจง่ายขึ้น และเป็นที่สนใจในผู้อ่านในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมสำคัญในเวลานั้น

ทุกวันนี้ กราฟเส้นมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย มีเครื่องมือสำคัญในการนำเสนอข้อมูลเวลาและแนวโน้ม และเป็นที่ใช้งานอย่างแพร่หลายในด้านการเงินเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงในราคาหุ้น อัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงิน และตัวชี้วัดทางการเงินอื่น ๆ เนื่องด้วยความเรียบง่ายและความชัดเจน กราฟเส้นจึงจัดว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในการแสดงผลข้อมูล

***

ถึงแม้ว่กราฟทั้งสองประเภท กราฟเส้น กราฟแท่งเทียน และกราฟแท่ง มีวัตถุประสงค์เดียวกันในการแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของราคาเป็นภาพ แต่ก็มีวิธีการที่แตกต่างกัน ทั้งกราฟแท่งและกราฟแท่งเทียนให้ข้อมูลที่ละเอียดมากกว่าเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของราคา เช่น ราคาเปิดและราคาปิด ตลอดจนราคาสูงสุดและต่ำสุดในช่วงเวลาใด ๆ ในขณะที่กราฟเส้นนั้นให้มุมมองในภาพรวมมากกว่า ซึ่งเน้นเฉพาะราคาปิดเท่านั้น

การเลือกใช้กราฟประเภทใดนั้นขึ้นอยู่สไตล์และความชอบของนักเทรด ตลอดจนกลยุทธ์การเทรด กราฟแท่งและแท่งเทียนเหมาะกับนักเทรดขาประจำที่นิยมใช้การวิเคราะห์เชิงเทคนิคมากกว่า ในขณะที่กราฟเส้นเหมาะสำหรับมือใหม่หรือผู้ที่ต้องการวิเคราะห์แนวโน้มในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน การทำความเข้าใจลักษณะสำคัญของกราฟแต่ละประเภทและสามารถตีความได้อย่างถูกต้องคือทักษะสำคัญเพื่อการเทรดอย่างประสบความสำเร็จในตลาดการเงิน

กลับ กลับ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายคุกกี้ ของเรา